เมนู

ลำคับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้บวชเด็กชายมีอายุหย่อน 15 ปี แต่สามารถไล่กาได้.

เรื่องสามเณรของท่านพระอุปนนท์


[114] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระอุปนนทศากยบุตรมีสามเณรอยู่ 2
รูปคือสามเณรกัณฏกะ 1 สามเณรมหกะ 1 เธอทั้งสองประทุษร้ายกันและกัน
ภิกษุทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนสามเณรทั้งสองจึงได้
ประพฤติอนาจารเห็นปานนั้นเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
รูปเดียวไม่พึงให้สามเณร 2 รูปอุปัฏฐาก รูปใดให้อุปัฏฐาก ต้องอาบัติทุกกฏ.

อรรถกถาภัณฑุกัมมกถา


บทว่า กมฺมากณฺฑุ ได้แก่ลูกช่างทอง ซึ่งมีศีรษะโล้นไว้แหยม
มีคำอธิบายว่า เด็นรุ่นมีผม 5 แหยม.1
ข้อว่า สงฺฆํ อปโลเกตุํ ภณฺฑิกมฺมาย มีความว่า เราอนุญาต
ให้ภิกษุบอกเล่าสงฆ์เพื่อประโยชน์แก่ภัณฑุกรรม. อาปุจฉนวิธี ในภัณฑุ-
กรรมาธิการนั้น ดังนี้ . พึงนิมนต์ภิกษุทั้งหลายผู้นับเนืองในสีมาให้ประชุมกัน
แล้ว นำบรรพชาเปกขะไปในสีมานั้นแล้ว บอก 3 ครั้งหรือ 2 ครั้ง หรือ
ครั้งเดียว ว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าบอกภัณฑุกรรมของเด็กนี้กะสงฆ์. อนึ่ง
ในอธิการว่าด้วยการปลงผมนี้ จะบอกว่า ข้าพเจ้าบอกภัณฑุกรรมของเด็กนี้
ดังนี้ก็ดี ว่า ข้าพเจ้าบอกสมณกรณ์ของทารกนี้ ดังนี้ก็ดี ว่า ทารกนี้อยากบวช

1. ตามนัยโยชนา ภาค 2 หน้า 202 ควรจะแปลว่า บทว่า กมมารภณฺฑุ ได้แก่ชายศีรษะโล้น
ลูกนายช่างทอง มีคำอธิบายว่า เด็กรุ่นบุตรนายช่างทอง มีผมอยู่ 5 แหยม. (ตุลาธาโร ก็คือ
สุวณฺณกาโร). ส่วนปาฐะว่า กมฺมารภณฺฑุ ในพระบาลีนั้น แปลเอาความว่า บุตรนายช่างทอง
ศีรษะโล้น (วินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม 4 หน้า 156).

ดังนี้ก็ดี ควรทั้งนั้น. ถ้าสถานแห่งภิกษุผู้เป็นสภาคกันมีอยู่ คือโอกาสเป็นที่
กำหนดปรากฏว่า ภิกษุ 10 รูปหรือ 20 หรือ 30 รูป อยู่ด้วยกัน จะไปสู่
โอกาสที่ภิกษุเหล่านั้นยืนแล้ว หรือโอกาสที่นั่งแล้วบอกเล่าโดยนัยก่อนนั้นเอง
ก็ได้. แม้จะวานพวกภิกษุหนุ่มหรือเหล่า สามเณรแต่เว้นบรรพชาเปกขะเสีย
ให้บอกโดยนัยเป็นต้นว่า ท่านเจ้าข้า มีบรรพชาเปกขะอยู่คนหนึ่ง พวกผม
บอกภัณฑุกรรมของเขา ดังนี้ ก็ควร ถ้าภิกษุบางพวกเข้าสู่เสนาสนะ หรือพุ่ม
ไม้เป็นต้น หลับอยู่ก็ดี ทำสมณธรรมอยู่ก็ดี ฝ่ายภิกษุสามเณรผู้บอกเล่า แม้
เที่ยวตามหาก็ไม่พบ จึงมีความสำคัญว่า เราบอกหมดทุกรูปแล้ว ขึ้นชื่อว่า
บรรพชาเป็นกรรมเบา เพราะเหตุนั้น บรรพชาเปกขะนั้นบวชแล้ว เป็นอัน
บวชด้วยดีแท้ ไม่เป็นอาบัติแม้เก่อุปัชฌย์ผู้ให้บวช. แต่ถ้าวัดที่อยู่ใหญ่เป็น
ที่อยู่ของภิกษุหลายพัน ถึงจะนิมนต์ก็ภิกษุทั้งหมดให้ประชุมก็ทำได้ยาก ไม่จำ
ต้องกล่าวถึงบอกเล่าตามลำดับ ต้องอยู่ในขัณฑสีมา หรือไปสู่แม้น้ำ หรือ
ทะเลเป็นต้นแล้วจึงให้บวช. ฝ่ายผู้ใดเป็นคนโกนผมใหม่ หรือสึกออกไป
หรือเป็นคนใดคนหนึ่ง ในพวกนักบวชมีนิสครนถ์เป็นต้น มีผมเพียง 2 องคุลี
หรือหย่อนกว่า 3 องคุลี กิจที่จะต้องปลงผมของผู้นั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น
แม้จะไม่บอกภัณฑุกรรม ให้บุคคลเช่นนั้นบวช ก็ควร. ฝ่ายผู้ใดมีผมยาวเกิน
2 องคุลี โดยที่สุดแม้ไว้ผมเพียงแหยมเดียว ผู้นั้น ภิกษุต้องบอกภัณฑกรรม
ก่อนจึงให้บวชได้ อุบาลิวัตถุมีนัยกล่าวแล้วในมหาวิภังค์นั่นแล.
อรรถกถาภัณฑุกัมกถา จบ

อรรถกถากากุฑเฑปกวัตถุ


บทว่า อหิวาตกโรเคน ได้แก่ มารพยาธิ. จรึงอยู่โรคนั้นเกิดขึ้น
ในสกุลใด สกุลนั้นพร้อมทั้งสัตว์ 2 เท้า 4 เท้าย่อมวอควายหมด. ผู้ใดทำลาย
ฝาเรือนหรือหลังคาหนีไป หรือไปอยู่ภายนอกบ้านเป็นต้น ผู้นั้นจึงพ้น. ฝ่าย