เมนู

อรรถกถาติตถิยาปักกันตกถา


พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ติตฺถิยปกฺกนฺโต ภิกฺขเว เป็นต้นนี้
ดังนี้:-
กุลบุตรที่ชื่อว่าเข้ารีตเดียรถีย์ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่าหลีกไป คือ
ไปเข้าพวกเดียรถีย์. กุลบุตรนั้นไม่ควรให้อุปสมบทอย่างเดียว แต่ที่แท้ไม่ควร
ให้บรรพชาด้วยฉะนั้นแล.
วินิจฉัยในคำนั้น พึงทราบดังต่อไปนี้:-
อุปสัมบันภิกษุคิดว่า เราจักเป็นเดียรถีย์ แล้วไปสู่สำนักแห่งเดียรถีย์
เหล่านั้น ทั้งเพศทีเดียว เป็นอาบัติทุกกฏทุก ๆ ย่างเท้า, เมื่อเพศแห่งเดียรถีย์
นั้น สักว่าอันตนถือเอาแล้ว ย่อมจัดว่าเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์.
แม้ภิกษุคิดว่า เราจักเป็นเดียรถีย์เอาเอง จึงนุ่งคากรองเป็นต้น
ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้ข้ารีตเดียรถีย์เหมือนกัน.
ฝ่ายภิกษุใดเมื่อเปลือยกายอาบน้ำแลดูตนว่า การที่เราเป็นอาชีวกจะ
งามหรือ เราจะเป็นอาชีวกละ ดังนี้แล้ว ไม่ถือเอาผ้ากาสายะ คงเปลือยกาย
ไปสู่สำนักพวกอาชีวก ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ ย่างเท้า. แต่ถ้าใน
ระหว่างทาง หิริโอตตัปปะเกิดขึ้นแก่เธอ เธอแสดงอาบัติทุกกฏแล้ว ย่อมพ้น.
แม้ไปถึงสำนักพวกอาชีวกเหล่านั้นแล้ว ถูกพวกเขาตักเตือน หรือแม้
เห็นว่า บรรพชาของชนพวกนี้ เป็นทุกข์ยิ่งนัก แล้วกลับด้วยตนเอง ย่อมพ้น
ได้เหมือนกัน.
อนึ่ง ถ้าเธอถามว่า อะไรเป็นสูงสุดแห่งบรรพชาของพวกท่าน ?
อันเขาตอบว่า การถอนผมและหนวดเป็นต้น แล้วให้ถอนแม้ผมเส้นเดียว