เมนู

อรรถกานิสสยคหณกถา


ในคำว่า อลชฺชีนํ นิสฺสาย วสนฺติ นี้:-
บทว่า อลชฺชีนํ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ. ความ
ว่า ภิกษุทั้งหลายพึ่งบุคคลผู้อลัชชีทั้งหลายอยู่.
คำว่า ยาว ภิกฺขูสภาคตํ ชานามิ มีความว่า เราจะทราบความที่
ภิกษุผู้ให้นิสัยเป็นผู้ถูกส่วนกับทั้งหลาย คือ ความเป็นผู้มีละอายเพียงไร.
เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้ถึงฐานะใหม่ แม้อันภิกษุไร ๆ กล่าวว่า ภิกษุ เธอจง
มาถือนิสัย ดังนี้ พึงพิจารณาข้อที่ภิกษุผู้ให้นิสัยเป็นผู้มีความละอาย 4 - 5 วัน
แล้ว จึงค่อยถือนิสัย ถ้าได้ฟังในสำนักแห่งภิกษุทั้งหลายว่า พระเถระเป็น
ลัชชี เป็นผู้ปรารถนาจะถือในวันที่ตนมาทีเดียว ฝ่ายพระเถระกล่าว่า คุณจง
รอก่อน คุณอยู่จักรู้ ดังนี้ แล้วตรวจดูอาจาระเสีย 2 - 3 วันแล้ว จึงให้นิสัย
การทำอย่างนี้ ย่อมควร.
โดยปกติ ภิกษุผู้ไปสู่สถานเป็นที่ถือนิสัย ต้องถือนิสัยในวันนั้นทีเดียว
แม้วันเดียว ก็คุ้มไม่ได้. ถ้าในปฐมยาม อาจารย์ไม่มีโอกาส เมื่อไม่ได้โอกาส
จะนอนด้วยผูกใจไว้ว่า เราจักถือในเวลาใกล้รุ่ง ถึงอรุณขึ้นแล้วไม่รู้ ไม่เป็น
อาบัติ แต่ถ้าไม่ทำความผูกใจว่า เราจักถือ แล้วนอน เป็นทุกกฏในเวลา
อรุณขึ้น.
ภิกษุไปสู่สถานที่ไม่เคยไป ปรารถนาจะค้าง 2 - 3 วันแล้วไปไม่ต้อง
ถือนิสัยอยู่ก็ได้. แต่เมื่อทำอาลัยว่า เราจักค้าง 7 วันต้องถือนิสัย. ถ้าพระเถระ
พูดว่า จะมีประโยชน์อะไรด้วยนิสัยสำหรับผู้ค้าง 7 วัน. เธอเป็นอันได้บริหาร
จำเดิมแต่กาลที่พระเถระห้ามไป.

1. วินย. มหาวคฺค. ทุติย. 264

บทว่า นิสฺสยกรณีโย มีความว่า เราเป็นผู้มีการถือนิสัยเป็นกิจควร
ทำ อธิบายว่า นิสัยอันเราพึงทำ คือ พึงถือ.
สองบทว่า นิสฺสยํ อลกมาเนน มีความว่า เมื่อไม่มีภิกษุผู้ให้นิสัย
ซึ่งเดินทางไปกับคน เธอชื่อว่าย่อมไม่ได้นิสัย อันภิกษุผู้ไม่ได้อย่างนั้น ไม่ต้อง
ถือนิสัยไปได้สิ้นวันแม้มาก ถ้าเข้าไปสู่อาวาสบางตำบลซึ่งตนเคยถือนิสัยอยู่แม้
ในกาลก่อน แม้จะค้างคืนเดียว ก็ต้องถือนิสัย. พักอยู่ในระหว่างทางหรือหา
พวกอยู่ 2 - 3 วัน ไม่เป็นอาบัติ. แต่ภายในพรรษาต้องอยู่ประจำที่ และต้อง
ถือนิสัย. แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไปในเรือ แต่ไม่ได้นิสัยในเมื่อฤาดูฝนแม้
มาแล้ว.
บทว่า ยาจิยมาเนน มีความว่า ผู้อันภิกษุไข้นั้นออกปากขอ ถ้า
ภิกษุไข้แม้เธอบอกว่า ท่านจงออกปากขอกะเรา ดังนี้ แต่ไม่ยอมออกปากขอ
เพราะมานะ เธอพึงไป.
สองบทว่า ผาสุ โหติ มีความว่า ความสำราญ มีด้วยอำนาจแห่ง
การได้เฉพาะซึ่งสมถะและวิปัสสนา. อันที่จริง พระโสดาบัน ย่อมไม่ได้เลย
ซึ่งบริหารนี้ พระสกทาคามีพระอนาคามีและพระอรหันต์ ก็ไม่ได้ บุคคลผู้มี
ปกติได้สมาธิหรือวิปัสสนาอันแก่กล้าแล้ว ย่อมไม่ได้บริหารนี้. อันคำที่จะพึ้ง
กล่าวย่อมไม่มีในพาลปุถุชน ผู้ละเลยกัมมัฏฐานเสียแท้. แต่ว่าสมถะก็ดี วิปัสสนา
ก็ดี ของภิกษุใดแล ยังเป็นคุณชาติอ่อน ภิกษุนี้ย่อมได้บริหารนี้. แม้ปวารณา
สงเคราะห์1 พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงอนุญาตแก่ภิกษุผู้มีสมถะและวิปัสสนายัง
อ่อนนี้เท่านั้น. เพราะเหตุนั้น บุคคลนี้ แม้เมื่ออาจารย์ปวารณาแล้วไปแล้ว
ด้วยล่วง 3 เตือน จะทำความผูกใจว่า เมื่อใค ภิกษุผู้ให้นิสัยซึ่งสมควรจักมา
เมื่อัน้น เราจักอาศัยภิกษุนั้นอยู่ แล้วไม่ถือนิสัยอยู่จนถึงวันอาสาฬหปุณณมี
1. คือทรงอนุญาตให้เลื่อนปวารณาไปทำในวันเพ็ญเตือนกัตติกาหลัง.

ดิถีเพ็ญเตือน 8 อีกก็ควร. แต่ถ้าในอาสาฬหมาส อาจารย์ไม่มา ควรไปในที่
ซึ่งตนจะได้นิสัย.

อรรถกถาเอกานุสสาวนากถา


สองบทว่า โคตฺเตนปิ อนุสฺสาเวตุํ มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุ
ระบุโคตรสวดประกาศอย่างนี้ว่า ผู้มีชื่ออย่างนี้เพ่งอุปสมบทแก่พระมหากัสสปะ.
สองบทว่า เทฺว เอกานุสฺสาวเน มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุ
ทำการสวดประกาศอุปสัมปทาเปกขะ 2 คนรวมกันได้. อธิบายว่า เราอนุณาต
ให้อาจารย์ 2 รูปอย่างนี้ ถือ อาจารย์รูป 1 สำหรับอุปสัมปทาเปกขะคน 1
อาจารย์อื่นสำหรับอุปสัมปทาเปกขะอีกคน 1 หรืออาจารย์รูปเดียวสวดกรรม
วาจาประกาศให้อุปสมบทในขณะเดียวกันได้.
คำว่า เทฺว เทฺว ตโย เอกานุสฺสาวเน กาตุ ตญฺจ โข เอเกน
อุปชฺฌาเยน
มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุทำการสวดประกาศชน 2 คน
หรือ 3 คนรวมกัน โดยนัยก่อนนั่นแล. และเราอนุญาตอนุสสาวนกิริยานั้นแล
ด้วยอุปัชฌาย์รูปเดียว. เพราะเหตุนั้นอุปสัมปทาเปกขะ 2 คน หรือ 3 คน
อันอาจารย์รูปเดียว พึงสวดประกาศ กรรมวาจา 2 หรือ 3 อันอาจารย์ 2 รูป
หรือ 3 รูป พึงสวดด้วยลงมือพร้อมกันทีเดียวอย่างนี้ คือ อาจารย์รูป 1 พึง
สวดแก่อุปสัมปทาเปกขะรูป 1. แยก ๆ กันไป. แต่ถ้าอาจารย์ก็ต่างรูป
อุปัชฌาย์ต่างรูปกัน คือ พระติสสเถระสวดประกาศสัทธิวิหาริกของพระสุมน-
เถระ พระสุมนเถระสวดประกาศสัทธิวิหาริกของพระติสสเถระ และต่างเป็น
คณปูรกะของกันและกัน อย่างนี้ควร. และถ้าอุปัชฌาย์ต่างรูปกัน อาจารย์รูป
เดียว อย่างชื่อว่าไม่ควร เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามไว้ว่า แต่เราไม่
อนุญาตด้วยอุปัชฌาย์ต่างรูปกันเลย ดังนี้ จริงอยู่การห้ามนี้หมายเอาคำบาลีนี้.