เมนู

อุททานคาถา1


[146] พระวินัยมีประโยชน์มาก คือ
นำมาซึ่งความสุขแก่พวกภิกษุ ผู้มีศีลเป็นที่
รัก ข่มพวกที่มีความปรารถนาลามก ยกย่อง
พวกที่มีความละอายและทรงไว้ซึ่งพระ
ศาสนา เป็นอารมณ์ของพระสัพพัญญูชินเจ้า
ไม่เป็นวิสัยของพวกอื่น เป็นแดนเกษม อัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ดีแล้ว ไม่มี
ข้อที่น่าสงสัย ภิกษุผู้ฉลาดในขันธกะ วินัย
บริวาร และมาติกา ปฏิบัติด้วยปัญญาอันหลัก
แหลม ชื่อว่าผู้ทำประโยชน์อันควร ชนใดไม่
รู้จักโค ชนนั้นย่อมรักษาฝูงโคไม่ได้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้น เมื่อไม่รู้จักศีล ไฉนเธอจะพึง
รักษาสังวรไว้ได้ เมื่อพระสุตตันตะ และพระ
อภิธรรมเลอะเลือนไปก่อนแต่พระวินัยยังไม่
เสื่อมสูญ พระศาสนาชื่อว่า ยังตั้งอยู่ต่อไป
เพราะเหตุแห่งการสังคายนานั้น ข้าพเจ้าจัก
ประมวลกล่าวโดยลำดับตามความรู้ ขอท่าน
ทั้งหลายงฟังข้าพเจ้ากล่าว เพื่อจะมิให้ข้อที่
ทำได้ยาก คือวัตถุ นิทาน อาบัติ นัยและ
เปยยาลเหลือลง ขอท่านทั้งหลาย จงทราบ


1. น่าจะเป็นอุทานคาถา.

ข้อนั้นโดยนัยเถิด เรื่องประทับอยู่ ณ ควงไม้
โพธิ์ เรื่องประทับอยู่ ณ ควงไม้อชปาลนิ-
โครธ เรื่องประทับอยู่ ณ ควงไม้ราชายตน-
พฤกษ์ เรื่องท้าวสหัมบดีพรหม เรื่องฤาษี-
อาฬาระ เรื่องฤาษีอุททกะ เรื่องอุปกาชีวก
เรื่องภิกษุปัญจวัดคีย์ คือ โกณฑัญญะ วัปปะ
ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิ เรื่องยสกุลบุตร
เรื่องสทาย 4 คน เรื่องสหาย 50 คน เรื่อง
ส่งพระอรหันต์ทั้งหมดไปในทิศต่าง ๆ เรื่อง
มาร 2 เรื่อง เรื่องภัททวัคคีย์กุมาร 30 เรื่อง
ชฏิล 3 พี่น้อง มีอุรุเวลกัสสปเป็นต้น เรื่อง
โรงบูชาไฟ เรื่องท้าวมหาราช เรื่องท้าว-
สักกะ เรื่องท้าวมหาพรหม เรื่องประชาชน
ชาวอังคะมคธะทั้งหมด เรื่องทรงชักผ้าบัง-
สกุล เรื่องสระโบกขรณี เรื่องศิลา เรื่อง
ต้นกุ่ม เรื่องผึ่งผ้าบังสุกุลที่แผ่นศิลา เรื่อง
ไม้หว้า เรื่องไม้มะม่วง เรื่องไม้มะขามป้อม
เรื่องทรงเก็บดอกไม้ปาริฉัตตกะ เรื่องชฎิล
พวกอุรุเวลกัสสปผ่าฟืน เรื่องติดไฟ เรื่อง
ดับไฟ เรื่องดำน้ำ เรื่องกองไฟ เรื่องฝนตก
เรื่องแม่น้ำคยา เรื่องสวนตาลหนุ่ม เรื่อง
พระเจ้าแผ่นดินมคธ เรื่องอุปติสสะและ

โกลิตะ เรื่องกุลบุตรที่มีชื่อเสียงบวช เรื่อง
ภิกษุนุ่งห่มไม่เรียบร้อย เรื่องประณาม เรื่อง
พราหมณ์ซูบผอมหม่นหมอง เรื่องประ-
พฤติอนาจาร เรื่องบวชเห็นแก่ท้อง เรื่อง
มาณพ เรื่องให้อุปสมบทด้วยคณะ เรื่อง
อุปัชาฌายะมีพรรษาเดียวให้กุลบุตรบวช เรื่อง
อุปัชฌายะเขลา เรื่องอุปัชฌายะหลีกไป เรื่อง
ถือนิสสัยกะอาจารย์มีพรรษา 10 เรื่องอันเตวา
สิกไม่ประพฤติชอบ เรื่องทรงอนุญาตให้
ประณาม เรื่องอาจารย์ให้นิสสัยเขลา เรื่อง
นิสสัยระงับ เรื่องภิกษุประกอบด้วยองค์ 5
เรื่องภิกษุประกอบด้วยองค์ 6 เรื่องภิกษุเคย
เป็นอัญญเดียรถีย์ เรื่องชีเปลือย เรื่องไม่
โกนผม เรื่องชฎิลบูชาไฟ เรื่องอัญญเดียรถีย์
ที่เป็นศากยบวช เรื่องอาพาธ 5 อย่างใน
มคธรัฐ เรื่องราชภัฏบวช เรื่ององคุลิมาลโจร
เรื่องพระเจ้าแผ่นดินมคธมีพระบรมราชา-
นุญาตไว้ เรื่องห้ามบวชนักโทษหนีเรือนจำ
ห้ามบวชนักโทษที่ออกหมายสั่งจับ เรื่อง
ห้ามบวชคนถูกเฆี่ยนมีรอยหวายติดตัว เรื่อง
ห้ามบวชคนถูกอาญาสักหมายโทษ เรื่องห้าม
บวชคนมีหนี้สิน เรื่องห้ามบวชทาส เรื่อง

บุตรชายช่างทอง เรื่องเด็กชายอุบาลี เรื่อง
อหิวาตกโรค เรื่องตระกูลมีศรัทธา เรื่อง
สามเณรกัณฏกะ เรื่องทิศคับแคบ เรื่องถือ
นิสสัย เรื่องเด็กบรรพชา เรื่องสิกขาบท
ของสามเณร เรื่องสามเณรไม่เคารพภิกษุ
เรื่องคำนึงว่าจะลงทัณฑกรรมอย่างไรหนอ
เรื่องลงทัณฑกรรม คือห้ามสังฆารามทุกแห่ง
เรื่องห้ามปาก เรืองไม่บอกพระอุปัชฌายะ
เรื่องเกลี้ยกล่อมสามเณรไว้ใช้ เรื่องสามเณร
กัณฏกะ เรื่องห้ามอุปสมบทบัณเฑาะก์คน
ลักเพศ เรื่องห้ามอุปสมบทคนเข้ารีตเดียรถีย์
เรื่องห้ามอุปสมบทนาค คนฆ่ามารดา คน
ฆ่าบิดา คนฆ่าพระอรหันต์ คนทำร้ายภิกษุณี
ภิกษุผู้ทำสังฆเภท คนทำร้ายพระพุทธเจ้า
จนถึงห้อพระโลหิต อุภโตพยัญชนก เรื่อง
ห้ามอุปสมบทคนไม่มีอุปัชฌายะ คนมีสงฆ์
เป็นอุปัชฌายะ คนมีคณะเป็นอุปัชฌายะ
คนมีบัณเฑาะก์เป็นอุปัชฌายะ เรื่องห้าม
คนไม่มีบาตรคนไม่มีจีวร คนไม่มีบาตรและ
จีวรทั้ง 2 อย่าง เรื่องห้ามอุปสมบทคนยืม
บาตรยืมจีวร ยืมทั้งบาตรและจีวรรวม 3 เรื่อง
ห้ามบรรพชาคนมือด้วน ห้ามบรรพชาคนเท้า

ด้วน ห้ามบรรพชาคนมือเท้าด้วน ห้าม
บรรพชาคนหูขาด ห้ามบรรพชาคนจมูกขาด
ห้ามบรรพชาคนทั้งหูและจมูกขาด ห้าม
บรรพชาคนนิ้วมือนิ้วเท้าขาด ห้ามบรรพชา
คนง่ามมือง่ามเท้าขาด ห้ามบรรพชาคนเอ็น
ขาด ห้ามบรรพชาคนมือเป็นแผ่น ห้าม
บรรพชาคนค่อม ห้ามบรรพชาคนเตี้ย ห้าม
บรรพชาคนคอพอก ห้ามบรรพชาคนถูก
ลงอาญาสักหมายโทษ ห้ามบรรพชาคนถูก
เฆี่ยนมีรอยหวายติดตัว ห้ามบรรพชาคนมี
หมายประกาศจับ ห้ามบรรพชาคนเท้าปุก
ห้ามบรรพชาคนมีโรคเรื้อรัง ห้ามบรรพชา
คนมีรูปร่างไม่สมประกอบ ห้ามบรรพชาคน
ตาบอดข้างเคียว ห้ามบรรพชาคนง่อย ห้าม
บรรพชาคนกระจอก ห้ามบรรพชาคนเป็น
โรคอัมพาต ห้ามบรรพชาคนมีอิริยาบถขาด
ห้ามบรรพชาคนแก่ ห้ามบรรพชาคนตาบอด
2 ข้าง ห้ามบรรพชาคนใบ้ ห้ามบรรพชา
คนหูหนวก ห้ามบรรพชาคนทั้งบอดและใบ้
ห้ามบรรพชาคนทั้งบอดและหนวก ห้าม
บรรพชาคนทั้งใบ้และหนวก ห้ามบรรพชา

คนทั้งบอดใบ้และหนวก เรื่องให้นิสสัยแก่
อลัชชี เรื่องถือนิสสัยต่ออลัชชี เรื่องเดินทาง
ไกล เรื่องขอร้อง เรื่องพิจารณา เรื่องจงมา
สวด เรื่องแย่งกันอุปสมบทก่อน เรื่อง
อุปสมบทมีอุปัชฌายะองค์เดียว เรื่องพระ-
กุมารกัสสป เรื่องอุปสัมบันปรากฏถูกโรค
เบียดเบียน เรื่องอุปสัมปทาเปกขะยังมีได้
สอนซ้อมสะทกสะท้าน เรื่องสอนซ้อมใน
ท่ามกลางสงฆ์นั้นแหละ เรื่องห้ามภิกษุ
เขลาสอนซ้อม ห้ามภิกษุยังไม่ได้รับสมมติ
สอนซ้อม เรื่องผู้สอนซ้อมกับอุปสัมปทา
เปกขะมาพร้อมกัน เรื่องขอจงยกขึ้น เรื่อง
ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา เรื่องบอก
นิสสัย เรื่องละอุปสัมบันไว้แต่ลำพัง เรื่อง
ภิกษุถูกสงฆ์ยกเสีย 3 เรื่อง


รวมเรื่องในขันธกะนี้ 172 เรื่อง
หัวข้อเรื่องในมหาขันธกะ จบ

อรรถกานิสสยคหณกถา


ในคำว่า อลชฺชีนํ นิสฺสาย วสนฺติ นี้:-
บทว่า อลชฺชีนํ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ. ความ
ว่า ภิกษุทั้งหลายพึ่งบุคคลผู้อลัชชีทั้งหลายอยู่.
คำว่า ยาว ภิกฺขูสภาคตํ ชานามิ มีความว่า เราจะทราบความที่
ภิกษุผู้ให้นิสัยเป็นผู้ถูกส่วนกับทั้งหลาย คือ ความเป็นผู้มีละอายเพียงไร.
เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้ถึงฐานะใหม่ แม้อันภิกษุไร ๆ กล่าวว่า ภิกษุ เธอจง
มาถือนิสัย ดังนี้ พึงพิจารณาข้อที่ภิกษุผู้ให้นิสัยเป็นผู้มีความละอาย 4 - 5 วัน
แล้ว จึงค่อยถือนิสัย ถ้าได้ฟังในสำนักแห่งภิกษุทั้งหลายว่า พระเถระเป็น
ลัชชี เป็นผู้ปรารถนาจะถือในวันที่ตนมาทีเดียว ฝ่ายพระเถระกล่าว่า คุณจง
รอก่อน คุณอยู่จักรู้ ดังนี้ แล้วตรวจดูอาจาระเสีย 2 - 3 วันแล้ว จึงให้นิสัย
การทำอย่างนี้ ย่อมควร.
โดยปกติ ภิกษุผู้ไปสู่สถานเป็นที่ถือนิสัย ต้องถือนิสัยในวันนั้นทีเดียว
แม้วันเดียว ก็คุ้มไม่ได้. ถ้าในปฐมยาม อาจารย์ไม่มีโอกาส เมื่อไม่ได้โอกาส
จะนอนด้วยผูกใจไว้ว่า เราจักถือในเวลาใกล้รุ่ง ถึงอรุณขึ้นแล้วไม่รู้ ไม่เป็น
อาบัติ แต่ถ้าไม่ทำความผูกใจว่า เราจักถือ แล้วนอน เป็นทุกกฏในเวลา
อรุณขึ้น.
ภิกษุไปสู่สถานที่ไม่เคยไป ปรารถนาจะค้าง 2 - 3 วันแล้วไปไม่ต้อง
ถือนิสัยอยู่ก็ได้. แต่เมื่อทำอาลัยว่า เราจักค้าง 7 วันต้องถือนิสัย. ถ้าพระเถระ
พูดว่า จะมีประโยชน์อะไรด้วยนิสัยสำหรับผู้ค้าง 7 วัน. เธอเป็นอันได้บริหาร
จำเดิมแต่กาลที่พระเถระห้ามไป.

1. วินย. มหาวคฺค. ทุติย. 264