เมนู

ห้ามบวชคนมีหนี้


[108] ก็โดยสมัยนั้นแล ลูกหนี้คนหนึ่งหนีบวชในสำนักภิกษุ พวก
เจ้าทรัพย์พบแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุรูปนี้คือลูกหนี้ของพวกเราคนนั้น ถ้า
กะไรพวกเราจงจับมัน.
เจ้าทรัพย์บางพวกพูดทัดทานอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้พูดเช่นนี้
เพราะพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช. ได้มีพระบรมราชานุญาตไว้ว่า
กุลบุตรเหล่าใดบวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร กุลบุตรเหล่านั้น
ใคร ๆ จะทำอะไรไม่ได้ เพราะธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว จง
ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.
ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระ-
ศากยบุตรเหล่านี้ มิใช่ผู้หลบหลีกภัย ใคร ๆ จะทำอะไรไม่ได้ แต่ไฉนจึงให้
คนมีหนี้บวชเล่า ภิกษุทั้งหลายกราบทูลความเรื่องนั้นแด่พระผู้พระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับ สั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน
มีหนี้ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวชต้องอาบัติทุกกฏ.

อรรถกถาอิณายิกวัตถุกถา


ในคำว่า น ภิกฺขเว อิณายิโก เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า หนี้ที่
บิดาและปู่ของบุรุษใด กู้เอาไปก็ดี หนี้ที่บุรุษใดกู้เองก็ดี ทรัพย์บางอย่าง ที่
มารดาบิดามอบบุตรใดไว้เป็นประกันแล้ว ลืมเอาไปก็ดี บุรุษนั้นชื่อว่าลูกหนี้
บุรุษนั้นต้องรับหนี้นั้นของชนเหล่าอื่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าลูกหน แต่ญาติ

อื่น ๆ มอบบุตรใดไว้เป็นประกัน แล้วยืมทรัพย์บางอย่างไป บุรุษนั้นไม่จัด
ว่าเป็นลูกหนี้. เพราะว่าญาติอื่น ๆ นั้น ไม่เป็นใหญ่ที่จะอบบุรุษนั้นไว้เป็น
ประกันได้, เพราะเหตุนั้น จะให้บุรุษนั้นบวช สมควรอยู่. จะให้บุรุษนอกจาก
นี้บวช. ไม่ควร. แต่ถ้าญาติสายโลหิตทั้งหลายของเขารับใช้หนี้แทนว่า พวก
ข้าพเจ้าIจักรับใช้ ขอท่านโปรดให้บวชเถิด หรือว่าชนอื่นบางคนเห็นอาจาร-
สมบัติของเขาแล้วกล่าวว่า ขอท่านจงให้เขาบวชเถิด ข้าพเจ้าจะใช้หนี้แทน
ดังนี้ สมควรให้บวชได้. เมื่อเข้าในที่ใด ให้ฆ่าเสียในที่นั้น ดังนี้ อย่างเดียว
หามิได้ โดยที่แท้ผู้ใดผู้หนึ่งกระทำโจรกรรมหรือความผิดในพระราชาอย่าง
หนักชนิดอื่นแล้วหนีไป และพระราชารับสั่งให้เขียนผู้นั้นลงในหนังสือหรือใบ
ลานว่า ผู้มีชื่อนี้ ใครพบเข้าในทีใด พึงจับเสียในที่นั้น หรือว่า พึงตัดอวัยวะ
มีมือและเท้าเป็นต้นของมันเสีย หรือว่าพึงให้นำมาซึ่งสินไหมมีประมาณเท่านี้
ผู้นี้ชื่อผู้ร้ายซึ่งถูกเขียนไว้. ผู้นั้นไม่ควรให้บวช.
ในคำว่า กสาทโต กตทณฺฑกมฺโม นี้ มีวินิจฉัยว่า ผู้ใดไม่ยอม
ทำการมีให้การและยอมรับใช้เป็นต้น จึงถูกลงอาชญา, ผู้นั้นไม่นับว่าผู้ถูกลง
ทัณฑกรรม. ฝ่ายผู้ใดรับเก็บทรัพย์บางอย่าง โดยเป็นส่วย หรือโดยประการ
อื่นแล้วกินเสีย เมื่อไม่สามารถจะใช้คืนให้ จึงถูกเฆี่ยนด้วยหวายว่า นี้แล จง
เป็นสินไหมของเจ้า ผู้นี้ชื่อผู้ถูกเฆี่ยนด้วยหวาย ถูกลงทัณฑกรรม. ก็แลเขา
จะถูกเฆี่ยนด้วยหวายหรือถูกดัวยไม้ค้อนเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม จงยก
ไว้, แผลยังสดอยู่เพียงใด ไม่ควรให้บวชเพียงนั้น. ต่อกระทำแผลทั้งหลายให้
กลับเป็นปกติแล้วจึงควรให้บวช.
อนึ่ง ถ้าผู้ใดถูกเขาทำร้ายด้วยเข่าหรือด้วยศอก หรือด้วยผลมะพร้าว
และก้อนหินเป็นต้นแล้วปล่อยไป และบวมโนในร่างกายของผู้นั้นยังปรากฏอยู่

ไม่ควรให้บวช. ผู้นั้นกระทำให้หายแล้ว เมื่อบวมโนอย่างนั้นยุบราบไปแล้ว
ควรให้บวช.
ในคำว่า ลกฺณาหโต ตทณฺฑกมฺโม นี้ มีวินิจฉัยว่า ข้อที่
ญาติสายโลหิตเหล่านั้นไม่มี ภิกษุพึงบอกแก่อุปัฏฐากเห็นปานนั้นก็ได้ว่า ผู้นี้
เป็นบุคคลมีกุศลกรรมเป็นเหตุ แต่บวชไม่ได้เพราะกังวลด้วยหนี้. ถ้าเขารับจัด
การ พึงให้บวช. ถ้าแม้กัปปิยภัณฑ์ของตนมี พึงตั้งใจว่า เราจักเอากัปปิย-
ภัณฑ์นั้น ใช้ให้ แล้วให้บวช. แต่ถ้าชนทั้งหลายมีญาติเป็นต้น ไม่รับจัดการ
ทรัพย์ของตนก็ไม่มี ไม่สมควรให้บวช ด้วยทำโนใจว่า เราจักให้บวชแล้วจัก
เที่ยวภิกษาเปลื้องหนี้ให้. ถ้าให้บวช ต้องทุกกฏ. แม้บุรุษนั้นหนีไป ภิกษุนั้น
ก็ต้องนำมาคืนให้. ถ้าไม่คืนให้ หนี้ทั้งหมดย่อมเป็นสินใช้. เมื่อภิกษุไม่ทราบ
ให้บวชไม่เป็นอาบัติ. แต่เมื่อพบปะเข้าต้องนำมาคืนให้แก่พวกเจ้าหนี้. ไม่เป็น
สินใช้แก่ภิกษุผู้ไม่พบปะ. หากบุรุษผู้เป็นลูกหนี้ไปประเทศอื่นแล้ว แม้เมื่อภิกษุ
ได้ถามก็ตอบว่า ผมไม่ต้องรับหนี้ ไร ๆ ของใคร ๆ แล้วบวช ฝ่ายเจ้าหนี้เมื่อ
สืบเสาะหาตัวเขา จึงไปโนประเทศนั้น. ภิกษุหนุ่มเห็นเจ้าหนี้นั้นเข้าจึงหนีไปเสีย
เขาเข้าไปหาพระเถระ ร้องเรียนว่า ท่านขอรับ ภิกษุรูปนี้ใครให้บวช ? เธอยืม
ทรัพย์มีประมาณเท่านี้ ของผมแล้วหนีไป พระเถระพึงตอบว่า อุบายสก เธอบอก
ว่าผมไม่มีหนี้สิน ฉันจึงให้บวช. บัดนี้ฉันจะทำอย่างไรเล่า ? ท่านจงเห็นสิ่งของ
มาตรว่า บาตรจีวรของฉันเถอะ นี้เป็นสามีจิกรรมในข้อนั้น. และเมื่อภิกษุ
นั้นหนีไป สินใช้ย่อมไม่มี. แต่ถ้าเจ้าหนี้พบภิกษุนั้น ต่อหน้าพระเถระเทียว
แล้วกล่าวว่า ภิกษุนี้เป็นลูกหนี้ของผม พระเถระพึงตอบว่า ท่านจงรู้ลูกหนี้
ของท่านเอาเองเถิด แม้อย่างนี้ย่อมไม่เป็นสินใช้ ถ้าแม้เขากล่าวว่า บัดนี้
ภิกษุนี้บวชแล้วจักไปไหนเสีย พระเถระจึงตอบว่า ท่านจงรู้เองเถิด แม้อย่าง

นี้ เมื่อภิกษุนั้นหนีไป ย่อมไม่เป็นสินใช้แก่พระเถระนั้น. แต่ถ้าพระเถระ
กล่าวว่า บัดนี้ ภิกษุนี้จักไปไหนเสีย เธอจงอยู่ที่นี้แหละ ถ้าภิกษุนั้นหนีไป
ต้องเป็นสินใช้. ถ้าเธอเป็นผู้มีกุศลกรรมเป็นเหตุถึงพร้อมด้วยวัตร. พระเถระ
พึงกล่าวว่า ภิกษุนี้ เป็นเช่นนี้. ถ้าเจ้าหนี้ยอมสละว่า ดีละ ข้อนี้เป็นอย่างนี้
ได้เป็นการดี. ก็ถ้าเขาตอบว่า ขอท่านจงใช้ให้เล็กน้อยเถิด พระเถระพึงใช้ให้.
ต่อสมัยอื่น ภิกษุนั้นเป็นผู้ยังพระเถระให้พอใจยิ่งขึ้น แม้เมื่อเจ้าหนี้เขาทวง
ว่า ท่านจงใช้ทั้งหมด พระเถระควรใช้ให้แท้. และถ้าเธอเป็นผู้ฉลาดใน
อุทเทสแลปริปุจฉาเป็นต้น มีอุปการะมากแก่ภิกษุทั้งหลาย พระเถระจะพึง
แสวงหาด้วยภิกษาจารวัตรก็ได้ ใช้หนี้ เสียเถิด ฉะนี้แล.

อรรถกถาอิณายิกวัตถุกถา จบ

ห้ามบวชทาส


[109] ก็โดยสมัยนั่นแล ทาสดนหนึ่งหนีไปบวชในสำนักภิกษุ พวก
เจ้านายพบเข้าจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุรูปนี้คือทาสของพวกเราคนนั้น ถ้ากระไร
พวกเราจงจับมัน.
เจ้านายบางพวกพูดทัดทานอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้พูดเช่นนี้
เพราะพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ได้ทรงมีพระบรมราชานุญาตไว้ว่า
กุลบุตรเหล่าใดบวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร กุลบุตรเหล่านั้น
ใคร ๆ จะทำอะไรไม่ได้ เพราะธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว จง
ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.
ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระ-
ศากยบุตรเหล่านี้ มิใช่ผู้หลบหลีกภัย ใคร ๆ จะทำอะไรไม่ได้ แต่ไฉนจึงให้
ทาสบวชเล่า ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน
เป็นทาส ภิกษุไม่พึงบวช รูปใดให้บวช ต้องอาบัติทุกกฎ.

ทรงอนุญาตการปลงผม


[110] ก็โดยสมัยนั้นแล บุตรช่างทองศีรษะโล้นคนหนึ่ง ทะเลาะ
กับมารดาบิดา แล้วไปอารามบวชในสำนักภิกษุ ครั้งนั้น มารดาบิดาของเขา
สืบหาเขาอยู่ ได้ไปอารามถามภิกษุทั้งหลายว่า ท่านเจ้าข้า ท่านทั้งหลายเห็น
เด็กชายมีรูปร่างเช่นนี้บ้างไหม ?
บรรดาภิกษุพวกที่ไม่รู้เลยตอบว่า พวกอาตมาไม่รู้ พวกที่ไม่เห็น
เลยตอบว่า พวกอาตมาไม่เห็น.