เมนู

14 ค่ำ 15 ค่ำ และ 8 ค่ำ แห่งปักษ์ จึงได้นั่งนิ่งเสียเหมือนสุกรอ้วนเล่า
ธรรมเนียมภิกษุผู้ประชุมกัน ควรกล่าวธรรมมิใช่หรือ ภิกษุทั้งหลายได้ยิน
พวกนั้นเพ่งโทษติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า.

พระพุทธานุญาตให้กล่าวธรรม


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้นในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ประชุมกันกล่าวธรรม ในวัน 14 ค่ำ 15 ค่ำ และ 8
ค่ำ แห่งปักษ์.

พระพุทธานุญาตปาติโมกขุทเทส


[149] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไป ณ ที่สงัดหลีกเร้นอยู่
ได้มีพระปริวิตกแห่งพระทัยเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ไฉนหนอเราพึงอนุญาตสิกขาบท
ที่เราบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ให้เป็นปาติโมกขุทเทสของพวกเธอ ปติ-
โมกขุทเทสนั้นจักเป็นอุโบสถกรรมของพวกเธอ ครั้นเวลาสายัณห์ พระองค์
เสด็จออกจากที่เร้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน
เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ณ ตำบลนี้ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้
ว่า ไฉนหนอเราพึงอนุญาตสิกขาบทที่เราบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ให้เป็น
ปาติโมกขุทเทสของพวกเธอ ปาติโมกขุทเทสนั้นจักเป็นอุโบสถกรรมของพวก
เธอ ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล ภิกษุพึงสวดอย่างนี้.

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่าดังนี้:-
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่
แล้วสงฆ์พึงทำอุโบสถ พึงสวดปาติโมกข์ อะไรเป็นบุพพกิจของสงฆ์ ท่าน
ทั้งหลายพึงบอกความบริสุทธิ์ ข้าพเจ้าจักสวดปาติโมกข์ พวกเราบรรดาที่มี
อยู่ทั้งหมดจงฟัง จงใส่ใจซึ่งปาติโมกข์นั้นให้สำเร็จประโยชน์ ท่านผู้ใดมีอาบัติ
ท่านผู้นั้น พึงเปิดเผย เมื่ออาบัติไม่มี พึงนิ่งอยู่ ก็ด้วยความเป็นผู้นิ่งแล
ข้าพเจ้าจักทราบท่านทั้งหลายว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ การสวดประกาศกว่าจะครบ 3
จบ ในบริษัทเห็นปานนี้ย่อมเป็นเหมือนการกล่าวแก้เฉพาะรูป ที่ถูกถามผู้เดียว
ฉะนั้น ก็ภิกษุรูปใด เมื่อสวดประกาศกว่าจะครบ 3 จบ รู้ลึกได้ ไม่ยอม
เปิดเผยอาบัติที่มีอยู่ สัมปชานมุสาวาทย่อมมีแก่ภิกษุรูปนั้น ท่านทั้งหลาย ก็
สัมปชานมุสาวาท พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย เพราะ
ฉะนั้น ภิกษุต้องอาบัติแล้วระลึกได้ หวังความบริสุทธิ์ พึงเปิดเผยอาบัติที่มี
อยู่ เพราะเปิดเผยอาบัติแล้ว ความผาสุกย่อมมีแก่เธอ.

นิทานุเทสวิภังค์


[150] คำว่า ปาติโมกข์ นี้ เป็นเบื้องต้น เป็นประธาน เป็น
ประมุขแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า ปาติโมกข์.
คำว่า ท่านทั้งหลาย นี้ เป็นคำกล่าวที่อ่อนหวาน เป็นคำแสดง
ความเคารพ.
คำว่า ท่านทั้งหลาย นี้ เป็นชื่อของถ้อยคำที่ประกอบด้วยความ
เคารพและประกอบด้วยความยำเกรง.