เมนู

อรรถกถาภิกขุนีทูสกาทิวัตถุ


พึงทราบวินิจฉัยในคำนี้ว่า ภิกฺขุนีทูสโก ภิกฺขเว เป็นต้น ดังนี้:-
บุรุษใดประทุษร้ายนางภิกษุณีผู้มีตนเป็นปกติ ในบรรดามรรค 3
มรรคใดมรรคหนึ่ง บุรุษนี้ชื่อภิกชุนีทูสกะ. บรรพชาและอุปสมบทของบุรุษ
นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว. ฝ่ายบุรุษโดยังนางภิกษุณีให้ถึงศีลพินาศ
กายสังสัคคะ บรรพชาและอุปสมบทแห่งบุรุษนั้นไม่ทรงห้าม. แม้บุรุษผู้ทำ
นางภิกษุณีให้นุ่งผ้าขาวแล้ว ประทุษร้ายนางผู้ไม่ยินยอมเลยที่เดียวด้วยพลการ
ชื่อภิกขุนีทูสกะแท้.
ฝ่ายบุรุษผู้ทำนางภิกษุณีให้นุ่งขาวด้วยพลการะแล้ว ประทุษร้ายนาผู้
ยินยอมอยู่ ไม่เป็นผู้ชื่อภิกขุนีทูสกะ.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
แก้ว่า เพราะนางภิกษุณีนั้น ย่อมเป็นผู้มิใช่นางภิกษุณี ในเรื่องความ
เป็นคฤหัสถ์มาตรว่าอันตนยอมรับทีเดียว.
ส่วนบุรุษผู้ประทุษร้ายนางภิกษุณีผู้เสียศีลแล้ว คราวเดียว ในภายหลัง
และปฏิบัติผิดในนางสิกขมานาและสามเณรีทั้งหลาย ไม่จัดว่าภิกขุนีทูสกะ
เหมือนกัน; ย่อมได้ทั้งบรรพชา ทั้งอุปสมบท.
ในคำว่า สงฺฆเภตโก ภิกฺขเว เป็นต้นนี้ มีวินิจฉัยว่า ผู้ใดทำ
พระศาสนาให้เป็นของนอกธรรมนอกวินัย ทำลายสงฆ์ด้วยอำนาจแห่งกรรม 4
อย่างใดอย่างหนึ่ง เหมือนพระเทวทัต, ผู้นี้ชื่อสังฆเภทกะ ผู้ทำลายสงฆ์ บรรพ
ชาและอุปสมบทแห่งบุคคลนั้นทรงห้าม.

พึงทราบวินิจฉัยแม้ในคำนี้ว่า โลหิตุปฺปาทโก ภิกฺขเว เป็นต้น
ดังนี้:-
ผู้ใดมีจิตประทุษร้ายติดฆ่า ยังพระโลหิตในพระสรีระซึ่งยิ่งเป็นอยู่ของ
พระตถาคตเจ้า แม้พอที่แมลงวันเล็ก ๆ จะดื่มได้ให้ห้อขึ้นเหมือนพระเทวทัต
ผู้นี้ชื่อผู้ทำโลหิตุปบาท. บรรพชาเละอุปสมบทแห่งบุคคลนั้นทรงห้าม.
ส่วนผู้ใดใช้มีดผ่าตัดเอาเนื้อเสียและโลหิตออกทำให้ทรงสำราญเหมือน
หมอชีวกได้ทำเพื่อให้พระโรคสงบไป ผู้นั้นย่อมประสบบุญมากฉะนี้.

อรรถกถาภิกษุนีขนีทูสกาทิวัตถุ จบ

เรื่องห้ามอุปสมบทอุภโตพยัญชนก


[132] ก็โดยสมัยนั้นแล อุภโตพยัญชนกคนหนึ่งได้บวชในสำนัก
ภิกษุ เธอเสพเมถุนธรรมในสตรีทั้งหลาย ด้วยปุริสนิมิตของตนบ้าง ให้บุรุษ
อื่นเสพเมถุนธรรมในอิตถีนิมิตของตนบ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบันคือ อุภโตพยัญชนก ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่
อุปสมบทแล้ว ต้องให้สึกเสีย.

อรรถกถาอุภโตพยัญชนกวัตถุ


บทว่า อุภโตพฺยญฺชนโก มีอรรถวิเคราะห์ว่า นิมิตเครื่องปรากฏ
ที่ตั้งขึ้น โดยกรรม 2 อย่าง คือ โดยกรรมเป็นเหตุยังอิตถีนิมิตให้เกิดขึ้น 1
โดยกรรมเป็นเหตุยังปุริสนิมิตให้เกิดขึ้น 1 ของบุคคลนั้นมีอยู่ เหตุนั้น เขา
ชื่ออุภโตพยัญชนก.
บทว่า กโรติ มีความว่า ย่อมทำตนเองด้วยความละเมิดด้วยอำนาจ
เมถุนในสตรีทั้งหลาย ด้วยปุริสนิมิต.
บทว่า การาเปติ มีความว่า ย่อมชวนบุรุษอื่นให้ทำความละเมิด
ด้วยอำนาจเมถุน ในอิตถีนิมิตของตน.
อุภโตพยัญชนกนั้น มี 2 ชนิด คือ สตรีอุภโตพยัญชนก 1. บุรุษ-
อุภโตพยัญชนก 1.