เมนู

อรรถกถาทาสวัตถุกถา


วินิจฉัยในข้อว่า น ภิกฺขเว ทาโส นี้ว่า ทาสมี 4 จำพวกคือ
ทาสเกิดภายใน 1 ทาสที่ช่วยมาด้วยทรัพย์ 1 ทาสที่เขานำมาเป็นเชลย 1
บุคคลที่ยอมเป็นทาสเอง 1 ในทาส 4 จำพวกนั้น ลุกนางะทาสีในเรือน
เป็นทาสโดยกำเนิด ชื่อว่าทาสเกิดภายใน. บุตรที่เขาช่วยมาจากสำนัก
มารดาก็ดี ทาสที่เขาช่วยมาจากสำนักนายเงินก็ดี บุคคลที่เขาใช้ทรัพย์แทน
แล้วยกขึ้นสู่จารีตแห่งทาสถ่ายเอาไปก็ดี ชื่อว่าทาสทีช่วยมาด้วยทรัพย์. ทาส
ทั้งสองจำพวกนี้ไม่ควรให้บวช เมื่อจะให้บวช ต้องทำให้เป็นผู้มิใช่ทาสด้วย
อำนาจจารีสตในที่ชนบทนั้น ๆ แล้ว จึงควรให้บวช. ทาสที่ชื่อว่าเขานำมาเป็น
เชลย คือ พระราชาทั้งหลายทรงทำการรบนอกแว่นแคว้น หรือรับสั่งให้เกลี้ย
กล่อมกวาดต้อนเอาทั้งหมู่มนุษย์ซึ่งเป็นไททั้งหลาย มาจากภายนอกแว่นแคว้น
ก็ดี พระราชารับสั่งให้ริบบ้านบางตำบล ซึ่งกระทำผิดภายในแว่นแคว้นนั่นเอง
ราชบุรุษทั้งหลายกวาดต้อนทั้งหมู่มนุษย์มาจากบ้านตำบลนั้นก็ดี ในหมู่มนุษย์
เหล่านั้น ผู้ชายทั้งหมดเป็นทาส ผู้หญิงทั้งหมดเป็นทาสี บุคคลเห็นปานนี้
จัดเป็นทาสซึ่งเจ้านำมาเป็นเชลย. ทาสนี้ เมื่ออยู่ในสำนักชนทั้งหลายผู้นำตน
มา หรือถูกขังไว้ไนเรือนจำ หรืออันบุรุษทั้งหลายควบคุมอยู่ ไม่ความให้บวช.
แต่ขาหนีไปแล้ว พึงให้บวชในที่ซึ่งเขาไปได้. ครั้นเมื่อพระราชาทรงพอ
พระหฤทัย ทรงทำการปลดจากจำโดยตรัสว่า จงปล่อยพวกทาสที่นำมาเป็น
เชลย หรือโดยนัยเป็นสรรพสาธารณ์ พึงให้บวชเถิด. บุคคลที่ยอมตัวเป็น
ทาสเองทีเดียวว่า ข้าพเจ้าเป็นทาสของท่าน ดังนี้ เพราะเหตุแห่งชีวิตก็ตาม
เพราะเหตุแห่งความคุ้มครองก็ตาม ชื่อว่าผู้ยอมเป็นทาสเองเหมือนคนเลี้ยงช้าง

ม้า โค และกระบือเป็นต้น ของพระราชาทั้งหลาย ทาสเช่นนั้นไม่ควรให้
บวช. บุตรทั้งหลายของเหล่านางวัณณทาสีของพระราชา เป็นเช่นดั่งบุตร
อำมาตย์. ถึงบุตรเหล่านั้นก็ไม่ควรให้บวชเหมือนกัน. เหล่าหญิงซึ่งเป็นไท
แต่ไม่มีใครคุ้มห้าม จึงเที่ยวไปกับพวกนางวัณณทาสี จะให้บุตรทั้งหลายของ
หญิงเหล่านั้นบวชก็ควร. หากพวกหญิงเหล่านั้นขึ้นทะเบียนเสียเอง ไม่สมควร
ให้บุตรทั้งหลายของหญิงเหล่านั้นบวช ถึงพวกทาสของคณะทั้งหลายมีคณะ
ภัททิปุตตกะเป็นต้น ซึ่งคณะชนเหล่านั้นไม่ยอมให้ก็ไม่ควรให้บวช. ขึ้นชื่อ
ว่าทาสสำหรับอาราม ซึ่งพระราชาพระราชทานไว้ในวัดทั้งหลาย บรรดามี จะ
ให้ทาสแม้เหล่านั้นบวช ย่อมไม่สมควร แต่ช่วยให้เป็นไทแล้วให้บวช สมควร
อยู่. ในมหาปัจจรีอรรถกถาแก้ว่า ชนทั้งหลายนำทาสเกิดภายในและทาสที่
ช่วยมาด้วยทรัพย์ มาถวายแก่ภิกษุสงฆ์ว่า ข้าพเจ้าถวายอารามิกทาส ทาส
เหล่านั้นย่อมเป็นเช่นกับทาสที่เขาราดเปรียงบนศีรษะนั่นแหละ จะให้บวชก็
ควร. ส่วนอรรถกถากุรุนทีแก้ว่า เขาถวายด้วยกัปปิยโวหารว่า ข้าพเจ้าทั้งหลาย
ถวายอารามิกทาส ทาสนั้น อันเขาถวายแล้ว ด้วยโวหารอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม
ที ไม่ควรให้บวชแท้ พวกคนเข็ญใจ คิดว่า จักอาศัยพระสงฆ์เลี้ยงชีพ จึง
เป็นกัปปิยการกอยู่ในวัดที่อยู่ จะให้คนเข็ญใจเหล่านั้นบวช ควรอยู่. บิดา
มารดาของบุตรใดเป็นทาส หรือมารดาเท่านั้นเป็นทาสี บิดาไม่เป็นทาส ไม่
ควรให้บุรุษนั้นบวช. ญาติหรืออุปฐากของภิกษุถวายทาสว่า ขอท่านจงให้
บุรุษนี้บวช เขาจักทำความขวนขวายแก่ท่าน หรือว่า ทาสส่วนตัวของภิกษุนั้น
มีอยู่ ทาสนี้ภิกษุทำให้เป็นไทเสียก่อนแล้ว จึงควรให้บวช. ในอรรถกถากุรุนที
แก้ว่า พวกนายถวายทาสว่าขอท่านจงให้บุรุษนี้บวช ถ้าเขาจักยินดียิ่งใน
ในศาสนา, เขาจักไม่เป็นทาส ถ้าเขาจักสึก เขาจักคงเป็นทาสของพวกข้าพเจ้า

ดังนี้ ชื่อว่า ทาสยืมไม่ควรให้เขาบวช. บุรุษใดเป็นทาสไม่มีนาย บุรุษแม้
นั้นอันภิกษุให้เป็นไทก่อนจึงควรให้บวช. ภิกษุไม่ทราบให้บรรพชาหรืออุป-
สมบทแล้ว จึงทราบภายหลัง ควรทำให้เป็นไทเหมือนกัน. และเพื่อประกาศ
เนื้อความข้อนี้ พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวเรื่องนี้ว่า:-
ดังได้ยินมา นางกุลทาสีคนหนึ่ง กับบุรุษคนหนึ่ง หนีจากอนุราธบุรี
ไปอยู่ในโรหนชนบท มีบุตรคนหนึ่ง. บุตรนั้นในเวลาที่บรรพชาอุปสมบท
แล้ว เป็นภิกษุลัชชีมักรังเกียจ. ภายหลังวันหนึ่ง เธอถามมารดาว่า อุบายสิกา
พี่น้องชายหรือพี่น้องหญิงของท่านไม่มีหรอกหรือ ? ฉันจึงไม่เห็นญาติไร ๆ เลย
มารดาตอบว่า พ่อคุณ ฉันเป็นกุลทาสิ ในอนุราธบุรี หนีมาอยู่ที่นี่กับบิดาของ
คุณ ภิกษุผู้มีศีล ได้ความสังเวชว่า ได้ยินว่าบรรพชาของเราไม่บริสุทธิ์ จึง
ถามมารดาถึงชื่อและโคตรของสกุลนั้นแล้วมายังอนุราธบุรี ได้ ยืนที่ประตูเรือน
ของสกุลนั้น. เธอถึงเขาบอกว่า นิมนต์โปรดข้างหน้าเถิดเจ้าข้า ?. ก็ยังไม่เลย
ไป. พวกเขาจึงพากันมาถามว่า มีธุระอะไรขอรับ ? เธอจึงถามว่า นางทาสี
ชื่อนี้ของพวกท่านซึ่งหนีไปมีไหม ? มีขอรับ ฉันเป็นบุตรนางทาสี นั้น ถ้าพวก
ท่านอนุญาตให้ฉัน ฉันจะบวช พวกท่านเป็นนายของฉัน. พวกเขาเป็นผู้
รื่นเริงยินดี ยกเธอเป็นไทว่า บรรพชาของท่านบริสุทธิ์ขอรับ แล้วนิมนต์
ให้อยู่ในมหาวิหารบำรุงด้วยปัจจัย 4 พระเถระอาศัยสกุลนั้นอยู่เท่านั้น ได้บรรลุ
พระอรหัต.

อรรถกถาทาสวัตถุกถา จบ

เรื่องตายเพราะอหิวาตกโรค


สามเณรบรรพชา


[112] ก็โดยสมัยนั้นแล ตระกูลหนึ่งได้ตายลง เพราะอหิวาตกโรค
ตระกูลนั้นเหลืออยู่แต่พ่อกับลูก คนทั้งสองนั้นบวชในสำนักภิกษุแล้ว เที่ยว
บิณฑบาตด้วยกัน ครั้น เมื่อเขาถวายภิกษาแก่ภิกษุผู้เป็นบิดา สามเณรน้อยก็
ได้วิ่งเข้าไปกล่าวว่าข้าแต่พ่อ ขอพ่อจงให้แก่ลูกบ้าง จงให้แก่ลูกบ้าง.
ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรเหล่านี้มิใช่ผู้พระพฤติพรหมจรรย์ สามเณรน้อยรูปนี้ชะรอยเถิด
แต่ภิกษุณี ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
อยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เด็ก
ชายมีอายุหย่อน 15 ปี ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.

เด็กชายตระกูลอุปัฏฐากบรรพชา


[113] ก็โดยสมัยนั้นแล ตระกูลอุปัฏฐากของท่านพระอานนท์มี
ศรัทธาเลื่อมใส ได้ตายลงเพราะอหิวาตกโรค เหลืออยู่แต่เด็กชายสองคน เด็ก
ชายทั้งสองเห็นภิกษุทั้งหลาย จึงวิ่งเข้าไปหาด้วยกิริยาที คุ้นเคยแต่ก่อนมา ภิกษุ
ทั้งหลายไล่ไปเสีย เด็กชายทั้งสองนั้นเมื่อถูกภิกษุทั้งหลายไล่ก็ร้องไห้ จึงท่าน
พระอานนท์ได้มีความดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ มิให้บวชเด็กชาย
มีอายุหย่อน 15 ปี ก็เด็กชายทั้งสองคนนี้มีอายุหย่อน 15 ปี ด้วยวิธีอะไรหนอ
เด็กชายสองคนนี้จึงจะไม่เสื่อมเสีย ดังนี้ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถานว่า ดูก่อนอานนท์ เด็กชายสองคนนั้น
อาจไล่กาได้ไหม ?.
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า อาจ พระพุทธเจ้าข้า.