เมนู

เรื่องนาคแปลงกายเป็นมนุษย์มาบวช


[127] ก็โดยสมัยนั้นแล นาคตัวหนึ่งอึดอัดระอา เกลียดกำเนิดนาค
จึงนาคนั้นได้มีความดำริว่า ด้วยวิธีอะไรหนอ เราจึงจะพ้นจากกำเนิดนาค
และกลับได้อัตภาพเป็นมนุษย์เร็วพลัน ครั้นแล้วได้ดำริต่อไปว่า พระสมณะ
เชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้แล เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ พระพฤติ
พรหมจรรย์ กล่าวแต่คำสัตย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม หากเราจะพึงบวชใน
สำนักพระสมณะ เชื้อสายพระศากยบุตร ด้วยวิธีเช่นนี้ เราก็จะพ้นจากกำเนิด
นาค และกลับได้อัตภาพเป็นมนุษย์เร็วพลัน ครั้นแล้วนาคนั้นจึงแปลงกายเป็น
ชายหนุ่ม แล้วเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายขอบรรพชา ภิกษุทั้งหลายจึงให้เขาบรรพชา .
อุปสมบท สมัยต่อมา พระนาคนั้นอาศัยอยู่ในวิหารสุดเขตกับภิกษุรูป 1
ครั้นปัจจุสสมัยแห่งราตรีภิกษุรูปนั้น ตื่นนอนแล้วออกไปเดินจงกรมอยู่ใน
ที่แจ้ง ครั้นภิกษุรูปนั้นออกไปแล้ว พระนาคนั้นก็วางใจจำวัด วิหารทั้งหลัง
เต็มไปด้วยงู ขนดยื่นออกไปทางหน้าต่าง ครั้นภิกษุรูปนั้นผลักบานประตูด้วย
ทั้งใจจักเข้าวิหาร ได้เห็นวิหารทั้งหลังเต็มไปด้วยงู เห็นขนดยื่นออกไปทาง
หน้าต่าง ก็ตกใจ จึงร้องเอะอะขึ้น.
ภิกษุทั้งหลายพากัน วิ่งเข้าไปแล้วได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า อาวุโส ท่าน
ร้องเอะอะไปทำไม.
ภิกษุรูปนั้นบอกว่า อาวุโสทั้งหลาย วิหารนี้ทั้งหลังเต็มไปด้วยงู
ขนดยื่นออกไปทางหน้าต่าง.
ขณะนั้นพระนาคนั้น ได้ตื่นขึ้นเพราะเสียงนั้น แล้วนั่งอยู่บนอาสนะ
ของตน.

ภิกษุทั้งหลายถามว่า อาวุโส ท่านเป็นใคร ?
น. ผมเป็นนาค ขอรับ.
ภิ. อาวุโส ท่านได้ทำเช่นนี้ เพื่อประสงค์อะไร ?
พระนาคนั้นจึงแจ้งเนื้อความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายกราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุ
เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วได้ทรงประทานพระพุทโธวาทนี้
แก่นาคนั้นว่า พวกเจ้าเป็นนาค มีความไม่งอกงามในธรรมวินัยนี้ เป็นธรรมดา
ไปเถิดเจ้านาค จงไปรักษาอุโบสถในวันที่ 14 ที่ 15 และที่ 8 แห่งปักษ์
นั้นแหละ ด้วยวิธีนี้เจ้าจักพ้นจากกำเนิดนาค และจักกลับได้อัตภาพเป็นมนุษย์
เร็วพลัน ครั้นนาคนั้นได้ทราบว่า คนมีความไม่งอกงามในพระธรรมวินัยนี้
เป็นธรรมดา ก็เสียใจหลั่งน้ำตา ส่งเสียงดังแล้วหลีกไป.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เหตุแห่งความปรากฏตามสภาพของนาค มี 2 ประการนี้ คือ เวลา
เสพเมถุนธรรมกับนางนาค ผู้มีชาติเสมอกัน 1 เวลาวางใจนอนหลับ 1 ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งความปรากฏตามสภาพของนาค 2 ประการนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ สัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุไม่พึงให้
อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว ต้องให้สึกเสีย.

อรรถกถาติรัจฉานคตวัตถุกถา


พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า นาคโยนิยา อฏฺฏิยติ นี้ ดังนี้:-
นาคนั้น ในประวัติกาล ย่อมได้เสวยอิสริยสมบัติเช่นกับเทพสมบัติ
ด้วยกุศลวิบากแม้โดยแท้. ถึงกระนั้น สรีระแห่งนาค ผู้ปฏิสนธิด้วยอกุศล
วิบาก มีปกติเที่ยวไปในน้ำ มีกบเป็นอาหารย่อมมีปรากฏ ด้วยการเสพเมถุน
กับนางนาคชาติของตน คือมีชาติเสมอกัน และด้วยการวางใจหยั่งลงสู่ความหลับ
เพราะเหตุนั้น นาคนั้นจึงระอาด้วยกำเนิดนาคนั้น.
บทว่า หรายติ ได้แก่ ย่อมละอาย.
บทว่า ชิดุจฺฉติ คือ ย่อมเกลียดชังอัตภาพ
หลายบทว่า ตสฺส ภิกฺขุโน นิกฺขนฺเต มีความว่า เมื่อภิกษุนั้น
ออกไปแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ในเวลาที่ภิกษุนั้นออกไป.
ข้อว่า วิสฺสฏฺโฐ นิทฺทํ โอกฺกมิ มีความว่า เมื่อภิกษุนั้นยัง
ไม่ออก นาคนั้น ไม่ปล่อยสติหลับอยู่ด้วยอำนาจแห่งความหลับอย่างลิงนั่นแล
เพราะกลัวแต่เสียงร้อง ครั้นภิกษุนั้นออกไปแล้ว จึงปล่อยสติ วางใจ คือ
หมดความระแวง คำเนินไปสู่ความหลับอย่างเต็มที่.
สองบทว่า วิสฺสรมกาสิ มีความว่า ภิกษุนั้น ด้วยอำนาจความกลัว
ละสมณสัญญาเสีย ได้กระทำเสียงดังผิดรูป.
สองบทว่า ตุมฺเห ขฺวตฺถ ตัดบทว่า ตุมฺเห โข อตฺถ บทนั้น
ท่านมิได้ทำการลบ อักษรกล่าวไว้. ความสังเขปในคำนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบ
ดังนี้ว่า ท่านทั้งหลายแล เป็นนาค ชื่อเป็นผู้มีธรรมไม่งอกงาม คือ ไม่เป็น