เมนู

บรรดา 7 ส้ตตัพภันตรนั้น อัพภันตร 1 ประมาณ 28 ศอก. 7
อัพภันตรโดยรอบ แห่งสงฆ์ผู้ตั้งอยู่ตรงกลาง ย่อมเป็น 14 อัพภันตรโดย
ทะแยง. ถ้าสงฆ์ 2 หมู่แยกกันทำวินัยกรรม ต้องเว้น 7 อัพภันตรอีกระยะ
หนึ่ง ไว้ในระหว่างแห่ง 7 อัพภันตรทั้ง 2 เพื่อประโยชน์แก่อุปจาร.
สัตตัพภันตรสีมากถาที่เหลือ พึงถือเอาตามนัยที่กล่าวแล้ว ในวรรณนา
แห่งอุทโทสิตสิกขาบท ในมหาวิภังค์1.
อรรถกถาสัตตัพภันตรสีมา จบ

อรรถกถาอุทกุกเขปสีมา


ข้อว่า สพฺพา ภิกฺขเว นที อสีมา มีความว่า แม่น้ำชนิดใดชนิด
หนึ่ง ทีได้ลักษณะแห่งแม่น้ำ แม้ภิกษุกำหนดนิมิตกระทำแล้ว ด้วยตั้งใจว่า
เราทั้งหลายทำแม่น้ำนี้ให้เป็นพัทธสีมาดังนี้ ย่อมไม่เป็นสีมาเลย. แต่แม่น้ำนั้น
ย่อมเป็นเช่นกับพัทธสีมาโดยสภาพของตนเท่านั้น จะทำสังฆกรรมทั้งปวงในแม่
น้ำนี้ ย่อมควร แม้ในทะเลและชาตสระ ก็มีนัยเหมือนกัน.
ก็บรรดาทะเลและชาตสระนี้ ที่ชื่อ ชาตสระ เป็นชลาสัย ที่ผู้ใดผู้หนึ่ง
มิได้ขุดทำไว้ เป็นบึงที่เกิดเอง เต็มด้วยน้ำซึ่งมาได้รอบด้าน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงห้ามข้อที่แม่น้ำทะเลและชาตสระเป็น
พัทธสีมา อย่างนั้นแล้ว เมื่อจะทรงแสดงกำหนดแห่งอพัทธสีมาในแม่น้ำทะเล
และชาตสระเหล่านั้นอีก จึงตรัสคำว่า นทิยา วา ภิกฺขเว เป็นอาทิ.
วินิจฉัยในคำนั้น. ข้อว่า ยํ มชฺฌิมสฺส ปุริสสฺส สมนฺตา อุท-
กุกฺเขปา
มีความว่า สถานที่ใดกำหนดด้วยวักน้ำลาดโดยรอบแห่งบุรุษผู้มีกำลัง

1. สมนฺต. ทุติย. 179.

ปานกลาง คือบุรุษผู้มีกำลังปานกลาง ก็น้ำอันภิกษุจะพึงวักสาดอย่างไร ? นักเลง
สบ้าซัดลูกสบ้าไม้ฉันใด บุรุษผู้มีกำลังปานกลาง พึงเอามือวักน้ำหรือกำทรายซัด
ไป ด้วยกำลังทั้งหมด ฉันนั้น. น้ำหรือทรายทีซัดไปอย่างนั้น ตกลงในโอกาสใด
โอกาสนี้เป็นอุทกุกเขป 1. ภิกษุผู้ละหัตถบาสตั้งอยู่ภายในอุทกุกเขปนั้น ย่อม
ทำกรรมให้เสีย. บริษัทขยายออกเพียงใด แม้สีมาย่อมขยายออกไปเพียงนั้น.
เฉพาะอุทกุกเขป 1 จากที่สุดโดยรอบแห่งบริษัทเป็นประมาณ.
แม้ในชาตสระและทะเล ก็นัยนี้แล ก็แลบรรดาแม่น้ำชาตสระ และ
ทะเลเหล่านี้ ถ้าแม่น้ำไม่ยาวเกินไป สงฆ์นั่งอยู่ในที่ทั้งปวง ตั้งแต่ต้นน้ำจน
ถึงปากน้ำ ขึ้นชื่อว่าการทำสีมาด้วยอุทกุกเขป ย่อมไม่มี. แม่น้ำแม้ทั้งสิ้น ย่อม
พอดีแก่ภิกษุเหล่านั้นเสียแล้ว.
ก็คำใดที่พระมหาสุมัตเถระกล่าวว่า แม่น้ำเฉพาะที่ไหลเพียงโยชน์ 1.
ในแม่น้ำนั้น ต้องละกึ่งโยชน์ตอนบนเสีย ทำกรรมในกึ่งโยชน์ตอนล่าง จึง
ควร ดังนี้ . คำนั้นพระมหาปทุมัตเถระค้านเสียแล้ว.
ในมหาอรรถกถากล่าวว่า อันประมาณแห่งแม่น้ำ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ฉะนี้ว่า ภิกษุณีนุ่งห่มได้มณฑล 3 ข้ามอยู่ ณ เอกเทสเเห่งใดแห่งหนึ่ง
อันตรวาสกเปียก แต่โยชน์ 1 หรือกึ่งโยชน์ หาได้ตรัสไว้ไม่ เพราะเหตุนั้น
แน่น้ำใด มีลักษณะดังกล่าวแล้วในหนหลัง ด้วยอำนาจแห่งสูตรนี้ จะทำสังฆ-
กรรมตั้งแต่ต้นน้ำแห่งแม่น้ำนั้น ย่อมควร. แต่ถ้าภิกษุมากหลายจะแยก ๆ กัน
ทำกรรมในแม่น้ำนี้ไซร้. เธอทั้งปวงพึงเว้นอุทกุกเขปอื่นไว้ในระหว่างแดน
กำหนดแห่งอุทกุกเขปของตน และของภิกษุพวกอื่น เพื่อประโยชน์แก่สีมันตริก
เว้นไว้เกินกว่าอุทกุกเขป 1 นั้น ควรแท้. แต่หย่อนกว่านั้น ไม่ควร.

ในชาตสระและทะเล ก็นัยนี้แล ก็แลภิกษุทั้งหลายพากันไปด้วยคิดว่า
เราจักทำสังฆกรรมในแม่น้ำ ถ้าแม่น้ำเต็มเสมอฝั่ง จะต้องนุ่งผ้าอาบน้ำก็ได้
พึงทำกรรมในแม่น้ำนั่นแล ถ้าไม่อาจ เพียงสถิตอยู่ในเรือก็ได้ กระทำเถิด
แต่ไม่ควรทำในเรือซึ่งกำลังเดิน. เพราะเหตุไร เพราะว่า ชั่วอุทกุกเขป
1 เท่านั้นเป็นประมาณแห่งสีมา เรือย่อมพาสงฆ์นั่นแลให้ล่วงเลยสีมานั้นไป;
เมื่อเป็นเช่นนั้น ญัตติจะอยู่ในสีมา 1 อนุสาวนาจะอยู่ในอีกสีมา 1 เพราะ
เหตุนั้น พึงจอดเรือไว้กับหลัก หรือทอดสมอ หรือผูกที่ต้นไม้ที่เกิดภายใน
แม่น้ำกระทำกรรม. สถิตอยู่บนร้านที่ผูกขึ้นในภายในแม่น้ำก็ดี บนต้นไม้ที่เกิด
ในภายในแม่น้ำก็ดี กระทำกรรมก็ควร. แต่ถ้ากิ่งแห่งต้นไม้ก็ดี ย่านที่ออกจาก
ต้นไม้นั้นก็ดี. จดอยู่ที่วิหารสีมา หรือที่ตามสีมา นอกฝั่งแม่น้ำ ต้องชำระสีมา
ให้เรียบร้อย หรือทัดกิ่งไม้เสีย แล้วจึงทำกรรม. จะผูกเรือที่กิ่งแห่งต้นไม้ที่
ขึ้นอยู่บนตลิ่ง ซึ่งยื่นลงไปในแม่น้ำ หรือที่ย่านไทรแล้ว กระทำกรรมไม่ควร.
เมื่อจะทำ ต้องชำระสีมาให้เรียบร้อย หรือต้องตัดเสีย ให้การที่กิ่งไม้หรือย่าน
ไทรนั้น ซึ่งจดในภายนอกขาดจากกัน . อนึ่งจะปักหลักที่ฝั่งแม่น้ำแล้ว ทำกรรม
ในเรือซึ่งผูกที่หลักนั้น ก็ไม่ควรเหมือนกัน. ชนทั้งหลายทำสะพานไว้ในแม่น้ำ,
ถ้าตัวสะพาน หรือเชิงสะพานอยู่ในภายในแม่น้ำเท่านั้น, จะสถิตอยู่บนสะพาน
ทำกรรมก็ควร. แต่ถ้าตัวสะพาน หรือเชิงสะพานตั้งอยู่บนฝั่ง. จะสถิตอยู่บน
สะพานนั้นทำกรรม ไม่ควร. ต้องชำระสีมาให้เรียบร้อยแล้ว จึงทำกรรม.
ถ้าเชิงสะพานทั้งอยู่ในแม่น้ำ ส่วนตัวสะพานเชิดอยู่ในอากาศบนฝั่งทั้ง 2 ย่อม
ควร. แก่งศิลาหรือเกาะ มีอยู่ภายในแม่น้ำ, ใน 4 เดือนแห่งฤดูฝน
เฉพาะกาลฝนตามปกติมีประการดังกล่าวแล้วในหนหลัง น้ำท่วมประเทศเท่าใด
แห่งแก่งศิลาหรือเกาะนั้น, ประเทศเท่านั้น นับเป็นแม่น้ำเหมือนกัน แต่ไม่

ควรถือเอาโอกาสที่ห้วงน้ำท่วม ในคราวฝนชุกเกินไป. เพราะว่าโอกาสนั้น
ย่อมถึงความนับว่าเป็นคามสีมาด้วย.
ชนทั้งหลายเมื่อจะไขน้ำเข้าลำราง ย่อมทำท่านบในแม่น้ำ, และน้ำท่วม
หรือเซาะแทงทำนบนั้นไหลไป จะทำกรรมในที่ซึ่งน้ำไหลทุกแห่ง ย่อมควร
แต่ถ้ากระแสน้ำขาดสายทำนบกั้นก็ดี ด้วยถูกถมทำสะพานก็ดี1 น้ำย่อมไม่ไหล
จะทำกรรมในที่ซึ่งน้ำไม่ไหลไม่ควร. จะทำแม้บนยอดทำนบ ก็ไม่ควร. ถ้า
ประเทศแห่งทำนบบางแห่ง น้ำท่วมน้ำ เหมือนประเทศแห่งแก่งศิลาและเกาะ
ซึ่งกล่าวแล้วในหนหลัง, จะทำกรรม ณ ประเทศแห่งทำนบที่น้ำท่วมถึงนั้น
ย่อมควร. เพราะว่าประเทศแห่งทำนบนั้นย่อมถึงความนับว่าแม้น้ำเหมือนกัน.
ชนทั้งหลายจะกั้นแม่น้ำเสีย ทำให้เป็นบึง ก่อคันไว้ที่ปลายน้ำ น้ำไหลมาขังอยู่
เต็มบึง จะทำกรรมในบึงนี้ ไม่ควร. น้ำที่เขาทิ้งเสียในที่ซึ่งไหลตอนบนและ
ตอนล่าง แห่งบึงนั้น ย่อมควร จำเติมแต่ที่ซึ่งล้นแล้วไหลบ่าลงสู่แม่น้ำ. ใน
เมื่อฝนไม่ตก ในคราวฝนแล้ง หรือในฤดูร้อนและในฤดูหนาว จะทำกรรม
แม้ในแม่น้ำที่แห้ง ย่อมควร. ในลำรางที่เขาชักออกจากแม่น้ำ ไม่ควร. ถ้า
ลำรางนั้นพังกลายเป็นแม่น้ำในกาลอื่น ย่อมควร. แม่น้ำบางสายขึ้นท่วมคาม
สีมาและนิคมสีมาไหลไปตามฤดูกาล, แม่น้ำนั้น ย่อมเป็นแม่น้ำเหมือนกัน
สมควรทำกรรมได้. แต่ถ้าท่วมวิหารสีมา ย่อมถึงความนับว่า วิหารสีมา ด้วย
อันภิกษุทั้งหลายผู้จะทำกรรมแม้ในทะเลเล่า น้ำที่ขึ้นอย่างสูง ย่อมท่วมประเทศ

1. ปาฐะในอรรถกถาว่า อาวรเณน วา โกฏฺฐกพนฺธเนน วา. โยชนาหน้า 246 แก้ว่า อาวรเณน
วาติ ทารุอาทึ นิกฺขนิตฺวา อุทกนีวารเณน. โกฏฺฐลสมฺพทฺเธน วาติ มตฺติกาทีหิ ปูเรตฺวา กต-
เสตุพทฺเธน แม้อักษรจะเพี้ยนไปบ้างก็ตาม เสตุพนฺธ หมายความว่าทำสะพานตามความนิยม
ของภาษา เช่นในมงฺคลตฺถทีปนี ภาก 2 ตอน อนวชฺชกมฺมกถา หน้า 124 มีกล่าวถึงอบาสก
คนหนึ่ง . . . อุทกกาเล มาติกาสุ เสตุํ พนฺธติ. ดังนั้นอาศัยนัยโยชนา จึงได้แปลเช่นนี้ ให้ได้
ความชัดลงไป.

ใดหรือคลื่นคามปกติมาด้วยกำลังลม ย่อมท่วมประเทศใด ไม่ควรทำกรรมใน
ประเทศนั้น แต่คลื่นตามปกติเกิดขึ้นแล้ว หยุดอยู่แค่ประเทศใดประเทศนั้น
จำเติมแต่ชายน้ำลงไป จัดเป็นภายในทะเล ภิกษุทั้งหลายพึงตั้งอยู่ในประเทศ
นั้น ทำกรรมเถิด ถ้ากำลังคลื่นรบกิน พึงสถิตอยู่บนเรือ หรือร้านกระทำ-
กรรม.
วินิจฉัยในเรือและร้านเหล่านั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในแม่น้ำ
นั่นแล. ศิลาดาดมีอยู่ในทะเล. บางคราว คลื่นมาท่วมศิลาดาดนั้น บางคราวไม่
ท่วม ไม่ควรทำกรรมบนศิลาดาดนั้น. เพราะว่าศิลาดาดนั้น ย่อมนับเป็น
คามสีมาด้วย. แต่ถ้า เมื่อคลื่นมาก็ดี ไม่มาก็ดี ศิลาดาดนั้น อันน้ำตามปกตินั่น
เองท่วมอยู่ ย่อมควร.
เกาะหรือภูเขา มีอยู่ ถ้าเกาะหรือภูเขานั้น อยู่ในย่านไกลไม่เป็นทาง
ไปของพวกชาวประมง เกาะหรือภูเขานั้น ย่อมนับเข้าเป็นอรัญญสีมานั่นแล.
ส่วนร่วมในแห่งปลายทางเป็นที่เป็นไปของพวกชาวประมงเหล่านั้น นับเป็น
คามสีมา. . . ไม่ชำระคามสีมาให้เรียบร้อยแล้ว ทำกรรมที่เกาะภูเขานั้น ไม่ควร.
ทะเลท่วมคามสีมาหรือนิคมสีมาทั้งอยู่ คงเป็นทะเล, จะทำกรรมในทะเลนั้น
ย่อมควร. แต่ถ้าท่วมวิหารสีมา ย่อมถึงความนับว่า วิหารสีมา ด้วย.
อันภิกษุทั้งหลายผู้จะทำกรรมในชาตสระเล่า ในพรรษกาลมีประการ
ดังกล่าวแล้วในหนหลัง พอฝนขาด น้ำในสระใดไม่พอเพื่อจะดื่ม หรืออาบ
หรือล้างมือและเท้า แห้งหมด; สระนี้ไม่จัดเป็นชาตสระ ถึงความนับว่าเป็น
คามเขตนั่นเอง; ไม่ควรทำกรรมในสระนั้น. แต่ในพรรษกาลมีประการดังกล่าว
แล้ว น้ำขังอยู่ในสระใด สระนี้แลจัดเป็นชาตสระ. ตลอด 4 เดือนฤดูฝนน้ำ
ขังอยู่ในประเทศเท่าใดแห่งชาตสระนั้น สมควรทำกรรมในประเทศเท่านั้นได้.

ถ้าน้ำลึก จะผูกร้านแล้วตั้งอยู่บนร้านนั้นก็ดี ตั้งอยู่บนร้านที่ผูกไว้บนต้นไม้ที่
เกิดภายในชาตสระก็ดี กระทำกรรมย่อมควร.
ส่วนวินิจฉัยในศิลาดาดและเกาะ ในชาตสระนี้ เป็นเช่นกับที่กล่าว
แล้ว ในแม่น้ำนั่นเอง. อนึ่ง ชาตสระที่มีน้ำพอใช้ ในกาลที่ฝนตกเสมอ. แม้
หากว่า ในคราวฝนแล้งหรือฤดูร้อนและฤดูหนาวจะแห้ง ไม่มีน้ำ, จะทำสังฆ-
กรรมในชาตสระนั่น ก็ควร.
ไม่ควรเชื่อถือคำที่ท่านกล่าวไว้ในอันธกอรรถกถาว่า ชาตสระทั้งปวง
ที่แห้งไม่มีน้ำ ย่อมจัดเข้าเป็นคามเขตไป แต่ถ้าชนทั้งหลาย ขุดบ่อหรือสระ
โบกขรณีเป็นต้น เพื่อต้องการน้ำ ในชาตสระนี้ สถานนั้น ไม่เป็นชาตสระ.
นับเป็นคามสีมา แม้ในการปลูกน้ำเต้าและแตงโมเป็นต้น ที่เขาทำ ในชาตสระ
นั้น ก็มีนัยเหมือนกัน.
อนึ่ง ถ้าชนทั้งหลายถมชาตสระนั้นให้เต็น ทำให้เป็นบกก็ดี ก่อคัน
ในทิสาภาคอันหนึ่ง ทำชาตสระนั้นทั้งหมดทีเดียวให้เป็นบึงใหญ่ก็ดี ไม่เป็น
ชาตสระแม้ทั้งหมด, นับเป็นคามสีมานั่นเอง. ถึงทะเลสาบ ก็จัดเป็นชาตสระ
เหมือนกัน. จะทำกรรมในโอกาสเป็นที่ขังน้ำตลอด 4 เดือนฤดูฝน ควรอยู่
ฉะนี้แล,
อรรถกถาอุทกุกเขปสีมา จบ

อรรถกถาสีมาสัมเภท


ข้อว่า สีมาย สีมํ สมฺภินฺทนฺติ มีความว่า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ผูกสีมาของตนคาบเกี่ยวพัทธสีมาของภิกษุเหล่าอื่น. ก็ถ้าว่าในทิศตะวันออกแห่ง
วัดที่อยู่เก่า มีต้นไม้ 2 ต้น คือ มะม่วงต้น 1 หว้าต้น 1 มีค่าคบพาด