เมนู

อรรถกถาติรัจฉานคตวัตถุกถา


พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า นาคโยนิยา อฏฺฏิยติ นี้ ดังนี้:-
นาคนั้น ในประวัติกาล ย่อมได้เสวยอิสริยสมบัติเช่นกับเทพสมบัติ
ด้วยกุศลวิบากแม้โดยแท้. ถึงกระนั้น สรีระแห่งนาค ผู้ปฏิสนธิด้วยอกุศล
วิบาก มีปกติเที่ยวไปในน้ำ มีกบเป็นอาหารย่อมมีปรากฏ ด้วยการเสพเมถุน
กับนางนาคชาติของตน คือมีชาติเสมอกัน และด้วยการวางใจหยั่งลงสู่ความหลับ
เพราะเหตุนั้น นาคนั้นจึงระอาด้วยกำเนิดนาคนั้น.
บทว่า หรายติ ได้แก่ ย่อมละอาย.
บทว่า ชิดุจฺฉติ คือ ย่อมเกลียดชังอัตภาพ
หลายบทว่า ตสฺส ภิกฺขุโน นิกฺขนฺเต มีความว่า เมื่อภิกษุนั้น
ออกไปแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ในเวลาที่ภิกษุนั้นออกไป.
ข้อว่า วิสฺสฏฺโฐ นิทฺทํ โอกฺกมิ มีความว่า เมื่อภิกษุนั้นยัง
ไม่ออก นาคนั้น ไม่ปล่อยสติหลับอยู่ด้วยอำนาจแห่งความหลับอย่างลิงนั่นแล
เพราะกลัวแต่เสียงร้อง ครั้นภิกษุนั้นออกไปแล้ว จึงปล่อยสติ วางใจ คือ
หมดความระแวง คำเนินไปสู่ความหลับอย่างเต็มที่.
สองบทว่า วิสฺสรมกาสิ มีความว่า ภิกษุนั้น ด้วยอำนาจความกลัว
ละสมณสัญญาเสีย ได้กระทำเสียงดังผิดรูป.
สองบทว่า ตุมฺเห ขฺวตฺถ ตัดบทว่า ตุมฺเห โข อตฺถ บทนั้น
ท่านมิได้ทำการลบ อักษรกล่าวไว้. ความสังเขปในคำนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบ
ดังนี้ว่า ท่านทั้งหลายแล เป็นนาค ชื่อเป็นผู้มีธรรมไม่งอกงาม คือ ไม่เป็น

ผู้มีธรรมอันงอกงามในธรรมวินัยนี้ เพราะเป็นผู้ไม่ควรแก่ฌานวิปัสสนาและ
มรรคผล.
บทว่า สชาติยา ได้แก่ นางนาคนั่นเอง. แต่ว่า เมื่อใดนาคนั้น
เสพเมถุนด้วยชาติอื่น ต่างโดยชนิดมีหญิงมนุษย์เป็นต้น เมื่อนั้นย่อมเป็น
เหมือนเทพบุตร. ส่วนคำว่า ปัจจัย 2 อย่างในพระบาลีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสแล้ว ด้วยอำนาจแห่งการชี้กรรมซึ่งปรากฏตามสภาพเนือง ๆ ในประวัติกาล.
และกรรมซึ่งปรากฏตามสภาพ ย่อมมีแก่นาคใน 5 กาล คือ เวลาปฏิสนธิ 1
เวลาที่ลอกคราบ 1 เวลาที่เสพเมถุนด้วยนางนาคชาติของตน คือมีชาติเสมอ
กัน 1 เวลาที่วางใจหยั่งลงสู่ความหลับ 1 เวลาจุติ 1.
ในคำว่า ติรจฺฉานคโต ภิกฺขเว เป็นต้นนี้ มีวินิจฉัยว่าจะเป็น
นาค หรือจะเป็นสัตว์พิเศษผู้ใดผู้หนึ่งมีสุบรรณมาณพเป็นต้น ก็ตามที. ผู้ใด
ผู้หนึ่ง ซึ่งมิใช่มนุษยชาติโดยที่สุดแม้ท้าวสักกเทวราช บรรดามีทั้งหมด
เทียว พึงทราบว่า เป็นดิรัจฉาน ในอรรถนี้ ผู้นั้นอันภิกษุทั้งหลายไม่ควร
ให้อุปสมบท ไม่ควรให้บรรพชา แม้อุปสมบทแล้ว ก็ควรให้ฉิบหายเสีย.

ติรัจฉานคตวัตถุ จบ

เรื่องห้ามคนฆ่ามารดามิให้อุปสมบท


[128] ก็โดยสมัยนั้นแล มาณพผู้หนึ่งปลงชีวิตมารดาเสีย เขาอึดอัด
ระอารังเกียจบาปกรรมอันนั้น และได้มีความดำริว่า ด้วยวิธีอะไร นอ เราจึง
จะทำการออกจากบาปกรรมอันนี้ได้ จึงหวนระลึกนึกขึ้นได้ว่า พระสมณะเชื้อ
สายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นผู้ประพฤติธรรม พระพฤติสงบ ประพฤติ
พรหมจรรย์ กล่าวแต่คำสัตย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม ถ้าเราจะพึงบวชในสำนัก
พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรด้วยวิธีเช่นนี้ เราก็จะทำการออกจากบาปกรรม
อันนี้ได้ ต่อมาเขาเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วขอบรรพชา ภิกษุทั้งหลายได้แจ้ง
ความนี้ต่อท่านพระอุบาลีว่า อาวุโสอุบาลี เมื่อครั้งก่อนแล นาคแปลงกายเป็น
ชายหนุ่มเข้ามาบวช ในสำนักภิกษุ อาวุโสอุบาลี นิมนต์ท่านไต่สวนมาณพ
คนนี้ ครั้นมาณพนั้น ถูกท่านพระอุบาลีไต่สวนอยู่ จึงแจ้งเรื่องนั้น ท่าน
พระอุบาลีได้แจ้งให้พวกภิกษุทราบ แล้วภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้พระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุ-
ปสัมบันคือ คนฆ่ามารดา ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว ต้องให้สึกเสีย.

เรื่องห้ามคนฆ่าบิดามิให้อุปสมบท


[129] ก็โดยสมัยนั้นแล มาณพผู้หนึ่งปลงชีวิตบิดาเสีย เขาอืดอัด
ระอารังเกียจบาปกรรมอันนั้น และได้มีความดำริว่า ด้วยวิธีอะไรหนอ เราจึง
จะทำการออกจากบาปกรรมอันนี้ได้ จึงหวนระลึกนึกขึ้นได้ว่า พระสมณะเธอ
สายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ ประพฤติพรหม-
จรรย์ กล่าวแต่คำสัตย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม ถ้าเราจะพึงบวชในสำนักพระ
สมณะเชื้อสายศากยบุตร ด้วยวิธีเช่นนี้ เราก็จะทำการออกจากบาปกรรมอันนี้