เมนู

7. เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นที่เป็น
ข้าศึก.
8 เว้นจากการทัดทรงตกแต่งด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องลูบไล้
อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว.
9. เว้นจากที่นั่งและที่นอนอันสูงและใหญ่.
10. เว้นจากการรับทองและเงิน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสิกขาบท 10 นี้ แก่สามเณรทั้งหลาย
และให้สามเณรทั้งหลายศึกษาในสิกขาบท 10 นี้.

อรรถกถาราหุลวัตถุกถา


ในคำว่า เยน กปิลวตฺถุ เตน จาริกํ ปกฺกามิ นี้ พึงทราบ
อนุปุพพีกถา ดังต่อไปนี้:-
ได้ยินว่า จำเดิมแต่วันที่พระโพธิสัตว์เสด็จออกอภิเนษกรมณ์พระเจ้า
สุทโธทนมหาราชทรงเงี่ยพระโสตคอยสดับข่าวอยู่เที่ยวว่า ลูกเราออกไปด้วย
หมายใจว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าแล้วหรือยังหนอ ? ท้าวเธอ
ทรงสดับการบำเพ็ญเพียร ความตรัสรู้เองและ พุทธกิจทั้งหลายมียังธรรมจักร
ให้เป็นไปเป็นต้น ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงสดับว่า ได้ยินว่าบัดนี้ ลูก
เราอาศัยกรุงราชคฤห์อยู่ จึงดำรัสสั่งอำมาตย์คนหนึ่งว่า เราแก่เฒ่าแล้วนะพ่อ
ดีละ เจ้าจงแสดงบุตรแก่เราทั้งที่ยังเป็นอยู่ เขารับสาธุแล้ว มีบุรุษพันคนเป็น
บริวาร ไปสู่กรุงราชคฤห์ ถวายบังคมพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมกถาแก่เขา เขาเลื่อมใสทูลขอบรรพชา

และอุปสมบทที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าให้เขาอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา
ภิกษุนั้นกับทั้งบริษัทบรรลุพระอรหัตแล้ว ได้อยู่เสวยสุขเกิดแก่ผลาสมาบัติในที่
นั้นเอง. พระราชาทรงส่งทูตแม้อื่นไปอีก 8 คนโดยอุบายนั้นแล. แม้ทูตเหล่า
นั้นทั้งหมดกับทั้งบริษัท ได้เสด็จออกจากกรุงราชคฤห์หลีกจาริก ไปอย่างไม่
รีบเร่ง ด้วยทรงทำในพระหฤทัยว่า เราเมื่อเดินทางวันละโยชน์ 2 เดือนจักถึง
กรุงกบิลพัสดุ์ ซึ่งมีระยะทาง 60 โยชน์จากกรุงราชคฤห์.
เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า เยน กปิลวตฺถุ
เตน จาริกํ ปกฺกามิ
ดังนี้. ก็แลครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไป
แล้วอย่างนั้น พระอุทายีเถระกระทำภัตกิจในพระนิเวศน์ของพระเจ้าสุทโธทน-
มหาราช จำเดิมแต่วันพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออก. พระราชาทรงอังคาสพระ
เถระแล้วทรงเจิมบาตรด้วยกระแจะบรรจุพระกระยาหารอย่างสูงสุดจนเต็ม มอบ
ถวายในมือพระเถระว่า ท่านจักถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้พระเถระย่อม
ทำตามรับสั่งทั้งนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยบิณฑบาตของพระราชาเท่านั้น
ในระหว่างมรรคา ด้วยประการฉะนี้.
ฝ่ายพระเถระในเวลาเสร็จภัตกิจทุกวัน ได้ทูลพระราชาว่าวันนี้พระผู้มี
พระภาคเจ้าเสด็จมาเท่านี้ และได้ปลูกความเชื่อในพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เกิดขึ้น
แก่เจ้าศากยะทั้งหลาย ด้วยกถาปฏิสังยุตด้วยพุทธคุณ.
เพราะเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งท่านไว้ในเอตทัคคสถาน
ว่า ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุทั้งหลายผู้ยังสกุลให้เลื่อมใส ซึ่งเป็นสาวกของ
เรา กาฬุทายีเป็นเยี่ยม ดังนี้1
ฝ่ายเจ้าศากยะเล่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่เสด็จถึง จึงมุ่งพระ-
หฤทัยว่า เราทั้งหลายจักเฝ้าพระญาติอันประเสริฐของพวกเรา จึงประชุมกัน

1. องฺ. เอก. 20/149.

เมื่อเลือกหาที่เสด็จอยู่สำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดว่า อารามของสักกะ
ชื่อนี้โครธ น่ารื่นรมย์ จึงให้ทำปฏิชัคคนวิธีทั้งปวงในอารามนั้น มีของหอม
และดอกไม้ในมือ เมื่อจะทำการต้อนรับ ได้ส่งเด็กชายและเด็กหญิงชาว
พระนครรุ่นหนุ่มรุ่นสาว ประดับด้วยอลังการทุกอย่างไปก่อน ถัดจากนั้น ส่ง
ราชกุมารและราชกุมารีทั้งหลายไป แล้วไปเองในลำดับแห่งเหล่าราชกุมารและ
ราชกุมารีเหล่านั้น บูชาด้วยสักการะมีดอกไม้และจุณเป็นต้น ได้เชิญเสด็จ
พระผู้มีพระภาคเจ้าไปสู่นิโครธารามทีเดียว.
พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระขีณาสพ 2 หมื่นแวดล้อม ประทับบนบวร
พุทธอาสน์ที่เขาทั้งเตรียมไว้ในนิโครธารามนั้น. พวกศากยราชเป็นคนเจ้ามานะ
ถือตัวจัดนัก. พวกศากยราชเหล่านั้น ทรงดำริว่าสิทธัตถกุมาร ยังหนุ่มเด็ก
กว่าพวกเรา เป็นพระกนิฏฐะ เป็นพระภาคิไนย เป็นพระโอรส เป็นพระ
นัดดาแห่งพวกเรา จึงรับสั่งกะราชกุมารหนุ่ม ๆ ว่า พวกเธอจงบังคับ พวก
ฉันจักนั่งข้างหลังพวกเธอ. ครั้นเมื่อศากยราชเหล่านั้น ประทับนั่งอย่างนั้นแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเล็งดูอัธยาศัยของพวกเธอ แล้วทรงคำนึงว่า พวกพระ
ญาติไม่ยอมไหว้เรา เอาเถิดบัดนี้ เราจักให้พระญาติเหล่านั้นไหว้ ดังนี้แล้ว
ทรงเข้าจตุตถฌานเป็นบาทแห่งอภิญญา ออกแล้วเหาะขึ้นสู่อากาศด้วยพระฤทธิ์
ได้ทรงทำปาฏิหาริย์คล้ายยมกปาฏิหาริย์ที่ควงแห่งคัณฑามพฤกษ์ ราวกะว่าทรง
โปรยธุลีที่พระบาทลงบนเศียรแห่งพระญาติเหล่านั้น.
พระราชาทรงเห็นอัศจรรย์นั้น จึงตรัสว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมือพระองค์ซึ่งพระพี่เลี้ยงนำเข้าไปเพื่อไหว้พราหมณ์ในวันมงคล หม่อมฉัน
แม้ได้เห็นพระบาทของพระองค์ ไพล่ไปประดิษฐานบนกระหม่อมของพราหมณ์
จึงบังคมพระองค์ นี้เป็นปฐมวันทนาของหม่อมฉัน. ในวันวัปมงคล เมื่อ

พระองค์บรรทมบนพระที่อันมีสิริที่เงาไม้หว้า หม่อมฉันเห็นเงาไม้หว้ามิได้
คล้อยตามไป จึงบังคมพระบาท นี้เป็นทุติยวันทนาของหม่อมฉัน บัดนี้ หม่อม
ฉัน แม้ได้เห็นปาฏิหาริย์ซึ่งยังไม่เคยเห็นนี้ ขอถวายบังคมพระบาทของพระองค์
นี้เป็นตติยวันทนาของหม่อมฉัน.
ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าอันพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ถวายบังคม
แล้ว แม้ศากยะองค์หนึ่ง ซึ่งชื่อไม่ถวายบังคม มิได้มี, ได้ถวายบังคมหมด
ทั้งนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยังพระญาติทั้งหลายให้ถวายบังคมแล้วเสด็จ
ลงจากอากาศ ประทับบนพระอาสน์ที่เขาแต่งตั้งไว้. ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับนั่งแล้ว พระญาติสมาคม ได้เป็นผู้ถึงที่สุด คือหมดมานะ พระญาติ
ทั้งปวงมีพระหฤทัยแน่วแน่ นั่งประชุมกันแล้ว.
ลำดับนั้น มหาเมฆหลั่งฝนโบกขรพรรษให้ตกลงมา. น้ำมีสีแดง
หลั่ง1ไหลไปภายใต้ น้ำแม้หยาดหนึ่งจะตกลงบนสรีระของใคร ๆ ก็หาไม่. พระ
ญาติทั้งปวงทรงเห็นเหตุนั้นแล้ว ได้เป็นผู้เกิดความอัศจรรย์หลากใจ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ฝนโบกขรพรรษตกในญาติสมาคมของเรา
ในกาลนี้เท่านั้นหามิได้ ถึงในอดีตกาล ก็ได้ตกแล้วดังนี้ แล้วตรัสเวสสันตร-
ชาดก2 เพราะเกิดเหตุนี้ขึ้น.
พระญาติทั้งปวง สดับพระธรรมเทศนาแล้ว เสด็จลุกขึ้นถวายบังคม
ทำประทักษิณแล้วหลีกไป. แม้บุคคลผู้หนึ่ง คือ พระราชาหรือราชมหาอำมาตย์
ที่จะทูลว่า พรุ่งนี้ ขอพระองค์ทรงรับภิกษาของข้าพเจ้า แล้วจึงไป มิได้มี.

1. วิรวนฺตํ คจฺฉติ.
1. ขุ. ชา. 28/1045

ในวันที่ 2 พระผู้มีพระภาคเจ้ามีภิกษุ 2 หมื่นเป็นบริวาร เสด็จ
เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงกบิลพัสดุ์. ใคร ๆ จะลุกรับแล้วนิมนต์ หรือได้รับบาตร
หามิได้. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนอยู่ที่เสาอินทขีล2 ทรงนึกว่า พระพุทธ
เจ้าทั้งหลายในกาลก่อน เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในนครแห่งสกุลอย่างไรหนอ ?
ได้เสด็จไปสู่เรือนของเหล่าอิสรชนโดยผิดลำดับหรือ หรือว่าเสด็จเที่ยวจาริกไป
ตามลำดับตรอก.
ลำดับนั้น ไม่ได้ทรงเห็นการไปผิดลำดับแม้แห่งพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง
จึงทรงรำพึงว่า บัดนี้ วงศ์นี้และประเพณีนี้ แม้เราก็ควรยกย่อง และต่อไป
ถึงสาวกทั้งหลายของเรา เมื่อสำเหนียกตามเราจักยังบิณฑจาริยวัตรให้เต็มได้
แล้วเสด็จเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกจำเติมแต่เรือนที่เสด็จเข้าไปครั้ง
สุดท้าย.
มหาชนได้ฟังข่าวว่า ได้ยินว่า พระเจ้าสิทธัตถกุมาร เสด็จเที่ยว
บิณฑบาต จึงเปิดหน้าต่างในปราสาทสี่ชั้นเป็นต้น ได้เป็นผู้กุลีกุจอเพื่อจะเห็น.
ฝ่ายพระเทวี ผู้มารดาพระราหุล ทรงจินตนาว่า ได้ยินว่า พระลูกเจ้า
เสด็จเที่ยวไปด้วยพระยานมีสุวรรณสีวิกาเป็นต้น ด้วยพระราชานุภาพใหญ่ ใน
พระนครนนี้นี่แล บัดนี้ ทรงปลงพระเกสา และพระมัสสุเสีย ทรงผ้ากาสาวพัสตร์
มีกระเบื้องในพระหัตถ์ เสด็จเที่ยวบิณฑบาต. พระองค์จะทรงงดงามไหมหนอ
หรือว่าไม่ทรงงดงาม. จึงทรงเปิดพระสีหบัญชรทอดพระเนตร ทรงเห็นพระผู้
มีพระภาคเจ้า ซึ่งงามสง่าด้วยพระพุทธสิริ ทรงยังนครวิถีทั้งหลายให้โอภาส
ด้วยพระสรีระรัศมีอันรุ่งเรื่องด้วยรัศมีนานา จึงทรงชมพระโฉม จำเดิมแต่
พระอุณหิสจนถึงฝ่าพระบาทด้วย 8 คาถา อันมีนามว่า นรสีหคาถา แล้ว

2. หลักที่ปักไว้กลางประตู สำหรับกันบานประทั้งสองข้างในเวลาปิด.

เสด็จไปเฝ้าพระราชา กราบบังคมทูลแด่พระราชาว่า พระลูกเจ้าของฝ่าพระบาท
เสด็จเที่ยวบิณฑบาต. พระราชาทรงสดับข่าวนั้น ทรงสลดพระหฤทัย พลาง
ทรงจัดพระภูษาให้รัดกุมด้วยพระหัตถ์ รีบด่วนเสด็จออกไปโดยเร็ว ประทับ
เบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลว่า พระเจ้าข้า ทำไมจึงทรงยังหม่อมฉัน
ให้ได้อายเล่า พระองค์เสด็จเที่ยวบิณฑบาตเพื่อประโยชน์อะไร ? พระองค์ได้
เป็นผู้มีความสำคัญอย่างนี้ว่า ภิกษุมีประมาณเท่านี้ ไม่อาจได้ภัตหรือ ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มหาบพิตร การเที่ยวบิณฑบาตนี้เป็น
จารีตสำหรับวงศ์ของอาตมภาพ.
พระราชาทูลถามว่า พระเจ้าข้า ขึ้นชื่อว่ามหาสมมติขัตติยวงศ์ เป็น
วงศ์ของพวกเรามิใช่หรือ ? ก็แลในขัตติยวงศ์นั้น แม้กษัตริย์องค์หนึ่ง ชื่อผู้
เที่ยวภิกษาย่อมไม่มี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสนองว่า มหาบพิตร ชื่อว่าราชวงศ์ เป็นวงศ์
ของมหาบพิตร แต่ขึ้นชื่อว่าพุทธวงศ์ เป็นวงศ์ของอาตมภาพ พระพุทธเจ้า
ทุก ๆ พระองค์เทียว ได้เป็นผู้เสด็จเที่ยวบิณฑบาตดังนี้ คงประทับยืนในท้อง
ถนนเทียว ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า:-
บุคคลไม่พึงประมาทในบิณฑบาต
อันคนพึงลุกยืนรับ พึงประพฤติธรรมให้เป็น
สุจริต ด้วยว่า ผู้มีปกติประพฤติธรรม ย่อม
อยู่เป็นสุข ตั้งในโลกนี้และโลกอื่น.1

พระราชาได้ทรงทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ในกาลที่จบแห่งพระคาถาและได้
ทรงสดับพระคาถานี้ว่า:-

1. ขุ. ธ. 25/23.

บุคคลพึงประพฤติธรรมให้เป็นสุจริต
ไม่พึงประพฤติธรรมนั้นให้เป็นทุจริต ด้วยว่า
ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข ทั้งในโลก
นี้และโลกอื่น.1

ดังนี้แล้ว ทรงประดิษฐานในสกทาคามิผล ได้ทรงสดับธรรมปาลชาดก2 แล้ว
ทรงประดิษฐานในอนาคามิผล ในมรณสมัย เสด็จบรรทมบนพระที่อันมีสิริ
ภายใต้แห่งเศวตฉัตรนั่นแล จึงทรงบรรลุพระอรหัต. กิจที่จะต้องหมั่นประกอบ
ความเพียรในอรัญวาสมิได้มีแก่พระราชา. ก็แลท้าวเธอทรงทำให้แจ้งซึ่งโสดา
ปัตติผลนั่นแล จึงทรงรับบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เชิญเสด็จพระผู้มี
พระภาคเจ้ากับทั้งบริษัทขึ้นสู่พระมหาปราสาท ทรงอังคาสด้วยขาทนียโภชนียะ
อันประณีต.
ในเวลาเสร็จภัตกิจ นางสนมกำนัลทั้งปวง เว้นพระมารดาพระราหุล
ได้มาถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ส่วนพระนางนั้น แม้อันชนบริวารทูลว่า
ขอพระแม่เจ้าจงเสด็จไปถวายบังคมพระลูกเจ้า ได้รับสั่งว่า ถ้าความดีของเรา
มีอยู่ พระลูกเจ้าจักเสด็จมาเองทีเดียว เราจักถวายบังคมพระองค์ผู้เสด็จมาแล้ว
ดังนี้ มิได้เสด็จไป.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยังพระราชาให้ถือบาตรแล้ว พร้อมด้วยพระ
อัคคสาวกทั้ง 2 เสด็จไปสู่ห้องอันมีสิริของพระราชธิดา ตรัสว่า พระราชธิดา
จงไหว้ตามชอบ อย่าพึงว่ากล่าวอย่างไรเลย แล้วประทับบนพระที่นั่งอันเขา
แต่งตั้งไว้. พระนางเสด็จมาโดยเร็ว ทรงจับที่ข้อพระบาทกลิ้งเกลือกพระเศียร
บนหลังพระบาทถวายบังคมตามพระอัธยาศัย.

1. ขุ. ธ. 25/23. 2. ขุ. ชา. ทสก. 27/1410.

พระราชาทูลถึงคุณสมบัติ มีพระสิเนหาและความนับถือมากในพระผู้มี
พระภาคเจ้า ของพระราชธิดา.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มหาบพิตร ยังไม่อัศจรรย์ ข้อที่พระ
ราชธิดาซึ่งพระบรมบพิตรทรงปกครองอยู่ จึงรักษาพระองค์ไว้ได้ในเมื่อพระ
ญาณแก่กล้าแล้วในบัดนี้ แต่ก่อน เธอหาผู้ปกครองมิได้ เที่ยวไปแทบเชิง
บรรพต รักษาพระองค์ไว้ได้ในเมื่อพระญาณยังไม่แก่กล้า ดังนี้แล้ว ตรัส
จันทกินรีชาดก1.
วันนั้นเอง พระนันทราชกุมาร มีมหามงคล 5 อย่าง คือ แก้พระ
เกศา2 ผูกพระสุพรรณบัฏ3 ฆรมงคล4 อาวาหมงคล ฉัทรมงคล.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยังพระนันทกุมารให้ถือบาตรแล้วตรัส มงคล
เสด็จลุกจากพระที่นั่งหลีกไป.
ครั้งนั้น นางชนบทกัลยาณี เห็นพระกุมารกำลังเสด็จไป จึงทูลว่า
ข้าแต่พระลูกเจ้า พระองค์รีบเร่งเสด็จกลับมา แล้วชะเง้อคอแลดู. แม้พระ-
นันทกุมารนั้น เมื่อไม่อาจทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระองค์ทรงรับบาตร
เถิด จึงต้องเสด็จไปถึงวัดที่อยู่ทีเดียว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังพระนันทกุมารนั้น ผู้ไม่ทรงปรารถนาเลย
ให้ผนวช. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาสู่กบิลบุรี ยังพระนันทกุมารให้ผนวชใน
วันที่ 2 ด้วยประการฉะนี้.

1. ขุ. ชา. 27/1883. ในที่อื่นเรียกว่าจันทกินนรชาดก.
2. เกสวิสชฺชนนฺติ กุลมริยาทวเสน เกโสโรปนนฺติ สารตฺถทีปนี. ราชโมลิพนฺธนตฺถํกุมารกาเล
พนฺธิตสิขาเวณิโมจนํ ตํ กิร กโรนฺตา มงฺคลํ กโรนฺตีติ วิมติวิโนทนี. 3. ปฏฺฏพนฺโธติ
ยุวราชปฏฺฏพนฺโธติ สารตฺถ. อสุกราชาติ นลาเฎ สุวณฺณปฏฺฎพนฺธนนฺติ. วิมติ 4. อภินวฆรป
เวสนมโห ฆรมงฺคลนฺติ สารตฺถ. อภินวปาสาทปฺปเวสมงฺคลํ ฆรมงฺคลนฺติ วิมติ.

ในวันที่ 7 พระราหุลมารดา ทรงแต่งพระกุมารส่งไปสู่สำนัก พระผู้มี
พระภาคเจ้าด้วยทรงสั่งว่า นี่แน่ะพ่อ เจ้าจงเห็นสมณะนั่น ผู้มีพรรณดั่งทองคำ
มีพระรูปพรรณคั่งพรหม มีสมณะสองหมื่นแวดล้อม พระสมณะนี้ เป็นพระ-
บิดาของเจ้า พระสมณะนั้นได้มีขุมทรัพย์ใหญ่ จำเดิมแต่เวลาที่ท่านเสด็จออก
ไปแม่มิได้เห็น ไปเถิดเจ้าจงทูลขอเป็นทายาทกับท่านว่า ข้าแด่พระบิดาเจ้า
หม่อมฉันเป็นกุมาร จักยกฉัตรแล้ว เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ. หม่อมฉันต้อง
การทรัพย์ โปรดประทานทรัพย์แก่หม่อมฉันเถิด เพราะว่าบุตรย่อมเป็นเจ้า
ของทรัพย์ของบิดา.
พระกุมารพอเสด็จไปสู่สำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็กลับได้ความรัก
พระบิดา มีพระหฤทัยรื่นเริงยินดีทูลว่า พระสมณเจ้า พระฉายาของพระองค์
นำสุขมา แล้วได้ยืนรับสั่งถ้อยคำซึ่งสมควรแก่ตนเป็นอันมาก แม้อื่น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเสร็จภัตกิจแล้ว กระทำอนุโมทนา เสด็จลุก
จากพระที่นั่งหลีกไป.
ฝ่ายพระกุมารได้ทรงติดตามทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระสมณเจ้า
ขอพระองค์ประทานทรัพย์มฤดกแก่หม่อมฉันเถิด, พระสมณเจ้า ขอพระองค์
ประทานทรัพย์มฤดกแก่หม่อมฉันเถิด.
เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวคำว่า อนุปุพฺเพน
จาริกญฺจรมาโน เยน กปิลวตฺถุ ฯ เป ฯ ทายชฺชํ เม สมณ เทหิ

ดังนี้.
ข้อว่า อถโข ภควา อายสฺมนตํ สารีปุตฺตํ อามนฺเตสิ มีความ
ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงยังพระกุมารให้กลับแล้ว ทั้งบริวารชนก็ไม่
สามารถเพื่อจะยังพระกุมารผู้เสด็จไปกับพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เสด็จกลับได้.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปพระอาราม แล้วทรงดำริว่า
ราหุลนี้ปรารถนาทรัพย์ของบิดาอันใด ทรัพย์อันนั้นเนื่องด้วยวัฏฎะเป็นไปกับ
ด้วยความคับแค้น เอาเถิด เราจะให้อริยทรัพย์ 7 ประการซึ่งเราได้แล้วที่
โพธิมัณฑ์แก่เธอ จักทำเธอให้เป็นเจ้าของมฤดก อันเป็นโลกุตตระ ดังนี้แล้ว
รับสั่งหาท่านพระสารีบุตรมา.
ก็แลครั้นรับสั่งหาแล้วตรัสว่า สารีบุตร ถ้ากระนั้น ท่านจงยังราหุล
กุมารให้บวชเถิด. อธิบายว่า ราหุลกุมารนี้ขอทรัพย์มฤดก เพราะเหตุนั้น
ท่านจงยังราหุลกุมารนั้นให้บวช เพื่อได้เฉพาะซึ่งทรัพย์มฤดกอันเป็นโลกุต-
ตระ. บรรพชาและอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์นั้นใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอนุญาตที่กรุงพาราณสี บรรดาบรรพชาและอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์นั้น
ทรงห้ามอุปสมบท ทรงยกไว้ในความเป็นของหนัก คือเป็นกิจสลักสำคัญ แล้ว
จึงทรงอนุญาตอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม. ส่วนบรรพชามิได้ทรงห้ามเลย
แต่ก็มิได้ทรงอนุญาตอีก เพราะเหตุนั้น ความสงสัยจักเกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลาย
ในอนาคตว่า ชื่อว่าบรรพชานี้ เช่นกับด้วยอุปสมบทในกาลก่อน. แม้ในบัดนี้
บรรพชาอันเราทั้งหลายพึงกระทำด้วยกรรมวาจานั่นเอง เหมือนอุปสมบทหรือ
หนอแล หรือว่า พึงทำด้วยไตรสรณคมน์ ดังนี้. ก็แลพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงทราบความนี้แล้วใคร่จะทรงอนุญาตสามเณรบรรพชาด้วยไตรสรณคมน์อีก
เพราะเหตุนั้นพระธรรมเสนาบดีทราบพระอัธยาศัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า ใคร่
จะยังพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงอนุญาตบรรพชาอีก จึงทูลว่า ข้าพระองค์จะ
ยังพระราหุลกุมารให้ผนวชอย่างไร พระเจ้าข้า ?
ข้อว่า อถโข อายสฺมา สารปุตฺโต ราหุลกุมาร. ปพฺพาเชสิ มี
ความว่า พระมหาโมคคัลลานเถระปลงพระเกศาของพระกุมารแล้วถวายผ้า
กาสายะ พระสารีบุตรได้ถวายสรณะ. พระมหากัสสปเถระได้เป็นโอวาทาจารย์

ก็บรรพชาและอุปสมบทมีอุปัชฌาย์เป็นมูล อุปัชฌาย์เท่านั้นเป็นใหญ่ ใน
บรรพชาและอุปสมบทนั้น อาจารย์ไม่เป็นใหญ่ เพราะเหตุนั้น พระธรรม
สังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล พระสารีบุตรผู้มีอายุ ยังพระราหุล
กุมารให้ผนวชแล้ว ดังนี้. ด้วยประการอย่างนี้ คำทั้งปวงอันผู้ศึกษาพึงกล่าวว่า
ครั้งนั้นแล พระเจ้าสุทโธทนผู้ศากยราช ทรงเกิดความสลดพระหฤทัย เพราะ
ทรงสดับว่า พระกุมารผนวชแล้ว ในเมื่อเขากล่าวว่า ข้าพเจ้าขอพร ดังนี้
โดยไม่ระบุอย่าง คำว่า จงขอ เป็นคำไม่สมควรแก่บรรพชิตผู้เลี้ยงชีวิตด้วย
อุญฉาจริยา1 ทั้งพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ไม่ทรงประพฤติ เพราะเหตุนั้น พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ในพระบาลีนั้นว่า มหาบพิตรผู้โคตมะ พระตถาคต
ทั้งหลาย ทรงเลิกพรเสียแล้วแล.
ข้อว่า ยญฺจ ภนฺเต กปฺปติ ยญฺจ อนวชฺชํ มีความว่าพรใด
สมควรที่พระองค์จะประทานได้ด้วย เป็นพรหาโทษมิได้ด้วย คือเป็นพรอัน
วิญญูชนทั้งหลายไม่พึงครหา เพราะกิริยาที่รับของหม่อมฉัน เป็นปัจจัยด้วย
หม่อมฉันขอพรนั้น.
ข้อว่า ตถา นนฺเท อธิมตฺตํ ราทุเล มีความว่า ได้ยินว่าโหรทั้ง
หลายได้ทำนายพระโพธิสัตว์ในวันมงคลว่า จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ฉันใด
เล่า ได้ทำนายทั้งพระนันทะทั้งพระราหุลในวันมงคลว่า จักเป็นพระเจ้าจักร-
พรรดิ ฉันนั้น. ครั้งนั้นพระราชาทรงเกิดพระอุตสาหะว่า เราจักชมจักรพรรดิ-
สิริของบุตร ได้ทรงถึงความหมดหวังอย่างใหญ่หลวง เพราะพระผู้มีพระภาค-
เจ้าทรงผนวชเสีย. จึงทรงยังพระอุตสาหะให้เกิดว่า เราจักชมจักรพรรดิติสิริ
ของพ่อนันทะ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังพระนันทะแม้นั้นให้ผนวชแล้ว. ท้าว
เธอทรงอดกลั้นทุกข์แม้นั้น เสียได้ ทรงยังพระอุตสาหะให้เกิดว่า บัดนี้เราจัก
ได้ชมจักรพรรดิสิริของพ่อราหุล ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยัง

1. ขอทานเลี้ยงชีพ

พระราหุลนั้นให้ผนวชเสียอีก. เพราะฉะนั้น ความทุกข์จึงได้เกิดแก่ท้าวเธอ
ยิ่งนักว่า บัดนี้แม้กุลวงศ์ขาดสายเสียแล้ว จักรพรรดิสิริจักมีมาแต่ไหนเล่า.
เพราะเหตุนั้น พระเจ้าสุทโธทนผู้ศากยราชจึงทูลว่า ตถา นนฺเท อธมตฺตํ รา-
หุเล
ดังนี้. ส่วนการบรรลุอนาคามิผลของพระราชาผู้ศึกษาพึงทราบว่า ภายหลัง
แต่กาลที่พระราหุลผนวชนี้. เหตุไร พระราชาจึงตรัสคำนี้ว่า สาธุ ภนฺเต อยฺยา
เป็นต้น. ได้ยินว่า ท้าวเธอทรงดำริว่า แม้ว่าเราเป็นพุทธมามกะ ธัมมมามกะ
สังฆมามกะ ก็จริงหรอก แต่เมื่อบุตรซึ่งบิดาของตนให้บวชเสีย ก็ไม่สามารถจะ
อดกลั้นญาติวิโยคทุกข์ได้. ชนเหล่าอื่น จักอดกลั้นได้อย่างไร ในเมื่อบุตรและ
นัดดาทั้งหลายของตนบวช เพราะเหตุนั้น ท้าวเธอจึงตรัสคำนี้ด้วยทรงทำพระ-
หฤทัยว่า ทุกข์เห็นปานนี้ก่อน อย่าได้มีแม้แก่ชนเหล่าอื่นเลย. พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงกระทำธรรมกถาว่า พระราชาตรัสเหตุเป็นเครื่องนำออกในศาสนา
แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุทั้งหลาย บุตรที่มารดาบิดาไม่อนุญาต ไม่
ควรให้บวช ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาตาปิตูหิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
หมายเอาชนนีและชนก. ถ้ามีทั้ง 2 ต้องลาทั้ง 2. ถ้าบิดาหรือมารดาตายเสีย
แล้ว ผู้ใดยังเป็นอยู่ ต้องลาผู้นั้น. มารดาบิดาแม้บวชแล้ว ก็ควรลาแท้.
ภิกษุเมื่อจะบอกลา ตนพึงไปบอกลาเองก็ได้ ส่งคนอื่นไปแทนก็ได้ ส่งกุลบุตร
นั้นแหละไปว่า ท่านจงไปลามารดาบิดาแล้ว จงมา ดังนี้ก็ได้. ถ้ากุลบุตร
นั้นบอกว่า ผมเป็นผู้อันมารดาบิดาอนุญาตแล้ว เมื่อเชื่อพึงให้บวช บิดาบวช
เองแล้ว เป็นผู้ใคร่จะให้บุตรบวชบ้าง จงบอกเล่ามารดาแล้วจึงให้บวช. หรือ
ว่ามารดาใคร่จะให้ธิดาบวช จงบอกเล่าบิดาก่อนแล้ว จึงให้บวช. บิดาไม่มี
ความใยดีด้วยบุตรภริยา หนีไปเสีย มารดามอบบุตรแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ขอท่าน
ทั้งหลายให้บุรุษนี้บวชเถิด เมื่อภิกษุกล่าวว่า บิดาของเขาไปไหน ? เขาบอก

ว่า หนีไปเพื่อเล่นในจิตตเกลี1 เสียแล้ว สมควรให้บุรุษนั้นบวชได้ มารดา
หนีไปกับชายบางคนเสีย. ฝ่ายบิดานอบให้ว่า ขอท่านทั้งหลายจงให้บวชเถิด.
แม้ในบุตรนี้ ก็นัยนั้น. ในอรรถกถาชื่อกุรุนทีแก้ว่า บิดาหย่าร้างไปแล้ว
มารดาอนุญาตว่า ท่านจงบวชลูกของดิฉันเถิด เมื่อภิกษุกล่าวว่า บิดาของเขา
ไปไหน ? เขากล่าวว่า ท่านจะต้องการอะไรด้วยบิดาเล่า ดิฉันจักทราบ ดังนี้;
ควรให้บวชได้. มารดาบิดาตาย ทารกเจริญในสำนักญาติทั้งหลายมีน้าหญิง
เป็นต้น ครั้นเมื่อทารกนั้นอันภิกษุให้บวช ญาติทั้งหลายอาศัยทารกนั้นแล้ว
จะก่อการทะเลาะหรือพากันติเตียน; เพราะเหตุนั้น เพื่อตัดการวิวาทเสีย ภิกษุ
พึงบอกเล่าเสียก่อน จึงให้บวช. แต่เมื่อไม่บอกเล่าก่อนให้บวช ก็ไม่มีอาบัติ.
ชนผู้รับมาเลี้ยงในเวลาที่ยังเป็นเด็กย่อม ก็จัดเป็นมารดาบิดาได้. แม้ในมารดา
บิดาชนิดนั้น ก็มีนัยเหมือนกัน. บุตรอาศัยตน คือภิกษุ เป็นอยู่ ไม่ได้อาศัย
มารดาบิดา. ถ้าแม้บุตรนั้นเป็นพระราชา ภิกษุก็ต้องบอกเล่ามารดาบิดาก่อน
จึงให้บวช. บุตรทีมารดาบิดาอนุญาตบวชแล้วกลับสึก. ถ้าแม้เขาบวชแล้วสึก
ตั้ง 7 ครั้ง ภิกษุควรถามแล้วถามอีกในเวลาที่เขามาแล้ว ๆ จึงให้บวช. ถ้า
มารดาบิดากล่าวอย่างนี้ว่า ลูกคนนี้สึกแล้วมาเรือน ไม่ทำการงานของเรา เขา
บวชแล้ว จะไม่ยังวัตรของท่านทั้งหลายให้เต็ม กิจที่จะต้องบอกลาสำหรับลูกคน
นี้ ไม่มี ท่านทั้งหลายพึงยังเขาซึ่งมาแล้วให้บวชเถิด ดังนี้ แม้จะไม่ลาอีกยัง
กุลบุตรที่มารดาบิดาทอดทิ้งแล้ว อย่างนี้ให้บวช ก็ควร. แม้บุตรใดอันมารดา
บิดามอบให้ในเวลาที่ยังเด็กทีเดียวอย่างนี้ว่า เด็กนี้ข้าพเจ้าถวายท่าน ท่านพึง
ให้บวชในเวลาที่ท่านปรารถนาเถิด ดังนี้ แม้บุตรนั้น มาแล้ว ๆ ภิกษุพึง
บอกเล่าอีกเทียว จึงให้บวช. ส่วนบุตรใดมารดาบิดาอนุญาตในเวลาที่ตนยัง
เด็กอยู่ทีเดียวว่า ท่านเจ้าข้า ท่านพึงยังเด็กนี้ให้บวชเถิด ภายหลังในเวลาที่

1. การเล่นต่าง ๆ ซึ่งทำให้ใจเพลิดเพลิน.

เด็กถึงความเจริญ กลับไม่อนุญาต. บุตรนี้นั้นภิกษุยังไม่ได้บอกเล่ามารดา-
บิดาไม่พึงให้บวช. บุตรคนเดียวเทียวไปกับมารดาบิดามากล่าวว่า ขอท่านจง
ให้ข้าพเจ้าบวชเถิด. และเขาอันภิกษุกล่าวว่า ท่านจงบอกลาแล้วจงมา จึง
กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ไป ถ้าท่านไม่ไห้ข้าพเจ้าบวช ข้าพเจ้าจะเผาวิหารเสีย
หรือจะประหารพวกท่านด้วยศัสตรา; หรือจะก่อความฉิบทาย ด้วยผลาญสวน
เป็นต้น ของญาติและอุปัฏฐากทั้งหลายของพวกท่าน; หรือว่าข้าพเจ้าจะตก
ต้นไม้ตาย; หรือจะเข้าไปยังท่ามกลางโจร; หรือจะไปประเทศอื่น ดังนี้.
สมควรให้เขาบวช เพื่อต้องการรักษาชีวิตไว้เท่านั้น. และถ้ามารดาบิดาของเขา
มาพูดว่า เหตุไรจึงให้บุตรของเราบวช ? ภิกษุพึงบอกเนื้อความนั้นแก่เขา
ทั้งหลายแล้วพึงกล่าวว่า ฉันให้เขาบวชก็เพื่อจะป้องกันไว้ ท่านทั้งหลายจง
สอบสวนบุตรดูเถิด. อนึ่งสมควรแท้ที่จะบวชให้คนซึ่งคิดว่า เราจะตกต้นไม้
แล้ว ขึ้นไปปล่อยมือและเท้าเสีย บุตรคนเดียวไปต่างประเทศแล้วขอบวช. ถ้า
เขาลาแล้ว จึงไปพึงให้บวชได้. ถ้าไม่ได้ลา พึงส่งภิกษุหนุ่มไปให้บอกลาแล้ว
จึงให้บวช. ถ้าต่างประเทศนั้นเป็นที่ไกลยิ่งนัก. แม้จะไห้บวชแล้วส่งไปแสดง
พร้อมกับภิกษุทั้งหลายก็ควร. แต่ในอรรถกถาชื่อกุรุนทีแก้ว่า ถ้าต่างประเทศ
เป็นสถานไกลด้วย ทางกันดารมาด้วยจะให้บวชด้วยผูกใจว่า เราจักไปบอกเล่า
ดังนี้ ก็ควร. แต่ถ้ามารดาบิดามีบุตรมาก และเขากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า
บรรดาเด็กเหล่านี้ ท่านปรารถนาจะให้คนใดบวช พึงให้คนนั้นบวชเถิด ภิกษุ
พึงตรวจดูเด็กทั้งหลายแล้วปรารถนาคนใด พึงให้คนนั้นบวช ถ้าแม้สกุลหรือ
บ้านทั้งสิ้นอนุญาตไว้ว่า ท่านเจ้าข้า ในสกุลหรือในบ้านนี้ ท่านปรารถนาจะ
ให้ผู้ใดบวช พึงให้ผู้นั้นบวชเถิด ดังนี้. ภิกษุปรารถนาผู้ใด พึงให้ผู้นั้น
บวชได้.

อรรถกถาราหุลวัตถุกถา จบ

เรื่องลงทัณฑกรรมแก่สามเณร


[121] ก็โดยสมัยนั้นแล พวกสามเณรไม่มีความเคารพ ไม่มีความ
ยำเกรง มีความพระพฤติไม่เหมาะสม ในภิกษุทั้งหลายอยู่ ภิกษุทั้งหลายจึง
เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพวกสามเณรจึงได้ไม่มีความเคารพ ไม่
มีความยำเกรง มีความประพฤติไม่เหมาะสมในภิกษุทั้งหลายอยู่เล่า แล้ว
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้ลงทัณฑกรรมแก่สามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ 5 คือ:-
1. พยายามเพื่อความเสื่อมลาภแห่งภิกษุทั้งหลาย.
2. พยายามเพื่อความพินาศแห่งภิกษุทั้งหลาย.
3. พยายามเพื่อความอยู่ไม่ได้แห่งภิกษุทั้งหลาย.
4. ด่า บริภาษ ภิกษุทั้งหลาย
5. ยุยงภิกษุต่อภิกษุให้แตกกัน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรมแก่สามเณรผู้ประ-
กอบด้วยองค์ 5 นี้แล.
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความดำริว่า จะพึงลงทัณฑกรรมอย่างไร
หนอแล ? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า
รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรม คือ
ห้ามปราม.
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายลงทัณฑกรรมคือห้ามสังฆารามทุกแห่ง
แก่พวกสามเณร สามเณรเขาอารามไม่ได้ จึงหลีกไปเสียบ้าง สึกเสียบ้าง ไป
เข้ารีตเดียรถีย์บ้าง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.