เมนู

ดิถีเพ็ญเตือน 8 อีกก็ควร. แต่ถ้าในอาสาฬหมาส อาจารย์ไม่มา ควรไปในที่
ซึ่งตนจะได้นิสัย.

อรรถกถาเอกานุสสาวนากถา


สองบทว่า โคตฺเตนปิ อนุสฺสาเวตุํ มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุ
ระบุโคตรสวดประกาศอย่างนี้ว่า ผู้มีชื่ออย่างนี้เพ่งอุปสมบทแก่พระมหากัสสปะ.
สองบทว่า เทฺว เอกานุสฺสาวเน มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุ
ทำการสวดประกาศอุปสัมปทาเปกขะ 2 คนรวมกันได้. อธิบายว่า เราอนุณาต
ให้อาจารย์ 2 รูปอย่างนี้ ถือ อาจารย์รูป 1 สำหรับอุปสัมปทาเปกขะคน 1
อาจารย์อื่นสำหรับอุปสัมปทาเปกขะอีกคน 1 หรืออาจารย์รูปเดียวสวดกรรม
วาจาประกาศให้อุปสมบทในขณะเดียวกันได้.
คำว่า เทฺว เทฺว ตโย เอกานุสฺสาวเน กาตุ ตญฺจ โข เอเกน
อุปชฺฌาเยน
มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุทำการสวดประกาศชน 2 คน
หรือ 3 คนรวมกัน โดยนัยก่อนนั่นแล. และเราอนุญาตอนุสสาวนกิริยานั้นแล
ด้วยอุปัชฌาย์รูปเดียว. เพราะเหตุนั้นอุปสัมปทาเปกขะ 2 คน หรือ 3 คน
อันอาจารย์รูปเดียว พึงสวดประกาศ กรรมวาจา 2 หรือ 3 อันอาจารย์ 2 รูป
หรือ 3 รูป พึงสวดด้วยลงมือพร้อมกันทีเดียวอย่างนี้ คือ อาจารย์รูป 1 พึง
สวดแก่อุปสัมปทาเปกขะรูป 1. แยก ๆ กันไป. แต่ถ้าอาจารย์ก็ต่างรูป
อุปัชฌาย์ต่างรูปกัน คือ พระติสสเถระสวดประกาศสัทธิวิหาริกของพระสุมน-
เถระ พระสุมนเถระสวดประกาศสัทธิวิหาริกของพระติสสเถระ และต่างเป็น
คณปูรกะของกันและกัน อย่างนี้ควร. และถ้าอุปัชฌาย์ต่างรูปกัน อาจารย์รูป
เดียว อย่างชื่อว่าไม่ควร เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามไว้ว่า แต่เราไม่
อนุญาตด้วยอุปัชฌาย์ต่างรูปกันเลย ดังนี้ จริงอยู่การห้ามนี้หมายเอาคำบาลีนี้.

อรรถกถาอุปสัมปทายัตตวิธี


พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปฐมํ อุปชฺฌํ คาทาเปตพฺโพ นี้ต่อไป
ภิกษุใดย่อมสอดส่องโทษและมิใช่โทษ เหตุนั้น ภิกษุนั้นชื่ออุปัชฌาย์.
อุปสัมปทาเปกขะนั้น อันภิกษุพึงให้ว่าถืออุปัชฌาย์นั้นอย่างนี้ว่า ขอท่านเป็น
อุปัชฌาย์ของข้าพเจ้าเถิดเจ้าข้า.
บทว่า วิตฺถายนฺติ มีความว่า อุปสัมปทาเปกขะทั้งหลาย ย่อมเป็น
ผู้มีตัวแข็งทื่อ.
สองบทว่า อุลฺลุมฺปตุ มํ มีความว่า ขอสงฆ์ยกข้าพเจ้าขึ้นเถิด.
ศัพท์ ตาวเทว มีความว่า ในเวลาติดต่อกับเวลาที่อุปสัมปทาเปกขะ
อุปสมบทแล้วทีเดียว.
ข้อว่า ฉายา เมตพฺพา มีความว่า พึงวัดเงาว่าชั่วบุรุษ 1 หรือว่า
2 ชั่วบุรุษ.
ข้อว่า อุตุปฺปมาณํ อาจิกฺขิตพฺพํ มีความว่า พึงบอกประมาณฤดู
อย่างนี้ว่า ฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูนั่นเอง ชื่อประมาณแห่งฤดูใน
คำนี้ ถ้าฤดูทั้งหลายมีฤดูฝนเป็นต้น ยิ่งไม่เต็ม ฤดูใดของอุปสัมบันใด ยังไม่เต็ม
ด้วยวันมีประมาณเท่าใด, พึงกำหนดวันเหล่านั้น แห่งฤดูนั้น แล้วบอกส่วน
แห่งวัน แก่อุปสัมบันนั้น. อีกประการหนึ่ง พึงบอกประมาณฤดูอย่างนี้ว่า
ฤดูชื่อนี้ทั้งฤดูนั้นแลเต็มหรือยังไม่เต็ม พึงบอกส่วนแห่งวันอย่างนี้ว่า เช้าหรือ
เย็น.
บทว่า สงฺคีติ เป็นต้น มีความว่า พึงประมาณการบอกทั้งหมดมี
บอกกำหนดเงาเป็นต้นนี้แลเข้าด้วยกันบอกอย่างนี้ว่า เธออันใคร ๆ ถามว่า
ท่านได้ฤดูอะไร ? เงาของท่านเท่าไร ? ประมาณฤดูของท่านอย่างไร ส่วน