เมนู

ภิกษุทั้งหลายย่อมถอนสีมาด้วยเหตุ 2 ประการ คือ เพื่อจะทำสีมาที่
เล็กตามปกติให้ใหญ่ขึ้นอีก เพื่อประโยชน์แก่การขยายอาวาสออกไปบ้าง. เพื่อ
จะร่นสีมาที่ใหญ่โดยปกติให้เล็กลงอีก เพื่อประโยชน์แก่การให้โอกาสแห่งวิหาร
แก่ภิกษุเหล่าอื่นบ้าง.
บรรดาสีมา 2 ชนิดนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายรู้จักทั้งขัณฑสีมาและอวิป-
ปวาสสีมาไซร้ เธอจักอาจเพื่อจะถอน และเพื่อจะผูก. อนึ่งรู้จักขัณฑสีมา แม้
ไม่รู้จักอวิปปวาสสีมา จักอาจเพื่อจะถอน และเพื่อจะผูก. ไม่รู้จักขัณฑสีมา
รู้จักแต่อวิปปวาสสีมาเท่านั้น จักยืนอยู่ในที่ซึ่งปราศจากความรังเกียจ มีลาน
เจดีย์ ลานโพธิ์ และโรงอุโบสถเป็นต้นแล้ว บางที่ก็อาจเพื่อจะถอนได้. แต่
จักไม่อาจเพื่อจะผูกคืนได้เลย. หากจะพึงผูกไซร้. จะพึงกระทำความคาบเกี่ยว
แห่งสีมา กระทำวัดที่อยู่ให้ใช้ไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้ไม่รู้จัก ไม่พึงถอน.
ฝ่ายภิกษุเหล่าใดไม่รู้จักทั้ง 2 สีมา, ภิกษุเหล่านั้น จักไม่อาจเพื่อจะถอน จัก
ไม่อาจเพื่อจะผูกเป็นแท้. จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่าสีมานี้ ย่อมไม่เป็นสีมาด้วยกรรม-
วาจาบ้าง ด้วยความสาบสูญแห่งศาสนาบ้าง และภิกษุทั้งหลายผู้ไม่รู้จักสีมา. ไม่
สามารถทำกรรมวาจา เพราะฉะนั้นภิกษุผู้ไม่รู้จักสีมา ไม่พึงถอนสีมา. อัน
สีมานั้น อันภิกษุผู้รู้จักดีเท่านั้น พึงถอนด้วย พึงผูกด้วย.
อรรถกถาวิธีถอนสีมา จบ

อรรถกถาอพัทธสีมา


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงสมานสังวาสและความเป็นผู้มี
อุโบสถอันเดียวกัน เนื่องด้วยพัทธสีมาอย่างนี้แล้ว บัดนี้จะทรงแสดงสมาน
สังวาส และความเป็นผู้มีอุโบสถอันเดียวกันนั้นในโอกาสทั้งหลาย แม้ที่มิได้
ผูกสีมา จึงตรัสดำว่า อสมฺมตาย ภิกฺขเว สีมาย อฏฺฐปิตาย เป็นอาที.