เมนู

เรื่องภิกษุผู้สงฆ์ยกเสียเป็นต้น


[145] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูป 1 ถูกสงฆ์ยกเสีย ฐานไม่เห็น
อาบัติ ได้สึกแล้ว เขากลับมาขออุปสมบทต่อภิกษุทั้งหลายอีก ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงวิธี
ปฏิบัติ ดังนี้:-

วิธีปฏิบัติในภิกษุผู้ยกเสีย


ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็น
อาบัติ สึกไป เธอกลับมาขออุปสมบทต่อภิกษุทั้งหลายอีก พึงสอบถามเขาเช่นนี้
ว่าเจ้าจักเห็นอาบัตินั้นหรือ ถ้าเขาตอบว่า กระผมจักเห็นขอรับ พึงให้บรรพชา.
ถ้าเขาตอบว่า กระผมจักไม่เห็นขอรับ ไม่พึงให้บรรพชา. ครั้นให้บรรพชา
แล้วพึงถามว่า เจ้าจักเห็นอาบัตินั้นหรือ ถ้าเขาตอบว่า กระผมจักเห็นขอรับ
พึงให้อุปสมบท. ถ้าเขาตอบว่า กระผมจักไม่เห็นขอรับ ไม่พึงให้อุปสนบท.
ครั้นให้อุปสมบทแล้ว พึงถามว่า ท่านจักเห็นอาบัตินั้นหรือ ถ้าเธอตอบว่า
กระผมจักเห็น ขอรับ พึงเรียกเข้าหมู่. ถ้าเธอตอบว่า กระผมจักไม่เห็นขอ
รับ ไม่พึงเรียกเข้าหมู่. ครั้นเรียกเข้าหมู่แล้ว พึงถามว่า ท่านเห็นอาบัตินั้น
หรือ ถ้าเห็นการเห็นได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี. หากไม่เห็น เมื่อได้สามัคคี
พึงยกเสียอีก เมื่อไม่ได้สามัคคี ไม่เป็นอาบัติในพระสมโภคและอยู่ร่วมกัน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ยกเสีย
ฐานไม่ยอมทำคืนอาบัติ สึกไป เธอกลับมาขออุปสมบทต่อภิกษุทั้งหลายอีก
พึงสอบถามเขาเช่นนี้ว่า เจ้าจักทำคืนอาบัตินั้นหรือ ถ้าเขาตอบว่า กระผม
จักทำคืนขอรับ พึงให้บรรพชา. ถ้าเขาตอบว่า กระผมจักไม่ทำคืน ไม่พึงให้
บรรพชา. ครั้นให้บรรพชาแล้ว พึงถามว่า เจ้าจักทำคืนอาบัตินั้นหรือ ถ้า

เขาตอบจักทำคืนขอรับ พึงให้อุปสมบท. ถ้าเขาตอบว่า กระผมจักไม่ทำคือเธอ
รับ ไม่พึงให้อุปสมบท. ครั้นให้อุปสมบทแล้ว พึงถามว่าท่านทำคืนอาบัตินั้น
หรือ ถ้าเธอตอบว่า กระผมจักทำคืนขอรับ พึงเรียกเข้าหมู่. ถ้าเธอตอบว่า
กระผมจักไม่ทำคืนขอรับ ไม่พึงเรียกเข้าหมู่. ครั้นเรียกเข้าหมู่แล้ว พึงกล่าวว่า
จงยอมทำคืนอาบัตินั้นเสีย ถ้าเธอยอมทำคืน การทำคืนได้อย่างนี้ นั่นเป็นการ
ดี. หากไม่ยอมทำคืน เมื่อได้สามัคคี พึงยกเสียอีก เมื่อไม่ได้สามัคคี ไม่
เป็นอาบัติในเพราะสมโภคและอยู่ร่วมกัน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ยกเสียฐาน
ไม่ยอมสละทิฏฐิบาป สึกไป เธอกลับมาขออุปสมบทต่อภิกษุทั้งหลายอีก พึง
สอบถามเขาเช่นนี้ว่า เจ้าจักยอมสละคืนทิฏฐิบาปนั้นหรือ ถ้าเขาตอบว่า กระ
ผมจักยอมสละคืนขอรับ พึงให้บรรพชา. ถ้าเขาตอบว่า กระผมจักไม่ยอมสละ
คืนขอรับ ไม่พึงให้บรรพชา. ครั้นให้บรรพชาแล้ว พึงถามว่า เจ้าจักยอม
สละคืนทิฏฐิบาปนั้นหรือ ถ้าเขาตอบว่า กระผมจักยอมสละคืนขอรับ พึงให้
อุปสมบท. ถ้าเขาตอบว่า กระผมจักไม่ยอมสละคืนขอรับ ไม่พึงให้อุปสมบท.
ครั้น ให้อุปสมบทแล้ว จึงถามว่าท่านยอมสละคืนทิฏฐิบาปนั้น หรือ ถ้าเธอตอบ
ว่า กระผมจักยอมสละคืนขอรับพึงเรียกเข้าหมู่. ถ้าเธอตอบว่า กระผมจักไม่
ยอมสละคืนขอรับ ไม่พึงเรียกเข้าหมู่. ครั้นเรียกเข้าหมู่แล้ว พึงกล่าวว่า จงยอม
สละคืนทิฏฐิบาปนั้น ถ้าเธอยอมสละคืนการยอมสละคืนได้อย่างนี้ นั่นเป็นการ
ดี. ถ้าไม่ยอมสละคืน เมื่อได้สามัคคี พึงยกเสียอีก เมื่อไม่ได้สามัคคี ไม่
เป็นอาบัติในเพราะสมโภคและอยู่ร่วมกัน.

วิธีปฏิบัติในภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสีย จบ
มหาขันธกะที่ 1 จบ

อุททานคาถา1


[146] พระวินัยมีประโยชน์มาก คือ
นำมาซึ่งความสุขแก่พวกภิกษุ ผู้มีศีลเป็นที่
รัก ข่มพวกที่มีความปรารถนาลามก ยกย่อง
พวกที่มีความละอายและทรงไว้ซึ่งพระ
ศาสนา เป็นอารมณ์ของพระสัพพัญญูชินเจ้า
ไม่เป็นวิสัยของพวกอื่น เป็นแดนเกษม อัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ดีแล้ว ไม่มี
ข้อที่น่าสงสัย ภิกษุผู้ฉลาดในขันธกะ วินัย
บริวาร และมาติกา ปฏิบัติด้วยปัญญาอันหลัก
แหลม ชื่อว่าผู้ทำประโยชน์อันควร ชนใดไม่
รู้จักโค ชนนั้นย่อมรักษาฝูงโคไม่ได้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้น เมื่อไม่รู้จักศีล ไฉนเธอจะพึง
รักษาสังวรไว้ได้ เมื่อพระสุตตันตะ และพระ
อภิธรรมเลอะเลือนไปก่อนแต่พระวินัยยังไม่
เสื่อมสูญ พระศาสนาชื่อว่า ยังตั้งอยู่ต่อไป
เพราะเหตุแห่งการสังคายนานั้น ข้าพเจ้าจัก
ประมวลกล่าวโดยลำดับตามความรู้ ขอท่าน
ทั้งหลายงฟังข้าพเจ้ากล่าว เพื่อจะมิให้ข้อที่
ทำได้ยาก คือวัตถุ นิทาน อาบัติ นัยและ
เปยยาลเหลือลง ขอท่านทั้งหลาย จงทราบ


1. น่าจะเป็นอุทานคาถา.