เมนู

วินิจฉัยในคำนั้น บทว่า อฏฺฐปิตาย ได้แก่ ไม่ได้กำหนด. ก็แม้นคร
ย่อมเป็นอันทรงถือเอาแล้วทีเดียว ด้วย คาม ศัพท์ ในคำว่า คามํ วา นิคมํ
วา
นี้.
บรรดาคามสีมาและนิคมสีมานั้น ท่านผู้ครองบ้านนั้น ย่อมได้พลีใน
ประเทศเท่าใด ประเทศเท่านั้น จะเล็กหรือใหญ่ก็ตามที ย่อมถึงความนับว่า
คามสีมา ทั้งนั้น. แม้ในนครสีมาและนิคมสีมา ก็นัยนี้แล.
พระราชาทรงกำหนดประเทศอันหนึ่งแม้ใด ในคามเขตอันหนึ่งเท่านั้น
ว่า นี้จงเป็นวิสุงคาม พระราชทานแก่บุคคลบางคน ประเทศแม้นั้น ย่อมเป็น
วิสุงคามสีมาแท้. เพราะเหตุนั้น วิสุงคามสีมานั้นด้วย คามสีมา นครสีมา
และนิคมสีมาตามปกตินอกนี้ด้วย ย่อมเป็นเช่นกับพัทธสีนาเหมือนกัน. แต่
สีมาเหล่านี้ไม่ได้ความคุ้มครองการอยู่ปราศจากไตรจีวรอย่างเดียว.
อรรถกถาอพัทธสีมา จบ

อรรถกถาสัตตัพภันตรสีมา


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงกำหนดสิมาแก่ภิกษุผู้มักอยู่ในละ-
แวกบ้านอย่างผู้แล้ว บัดนี้จะทรงแสดงแม้แก่ภิกษุผู้มักอยู่ป่า จึงตรัสคำว่า
อคามเก เจ เป็นอาทิ.
วินิจฉัยในคำนั้น บทว่า อาคามเก เจ ได้แก่ ประเทศแห่งคงที่ไม่
ได้กำหนดด้วยคามสีมา นิคมสีมา และนครสีมา.
อีกประการหนึ่ง บทว่า อคามเก เจ มีความว่า ภิกษุย่อมอยู่ใน
ป่าเช่นดังดงชื่อวิชฌาฏวี, ครั้งนั้น 7 อัพภันตรโดยรอบจากโอกาสที่ภิกษุนั้นยืน
เป็นสมานสังวาสกสีมา. สีมานี้ย่อมได้ความคุ้มการอยู่ปราศจากไตรจีวรด้วย.

บรรดา 7 ส้ตตัพภันตรนั้น อัพภันตร 1 ประมาณ 28 ศอก. 7
อัพภันตรโดยรอบ แห่งสงฆ์ผู้ตั้งอยู่ตรงกลาง ย่อมเป็น 14 อัพภันตรโดย
ทะแยง. ถ้าสงฆ์ 2 หมู่แยกกันทำวินัยกรรม ต้องเว้น 7 อัพภันตรอีกระยะ
หนึ่ง ไว้ในระหว่างแห่ง 7 อัพภันตรทั้ง 2 เพื่อประโยชน์แก่อุปจาร.
สัตตัพภันตรสีมากถาที่เหลือ พึงถือเอาตามนัยที่กล่าวแล้ว ในวรรณนา
แห่งอุทโทสิตสิกขาบท ในมหาวิภังค์1.
อรรถกถาสัตตัพภันตรสีมา จบ

อรรถกถาอุทกุกเขปสีมา


ข้อว่า สพฺพา ภิกฺขเว นที อสีมา มีความว่า แม่น้ำชนิดใดชนิด
หนึ่ง ทีได้ลักษณะแห่งแม่น้ำ แม้ภิกษุกำหนดนิมิตกระทำแล้ว ด้วยตั้งใจว่า
เราทั้งหลายทำแม่น้ำนี้ให้เป็นพัทธสีมาดังนี้ ย่อมไม่เป็นสีมาเลย. แต่แม่น้ำนั้น
ย่อมเป็นเช่นกับพัทธสีมาโดยสภาพของตนเท่านั้น จะทำสังฆกรรมทั้งปวงในแม่
น้ำนี้ ย่อมควร แม้ในทะเลและชาตสระ ก็มีนัยเหมือนกัน.
ก็บรรดาทะเลและชาตสระนี้ ที่ชื่อ ชาตสระ เป็นชลาสัย ที่ผู้ใดผู้หนึ่ง
มิได้ขุดทำไว้ เป็นบึงที่เกิดเอง เต็มด้วยน้ำซึ่งมาได้รอบด้าน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงห้ามข้อที่แม่น้ำทะเลและชาตสระเป็น
พัทธสีมา อย่างนั้นแล้ว เมื่อจะทรงแสดงกำหนดแห่งอพัทธสีมาในแม่น้ำทะเล
และชาตสระเหล่านั้นอีก จึงตรัสคำว่า นทิยา วา ภิกฺขเว เป็นอาทิ.
วินิจฉัยในคำนั้น. ข้อว่า ยํ มชฺฌิมสฺส ปุริสสฺส สมนฺตา อุท-
กุกฺเขปา
มีความว่า สถานที่ใดกำหนดด้วยวักน้ำลาดโดยรอบแห่งบุรุษผู้มีกำลัง

1. สมนฺต. ทุติย. 179.