เมนู

อัมพาต . . .ไม่พึงบรรพชาคนมีอิริยาบถขาด . . .ไม่พึงบรรพชาคนชราทุพพล-
ภาพ . . .ไม่พึงบรรพชาคนตาบอดสองข้าง . . . ไม่พึงบรรพชาคนใบ้. . .ไม่พึง
บรรพชาคนหูหนวก. . .ไม่พึงบรรพชาคนทั้งบอดและใบ้. . .ไม่พึงบรรพชาคน
ทั้งบอดและหนวก. . . ไม่พึงบรรพชาคนทั้งใบ้และหนวก. . .ไม่พึงบรรพชาคน
ทั้งบอดใบ้และหนวก รูปใดบรรพชาให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
บุคคลไม่ควรให้บวช 32 จำพวก จบ
ทายัชชภาณวารที่ 9 จบ


อรรถกถาอนุปัชฌายกาทิวัตถุ


หลายบทว่า เตน โข ปน สมเยน มีความว่า โดยสมัยใด สิกขา
บทอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ยังมิได้ทรงบัญญัติแล้ว โดยสมัยนั้น.
บทว่า อนุปัชฌายกํ มีความว่า เว้นจากอุปัชฌาย์ทุก ๆ อย่าง
เพราะไม่ให้ถืออุปัชฌาย์.
กุลบุตรทั้งหลาย ผู้อุปสมบทแล้วอย่างนั้น ย่อมไม่ได้ความสงเคราะห์
โดยธรรม โดยอามิส เขาย่อมเสื่อมเท่านั้น ย่อมไม่เจริญ.
หลายบทว่า น ภิกฺขเว อนุปชฺฌายโก เป็นต้น มีความว่ากุลบุตร
ชื่อผู้ไม่มีอุปัชฌาย์ เพราะไม่ให้ถืออุปัชฌาย์ ไม่พึงให้อุปสมบท. เป็นอาบัติ
แก่ภิกษุผู้ให้อุปสมบทด้วยอาการอย่างนั้น จำเดิมแต่ทรงบัญญัติสิกขาบทว่า
ภิกษุใดพึงให้อุปสมบท ภิกษุนั้นต้องทุกกฏ. ส่วนกรรมหากำเริบไม่. พระ
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า กำเริบ คำของอาจารย์บางพวกนั้น ไม่ควรถือเอา.

แม้ในคำทั้งหลาย มีคำว่า สงฺเฆน อุปชฺฌาเยน เป็นต้น มี
อุภโตพยัญชนกเป็นอุปัชฌาย์เป็นที่สุด ก็นัยนี้แล.
ข้อว่า อปตฺตกา หตฺเถสุ ปิณฺฑาย จรนฺติ มีความว่าภิกษุทั้ง
หลายผู้ไม่มีบาตรย่อมเที่ยวไป เพื่อประโยชน์แก่บิณฑะอันตนจะได้ในมือทั้ง 2
ข้อว่า เสยฺยถาปิ ติตฺถิยา มีความว่า เหมือนพวกเดียรถีย์มีชื่อ
อาชีวก. จริงอยู่ เดียรถีย์เหล่านั้น ย่อมฉันบิณฑะอันตนคลุกด้วยแกงและกับ
ใส่ไว้ในมือทั้ง 2 นั่งเอง.
สองบทว่า อาปตฺต ทุกฺกฏสฺส มีความ ว่า เป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ให้อุปสมบทด้วยอาการอย่างนั้นเท่านั้น. ส่วนกรรมไม่กำเริบแม้ในวัตถุ
ว่าอจีวรกา เป็นต้น ก็นัยนี้แล.
บทว่า ยาจิตเกน มีความว่า ด้วยบาตรเป็นของยืมซึ่งอุปสัมปทา-
เปกขะอ้อนวอนยืมมาว่า ขอท่านจงให้เพียงที่ข้าพเจ้ากระทำการอุปสมบทเถิด
จริงอยู่ ย่อมเป็นอาบัติเฉพาะแก่ภิกษุผู้ให้อุปสมบทด้วยบาตร หรือ
จีวร หรือทั้งบาตรทั้งจีวร เช่นนี้ แต่กรรมไม่กำเริบ.
เพราะเหตุนั้น กุลบุตรผู้มีบาตรจีวรครบเท่านั้น จึงควรให้อุปสมบท
ถ้าของเขาไม่มี และอาจารย์อุปัชฌาย์อยากจะให้เขา หรือภิกษุเหล่าอื่นปรารถนา
จะให้อาจารย์และอุปัชฌาย์ หรือภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่เสียดาย พึงสละให้บาตรและ
จีวรที่ควรอธิษฐานได้. แค่จะให้บรรพชาเปกขะผู้ดังใบไม้เหลืองบวช ด้วย
บาตรและจีวรแม้ที่ยืมมาสมควรอยู่, แม้ถือเอาด้วยวิสาสะในที่แห่งภิกษุผู้เป็น
สภาคกันแล้วให้บวชก็ควร.
แต่ถ้าปัณฑุปลาสนั้น เป็นผู้ถือบาตรที่ยังมิได้ระบมและผ้าที่ควรแก่
จีวรมา, บาตรยังระบมอยู่และจีวรยังกระทำอยู่เพียงใด ควรจะให้อนามัฏฐ-

บิณฑบาตแก่เขาผู้พักอยู่ในวิหารเพียงนั้น. ปัณฑุปลาสนั้นจะบริโภคในบาตร
ก็ควร.
ในเวลาก่อนฉันอาหาร ส่วนแห่งอามิสเท่ากับส่วนของสามเณรอันภิกษุ
ผู้เป็นภัตตุทเทสก์สมควรจะให้.
ส่วนการถือเสนาสนะและภัตต่าง ๆ มีสลากภัต อุทเทสภัตและนิมัน-
ตนภัต เป็นต้น ไม่สมควรให้.
แม้ในเวลาภายหลังอาหาร ส่วนแห่งเภสัชมีน้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำ
อ้อย เป็นต้น เท่ากับส่วนของสามเณร อันภิกษุผู้เป็นภัตตุทเทสก์สมควรจะให้.
ถ้าเขาเป็นไข้ ภิกษุทั้งหลายควรจะทำยาให้เขา และควรทำการปรน
นิบัติทั้งปวงแก่เขา เหมือนทำแก่สามเณร ฉะนี้แล.
อรรถกถาอนุปัชฌายกาทิวัตถุ จบ

อรรถกถาหัตถัจฉินนาทิวัตถุกถา


พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องคนมือด้วนเป็นต้นต่อไป:-
มือข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง ของผู้ใด เป็นอวัยวะขาดไปที่ฝ่ามือก็ดี
ทีข้อมือก็ดี ที่ศอกก็ดี ส่วนใดส่วนหนึ่ง ผู้นั้นชื่อว่าผู้มีมือขาด.
เท้าข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง ของผู้ใด เป็นอวัยวะขาดไปที่ปลายเท้า
ก็ดี ที่ข้อเท้าก็ดี ที่แข้งก็ดี ส่วนใดส่วนหนึ่ง ผู้นั้นชื่อว่า ผู้มีเท้าขาด.
ในมือและเท้าทั้ง 4 โดยประการดังกล่าวแล้วนั้นแล มือและเท้าของ
ผู้ใด 2 หรือ 3 หรือทั้งหมด เป็นอวัยวะขาดไป ผู้นั้นชื่อว่าผู้มีมือและเท้าขาด.
หูของผู้ใด ข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง เป็นอวัยวะขาดไปที่เง่าหูก็ดี ที่