เมนู

อรรถกถานิมิตวินิจฉัย


บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในนิมิตทั้งหลาย มีปัพพตนิมิตเป็นต้น อย่างนี้:-
ภูเขามี 3 ชนิด คือ ภูเขาดินล้วน 1 ภูเขาศิลาล้วน ภูเขาศิลาปน
ดิน 1. ภูเขานั้น ใช้ได้ทั้ง 3 ชนิด. แต่กองทรายใช้ไม่ได้ และตั้งแต่ขนาด
เท่าช้างถึงภูเขาสิเนรุ ก็ใช้ไม่ได้. ถ้ามีภูเขา 4 เทือก ใน 4 ทิศ หรือมี 3
เทือก ใน 3 ทิศ แม้จะสมมติสีมาด้วยปัพพตนิมิตทั้งนั้น ทั้ง 4 หรือ 3 ก็
ควร. แค่จะสมมติด้วยนิมิตเพียง 2 หรือเพียง 1 ไม่ควร.1 แม้ในปาสาณนิมิต
เป็นต้นนอกจากนี้ก็มีนัยเหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น เมื่อจะทำภูเขาให้เป็นนิมิต
ควรถามว่า เนื่องเป็นอันเดียวกัน. หรือไม่เนื่องเป็นอันเดียวกัน ถ้าเนื่องเป็น
อันเดียวกัน. ไม่ควรใช้. ด้วยว่า แม้กำหนดภูเขานั้น เป็นนิมิต 4 ทิศ
หรือทั้ง 4 ทิศ ย่อมเป็นอันกำหนดแล้วเพียงนิมิตเดียวเท่านั้น. เพราะเหตุนั้น
ภูเขาที่ตั้งโอบรอบวัดที่อยู่โดยสัณฐานดังกงจักร อย่างนั้น ควรกำหนดในทิศ
เดียว ในทิศอื่น ๆ พึงกันภูเขานั้นไว้ภายนอก กำหนดนิมิตชนิดอื่นภายใน
แต่ภูเขานั้นเข้ามา. หากว่าประสงค์จะทำภูเขาเสี้ยวหนึ่งหรือกึ่งหนึ่งไว้ภายใน
สีมา. อย่ากำหนดภูเขาประสงค์จะทำประเทศเท่าใดไว้ภายใน. พึงกำหนดนิมิต
ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีต้นไม้และจอมปลวกเป็นต้น ที่เกิด ณ ภูเขานั้นเองข้าง
นอกแห่งประเทศเท่านั้น. หากประสงค์จะกันเอาภูเขาทั้งหมด ประมาณโยชน์ 1
หรือ 2 โยชน์ไว้ภายใน. พึงกำหนดต้นไม้หรือจอมปลวกเป็นต้น ซึ่งเกิด ณ
ภาคฟันข้างนอกภูเขาเป็นนิมิต.
วินิจฉัยในปาสาณนิมิต:-

1. เอกิสฺสาเอว ปน ทิสาย ฐิเตหิ ตโต พหูหิปิ สมฺมนฺนิตุํ น วฏฺฏติ. ทฺวีหิ ปน ทฺวีสุ
ทิสาสุ ฐิเตหิปิ วฏฺฏตีติ วิมติวิโนทนี.

แม้ก้อนเหล็ก ก็นับว่าศิลาได้เหมือนกัน. เพราะฉะนั้น ศิลาชนิดใด
ชนิดหนึ่ง ก็ควร. แต่เมื่อว่าโดยขนาด ขนาดเท่าช้างนับเป็นภูเขา, เพราะ
ฉะนั้น ศิลาขนาดเท่าช้างนั้น จึงไม่ควร. ส่วนศิลาขนาดเท่าโคเขื่อง และ
กระบือเขือง ๆ ใช้ได้. โดยกำหนดอย่างต่ำ ขนาดเท่าก้อนน้ำอ้อยหนัก 32
ปะละ1 ก็ใช้ได้ ย่อมกว่านั้นหรือแม้อิฐขนาดใหญ่ ก็ใช้ไม่ได้. แม้กองศิลา
ที่ไม่นับเข้าในนิมิตก็ใช้ไม่ได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงกองดินกองทราย. ศิลาดาด
ซึ่งราบเสมอพื้นดิน คล้ายวงลานก็ดี ศิลาดาดที่ตั้งสูงพ้นพื้นดินคล้ายตอก็ดี
บรรดามี ศิลาแม้นั้น ถ้าได้ขนาด ใช้ได้. ศิลาดาดแม้ใหญ่เกินไป ย่อมนับว่า
เป็นศิลาด้วย. เพราะฉะนั้น ถ้าประสงค์จะกันประเทศอันหนึ่ง แต่ศิลาดาด
ขนาดใหญ่ไว้ภายในสีมา, อย่ากำหนดศิลาดาดนั้นเป็นนิมิต พึงกำหนดศิลาอื่น
เหนือศิลาดาดนั้น หากทำวัตที่อยู่บนศิลาดาด หรือศิลาดาดยื่นไปทางท่ามกลาง
วัดที่อยู่ ศิลาดาดเห็นปานนี้ ใช้ไม่ได้. เพราะถ้ากำหนดศิลาดาดนั้นเป็นนิมิต
วัดที่อยู่ย่อมอยู่บนนิมติ และธรรมดานิมิตต้องอยู่ภายนอกสีมา แม้วัคที่อยู่ก็ถึง
ภายนอกสีมา. ศิลาดาดตั้งโอบรอบวัดที่อยู่ควรกำหนดเป็นนิมิตในทิศเดียว
อย่ากำหนดในทิศอื่น.
วินิจฉัยในวนนิมิต:-
ดงหญ้า หรือป่าไม้มีตาลและมะพร้าวเป็นต้นที่มีเปลือกแข็ง ใช้ไม่ได้
แต่หมู่ไม้มีแก่นข้างในเป็นต้นว่าไม้สากะและไม้สาละ หรือหมู่ไม้ปนไม้มีแก่น
ก็ใช้ได้ ก็ป่าไม้นั้นแล โดยกำหนดอย่างต่ำ แม้เพียง 4-5 ต้น ก็ใช้ได้
หย่อนกว่านั้น ใช้ไม่ได้ มากกว่านั้นแม้ตั้ง 100 โยชน์ ก็ใช้ได้. ถ้าทำวัด
ที่อยู่ไว้กลางป่า ไม่ควรกำหนดป่าเป็นนิมิต. แม้ประสงค์จะกันเอาป่าส่วน

1.หนักประมาณ 5 ชั่ง.

หนึ่งไว้ภายในสีมา อย่ากำหนดป่าเป็นนิมิต พึงกำหนดต้นไม้หรือศิลาเป็นต้น
ในป่านั้น เป็นนิมิต. ป่าที่ตั้งล้อมวัดที่อยู่ พึงกำหนดเป็นนิมิตในทิศเดียว
อย่ากำหนดในทิศอื่น.
วินิจฉัยในรุกขนิมิตร:-
ต้นไม้มีเปลือกแข็ง เช่นต้นตาลต้นมะพร้าวเป็นต้นใช้ไม่ได้. ต้นไม้
มีแก่นข้างใน ยังเป็นอยู่ โดยที่สุด สูงเพียง 8 นิ้ว. วัดโดยรอบแม้ลำต้น
เท่าเล่ม1เข็ม ก็ใช้ได้. ย่อมกว่านั้น ใช้ไม่ได้ โตกว่านั้นขึ้นไป แม้ต้นไทรที่
ขึ้นงามไพศาลตั้ง 12 โยชน์ ก็ควร. ต้นไม้ที่เขาเพาะพืชให้งอกงามในภาชนะ
ทั้งหลาย มีกระบอกและกระถางเป็นต้น แม้ได้ขนาด ก็ใช้ไม่ได้ แต่เอาออก
จากกระบอกและกระถางเป็นต้นนั้นปลูกลงในพื้นดิน แม้ในขณะนั้น แล้วทำ
ซุ้มรดน้ำกำหนดเป็นนิมิต ก็ควร. การแตกรากและกิ่งใหม่ไม่ใช่เหตุ แต่การ
แตกรากและกิ่งนั้น ย่อมเหมาะสำหรับต้นไม้ที่เขาตัดลำต้นเพาะ อันพระวินัยธร
เมื่อกำหนดจะระบุว่า ต้นไม้ หรือว่า ต้นสากะ หรือว่า ต้นสาละ ดังนี้ ก็
ใช้ได้. แต่กำหนดต้นไม้ที่เนื่องเป็นอันเดียวกัน เช่นต้นไทรที่ขึ้นงามไพศาล
เป็นนิมิตในทิศหนึ่งแล้ว จะกำหนดในทิศอื่นอีก ไม่ควร.
วินิจฉัยในบรรดานิมิต:-
ทางทั้งหลาย มีทางป่า ทางนา ทางแม่น้ำ ทางเหมืองเป็นต้นใช้ไม่
ได้. ทางเดินเท้า หรือทางเกวียน ซึ่งผ่านไป 2 - 3 ระยะบ้าน จึงใช้ได้.
ส่วนทางเดินเท้าใด แยกออกจากทางเกวียนแล้วกลับลงสู่ทางเกวียนนั่นเองอีก

1. ในวินัยมุขเล่ม 3 หน้า 16 ว่าลำต้นเท่าลำเข็ม. ในฎีกาสารตฺถทีปนี ภาค 4 หน้า 213 ว่า
สูจิทณฺฑกปฺปมาโณติ สีหลทีเป เลขนทณฺฑปฺปมาโณติ วทนฺติ. โส จ กนิฏฺฐงฺคุลิปริมาโณติ
ทฏฺฐพฺพํ: โดยนัยฏีกานี้ ก็คือด้ามเหล็กจาร. ศัพท์ว่า สจิตณฺฑ นี้ยังมีใช้ในเสนาสนกฺขนฺธกวณฺณนา
หน้า 387,388 อีกว่า อฏฺฐงฺคุลิสูจิทณฺทมตฺโตปิเวฬุ . . .. อฏฺฐงฺคุลสูจิทณฺฑมตฺโตปิ ทารุภณฺฑ-
โก . . . ซึ่งหมายความว่า ด้ามเหล็กจารทั้งนั้น.

ก็ดี ทางเดินเท้าและทางเกวียนเหล่าใด ใช้ไม่ได้ก็ดี ทางเหล่านั้น ใช้ไม่ได้.
ทางทั้งหลายที่พ่อค้าเดินเท้า และพ่อค้าเกวียน ยังใช้เดินอยู่เสมอ จึงใช้ได้.
ถ้าทาง 2 แพร่งแยกจากกันไปแล้ว ภายหลังบรรจบเป็นทางเดียวกัน เช่นทูบ
เกวียนไซร้ ทางนั้นพึงกำหนดตรงที่แยกเป็น 2 แพร่ง หรือที่บรรจบเป็น
นิมิตครั้งเดียวแล้ว อย่ากำหนดอีก. เพราะนิมิตนั้น เป็นนิมิตเนื่องเป็นอัน
เดียวกัน ถ้าทาง 4 แพร่งอ้อมรอบวัดอยู่แล้วแยกไปในทิศทั้ง 4 กำหนดทาง
หนึ่งตรงท่ามกลางแล้ว จะกำหนดอีกทางหนึ่ง ไม่ควร. เพราะนิมิตรนั้น
เป็นนิมิตรเนื่องเป็นอันเดียวกัน. แต่จะกำหนดทางที่ผ่านทะแยงมุมไปเป็นนิมิต
ในค้านอื่น ควรอยู่. ส่วนทางที่ลัดผ่านท่ามกลางวัดที่อยู่ไป ไม่ควรกำหนด.
เมื่อกำหนดแล้ว วัดที่อยู่ย่อมอยู่บนนิมิต. ถ้าภิกษุทั้งหลายจะทำทางล้อค้าน
ในแห่งทางเกวียนเป็นนิมิต ทางย่อมอยู่ภายนอกสีมา, ถ้าจะทำทางล้อด้านนอก
เป็นนิมิต ทางล้อด้านนอกเที่ยว ย่อมอยู่ภายนอกสีมา. ทางที่เหลือนับเข้าภาย
ในสีมา. อันพระวินัยธรผู้จะกำหนดทางเป็นนิจ สมควรกำหนดโดยชื่ออย่าง
ใดอย่างหนึ่งในชื่อว่า มคฺโค, ปนฺโถ ปโถ, ปชฺโช เป็นอาทิ. ทางที่ไปได้
รอบวัดที่อยู่ โดยสัณฐานดังดู กำหนดเป็นนิมิตในทิศหนึ่งแล้ว จะกำหนด
ในทิศอื่นไม่ควร.
วินิจฉัยในวัมมิกนิมิต
จอมปลวก โดยกำหนดอย่างเล็กที่สุด แม้เกิดในวันนั้น สูง 8 นิ้ว
ขนาดเท่าเขาโค ก็ใช้ได้. ย่อมกว่านั้น ใช้ไม่ได้ เขื่องกว่านั้นขึ้นไป แม้เท่า
กับภูเขาหิมพานต์ ใช้ได้. แต่กำหนดจอมปลวกที่ติดกันเป็นพืดเดียวทั้งล้อม
รอบวัดอยู่ เป็นนิมิตในทิศหนึ่งแล้ว จะกำหนดในทิศอื่นอีก ไม่ควร.

วินิจฉัยในนทีนิมิต:-
ในสมัยแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม เมื่อฝนตกติด ๆ กันอย่างนี้คือ ทุก
กึ่งเดือน ทุก 10 วัน ทุก 5 วัน พอฝนหายแล้ว กระแสแห่งแม่น้ำใด ขาดแห้ง
แร่น้ำนี้ ไม่นับเป็นแม่น้ำ. แต่ในคราวฝนเช่นนี้ กระแสแห่งแม่น้ำใดไหลไม่
ขาด ตลอดฤดูฝน 4 เดือน ลึกพอจะเปียกอันตรวาสกของนางภิกษุณี ผู้นุ่งห่ม
ได้ปริมณฑล 3 ลุยข้าม ณ เอกเทศแห่งใดแห่งหนึ่ง, แม่น้ำนี้นับว่าเป็นแม่น้ำ,
ชนิดนี้แล ก็แม่น้ำใด โอบรอบวัดที่อยู่ โดยสัณฐานดังทูบเกวียนก็ดี โดยสัณ
ฐานดังคูก็ดี คล้ายทาง, กำหนด แม่น้ำนั้นเป็นนิมิตในทิศหนึ่งแล้ว จะกำหนด
ในทิศอื่น ไม่ควร. แม้ในแม่น้ำ 4 สาย ซึ่งผ่านตัดกันและกันไป ใน 4 ทิศ
แห่งวัดที่อยู่ ก็มีนัยเหมือนกัน. แต่จะกำหนดแม่น้ำทั้ง 4 สาย ซึ่งไม่เชื่อม
ต่อกันเป็นนิมิต ใช้ได้ ถ้าชนทั้งหลายปักหลักเรียงกันเหมือนทำรั้วกั้นกระแส
นำด้วยเถาวัลย์และใบไม้เป็นต้น และนำล้นท่วมทำบนไหลไปได้ จะทำให้เป็น
นิมิต ควรอยู่ เมื่อเขาทำทำนบไม่ให้นำไหล แม่น้ำที่ไม่ไหล ไม่ควรทำให้
เป็นนิมิต. ในที่ซึ่งน้ำไหล เพราะขาดน้ำ ในคราวฝนแล้ง หรือ
ในฤดูร้อนใช้ได้. ชนทั้งหลายชักลำรางไขน้ำมาแต่แม่น้ำใหญ่ ลำรางนั้นเป็น
เช่นกับแม่น้ำเขิน ไหลอยู่เป็นกิจ ให้สำเร็จข้าวกล้า 3 คราว ถึงน้ำไหลไป
ได้ก็จริง แต่ก็ไม่ควรทำเป็นนิมิต. ส่วนลำรางอันใดในชั้นเดิม แม้ขาดขุดชัก
มาจากแม่น้ำใหญ่ ในกาลอื่นเซาะพังกลายเป็นแม่น้ำ ไหลไปได้เอง ตามทาง
ที่เขาขุดชักมานั้นแหละ โดยการต่อไป เกลื่อนกลาดไปด้วยสัตว์น้ำ มีจรเข้

เป็นอาทิ เป็นแม่น้ำที่จะพึงสัญจรไปได้ด้วยเรือเป็นต้น จะทำลำรางนั้น คือ
ที่กลายเป็นแม่น้ำแล้ว ให้เป็นนิมิตสมควรอยู่.
วินิจฉัยในอุทกนิมิตร:-
ในที่ซึ่งไม่มีน้ำ จะตักน้ำใส่ให้เต็มในเรือก็ดี ในหม้อก็ดี ในภาชนะ
มีอ่างเป็นต้นก็ดี แล้วกำหนดให้เป็นอุทกนิมิต ไม่ควร. น้ำที่ถึงแผ่นดินเท่านั้น
จึงใช้ได้. ก็น้ำถึงแผ่นดินนั่นแล เป็นน้ำไม่ไหล ขังอยู่ในที่ทั้งหลายมีบ่อ สระ
เกิดเอง และทะเลสาปเป็นต้น. ส่วนน้ำในแม่น้ำลึกและคลองไขน้ำเป็นต้นซึ่ง
ไหลใช้ไม่ได้. แต่ในอันธกอรรถกถาแก้ว่า น้ำที่ต้องโพงขึ้น ในชลาลัยทั้ง
หลายมีบ่อเป็นต้น ซึ่งลึก ไม่ควรทำเป็นนิมิต. คำนั้นท่านกล่าวไม่ชอบ เป็น
แต่เพียงความเห็นส่วนตัวเท่านั้น. อันน้ำที่ขังอยู่ โดยที่สุด แม้ในแอ่งที่สุกร
ขุดไว้ก็ดี ในหลุมสำหรับเล่นของเด็กชาวบ้านก็ดี น้ำที่เขาขุดหลุมในแผ่นดิน
แล้วเอาหม้อตักมาใส่ให้เต็มในขณะนั้นก็ดี ถ้าขังอยู่จนถึงสวดกรรมวาจาจบได้
จะน้อยหรือมากก็ตามที ย่อมใช้ได้. และควรทำกองศิลาและกองทรายเป็นต้น
หรือเสาศิลาหรือเสาไม้ไว้ในที่นั้น เพื่อทำความหมายนิมิต ภิกษุจะทำเองหรือ
ใช้ผู้อื่นให้ทำกองศิลาเป็นต้นนั้นก็ควร. แต่ในลาภสีมา ไม่ควรทำ. ส่วน
สมานสังวาสกสีมา ย่อมไม่ทำความเบียดเบียนใคร ๆ ย่อมให้สำเร็จ เฉพาะ
วินัยกรรมของภิกษุทั้งหลายอย่างเดียว: เพราะฉะนั้น ในสมานสังวาสกสีมานี้
จึงควรทำเอง หรือให้ผู้อื่นทำกองศิลาเป็นต้นได้.

อรรถกถานิมิตวินิจฉัย จบ

สมมติสีมาและนิมิตแห่งสีมา


[154] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติว่า ความพร้อมเพรียงมีเพียงชั่วอาวาสเดียวเท่านั้นแล้วได้มีความ
ปริวิตกต่อไปว่า อาวาสหนึ่งกำหนดเพียงเท่าไร จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติสีมา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงสมมติสีมาอย่างนี้:-

วิธีสมมติสีมา


ชั้นต้นพึ่งทักนิมิต คือ ปัพพตนิมิต ปาสาณนิมิต วนนิมิต รุกขนิมิต
มัคคนิมิต วัมมิกนิมิต นทีนิมิต อุทกนิมิต ครั้นทักนิมิตแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด
ผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาสมมติสีมา


ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นิมิตระบุไว้ โดยรอบ
แล้วเพียงไร ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติสีมา
ให้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกัน ด้วยนิมิตเหล่านั้น นี้เป็น
ญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นิมิตระบุไว้โดยรอบ
แล้วเพียงไร สงฆ์สมมติอยู่บัดนี้ซึ่งสีมา ให้มีสังวาสเสมอกัน
มีอุโบสถเดียวกัน ด้วยนิมิตเหล่านั้น การสมมติสีมาให้มีสังวาส