เมนู

บิดากับบุตรในสกุลนี้ ก็พ้นแล้วด้วยประการอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น พระธรรม
สังคาหกาจารย์จึงกล่าวคำว่า บิดากับบุตรยังเหลืออยู่ ดังนี้ .
บทว่า กากุฑฺฑปกํ มีความว่า เด็กใดถือก้อนดินด้วยมือซ้ายนั่งแล้ว
อาจเพื่อจะไล่กาทั้งหลายซึ่งพากันมาให้บินหนีไปแล้วบริโภคอาหารซึ่งวางไว้ข้าง
หน้าได้ เด็กนี้จัดว่าผู้ไล่กาไป จะให้เด็กนั้นบวช ก็ควร.
อรรถกถากากุฑเฑปกวัตถุ จบ

เรื่องถือนิสัย


[115] ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ในพระนครราช-
คฤห์นั้นแล ตลอดฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูร้อน คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษติเตียน
โพนทะนาว่า ทิศทั้งหลาย คับแคบมืดมนแก่พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร
ทิศทั้งหลายไม่ปรากฏแก่พระสมณะพวกนี้ ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่ง
โทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดู
ก่อนอานนท์เธอจงไปไขดาลบอกภิกษุทั้งหลายในบริเวณวิหารว่า อาวุโสทั้ง
หลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารถนาจะเสด็จจาริกทักขิณาคีรีชนบท ท่าน
ผู้ใดมีความประสงค์ท่านผู้นั้นจงมา.
ท่านพระอานนท์รับสนองพระพุทธบัญชาแล้ว ไขดาลแจ้งแก่ภิกษุทั้ง
หลายในบริเวณวิหารว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารถนาจะ
เสด็จจาริกทักขิณาคีรีชนบท ท่านผู้ใดมีความประสงค์ ท่านผู้นั้นจงมา.
ภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส อานนท์ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติให้ภิกษุถือนิสัยอยู่ตลอด 10 พรรษา และให้ภิกษุมีพรรษาได้ 10
ให้นิสัย พวกผมจักต้องไปในทักขิณาคีรีนั้น จักต้องถือนิสัยด้วย จักพักอยู่
เพียงเล็กน้อยก็ต้องกลับมาอีก และจักต้องกลับถือนิสัยอีก ถ้าพระอาจารย์ ของ
พวกผมไป แม้พวกผมก็จักไป หากท่านไม่ไป แม้พวกผมก็จักไม่ไป อาวุโส
อานนท์ ความที่พวกผมมีใจเบาจักปรากฏ.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกทักขิณาคีรีชนบท กับภิกษุสงฆ์
มีจำนวนน้อย ครั้นพระองค์เสด็จอยู่ ณ ทักขิณาคีรีชนบทตามพระพุทธาภิรมย์
แล้ว เสด็จกลับมาสู่พระนครราชคฤห์อีกตามเติม และพระองค์ตรัสเรียกท่าน
พระอานนท์มาสอบถามว่า ดูก่อนอานนท์ ตถาคตจาริกทักขิณาคีรีชนบท กับ
ภิกษุสงฆ์มีจำนวนน้อย เพราะเหตุไร จึงท่านพระอานนท์กราบทูลความเรื่อง
นั้นให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ.

พระพุทธานุญาตให้ถือสัย


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้า
มูลนั้นในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ ถือนิสัยอยู่ 5 พรรษา
และให้ภิกษุผู้ไม่ฉลาดถือนิสัยอยู่ตลอดชีวิต.

องค์ 5 แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสัย


[116] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 จะไม่ถือนิสัย
อยู่ ไม่ได้ คือ:-
1. ไม่ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ.
2. ไม่ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ.
3. ไม่ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอะเสขะ.
4. ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติ อันเป็นของพระอเสขะ และ
5. ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล จะไม่ถือนิสัย
อยู่ ไม่ได้.