เมนู

อรรถกถาโจรวัตถุ


พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องโจรทั้งหลาย:-
สองบทว่า มนุสฺสา ปสฺสิตฺวา มีความว่า พระองคุลิมาลนั้น อัน
ชนเหล่าใดเคยเห็นในเวลาที่ท่านเป็นคฤหัสถ์ และชนเหล่าใดได้ฟังต่อชนเหล่า
อื่นว่า ภิกษุนี้ คือ องคุลิมาลนั้น ชนเหล่านั้น ไห้เห็นแล้ว ย่อมตกใจบ้าง ย่อม
หวาดหวั่นบ้าง ย่อมปิดประตูบ้าง. แต่ท่านย่อมได้ภิกษาในเรือนของเหล่าชน
ที่ไม่รู้จัก.
บทว่า น ภิกฺขเว มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์เองเป็น
เจ้าของแห่งธรรม เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรงบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย
เพื่อต้องการมิให้กระทำต่อไป จึงตรัสอย่างนั้น. วินิจฉัยในคำนั้นว่า โจรชื่อ
ว่าธชพันธะ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่าดุจผูกธงเที่ยวไป. มีคำอธิบายว่า เป็นคน
โด่งดังในโลก เหมือนมูลเทพ1 เป็นต้น. เพราะเหตุนั้นผู้ใดเที่ยวทำการฆ่าชาว
บ้านก็ดี รบกวนคนเดินทางก็ดี. ทำกรรมมีตัดที่ต่อเป็นต้นในเมืองก็ดี อนึ่ง
ผู้ใดอันชนทั้งหลายรู้จักกันแซ่ว่า คนชื่อโน้น ทำกรรมนี้ ๆ ผู้นั้นไม่ควรให้
บวช. ส่วนผู้ใดเป็นราชบุตร ปรารถนาจะเป็นพระราชากระทำกรรมมีฆ่าชาวบ้าน
เป็นต้น. ผู้นั้น ควรให้บวช. เพราะว่าเมื่อราชบุตรนั้นผนวชแล้ว พระราชา
ทั้งหลายย่อมพอพระหฤทัย แต่ถ้าไม่ทรงพอพระหฤทัย ไม่ควรให้บวช. โจร

1. ในพระบาลีวินัยเป็น ธชพทฺโธ. ส่วนคำว่า มูลเทวาทโย โยชนาแก้อรรถว่า อาทิภูเทวาทโย.
ธชพทฺโธ หมายความไปในทางมีชื่อเสียงโด่งดังทางเสีย อ้างว่า เหมือนมูลเทพเป็นต้น คำว่า มูล
เทโว ทางสันสกฤต เป็นพระนามของท้าวกังสะ กษัตริย์ทรราชแห่งแคว้นมถุรา ทรงฆ่าทารกเสีย
มากมายก่ายกอง เพราะโหรทำนายว่า พระองค์จะถูกลูกชายของหญิงนางหนึ่งปลงพระชนม์ ด้วย
ความร้ายกาจนี้เอง ประชาชนพลเมืองจึงเห็นว่าท้าวเธอเป็นอสูร เป็นยักษ์ เป็นมาร มูลเทโว จ
มาเป็นตัวอย่างในคำว่า มูลเทวาทโยนี้หรืออย่างไร ?

ซึ่งลือชื่อในมหาชนในกาลก่อน ภายหลังละโจรกรรมเสียสมาทานศีล 5. ถ้า
หากชาวบ้านรู้จักเขาอย่างนั้น ควรให้บวช. ฝ่ายชนเหล่าใด เป็นผู้ลักของเล็ก
น้อยมีมะม่วงและขนุนเป็นต้น หรือเป็นโจรผู้ตัดที่ต่อเป็นต้น ทีเดียวแต่แอบ
แฝงทำการลัก ทั้งภายหลังก็ไม่ปรากฏว่า กรรมนี้ อันชนชื่อนี้ทำ จะให้ชน
เหล่านั้นบวช ก็ควร.
สองบทว่า การํ ภินฺทิตฺวา มีความว่า ทำลายเครื่องจำคือชื่อเป็นต้น.
ในบทว่า อภยูวรา นี้ มีวินิจฉัยว่า ชนเหล่าใดย่อมหลบทลีก เพราะ
ความกลัว เหตุนั้น ชื่อเหล่านั้น ชื่อ ภยูวรา ผู้หลบหลีกเพราะความกลัว
ฝ่ายสมณะเหล่านี้ มิใช่ผู้หลบหลีกเพราะความกลัว เพราะเป็นผู้ได้รับอภัย
เพราะฉะนั้น จึงชื่อ อถยูวรา มิใช่ผู้หลบหนีเพราะความกลัว. ก็แลในบท
ว่า อภยูวรา นี้พึงทราบว่า อาเทส อักษรให้เป็น อักษร.
ในคำว่า น ภิกฺขเว การเภทโก นี้ มีวินิจฉัยว่า เรือนจำเรียก
ว่า การะ แต่ในอธิการนี้ เครื่องจำคือชื่อก็ดี เครื่องจำคือตรวนก็ดี เครื่อง
จำคือเชือกก็ดี ที่จำคือบ้านก็ดี ที่จำคือนิคมก็ดี ที่จำคือเมือง การควบคุม
ด้วยบุรุษก็ดี ที่จำคือชนบทก็ดี ที่จำคือทวีปก็ดี จงยกไว้. ผู้ใดทำลาย หรือ
ตัด หรือแก้ หรือเปิด เครื่องจำชนิดใดชนิดหนึ่ง ในบรรดาเครื่องจำที่ที่จำ
เหล่านี้ หนีไปซึ่งหน้า หรือไม่มีคนเห็น ผู้นั้นถึงความนับว่า การเภทก ผู้
แหกเรือนจำ.
เพราะเหตุนั้น การเภทกโจรเหล่านี้ ทำลายที่จำคือทวีป ไปยังทวีปอื่น
แล้วก็ดี ไม่ควรให้บวช.
ฝ่ายผู้ใดที่มิใช่โจร แต่ไม่ยอมทำหัตกรรมอย่างเดียว ถูกอิสรชนทั้ง
หลายมีชุนส่วยของพระราชาเป็นต้น จองจำเองไว้ ด้วยหมายใจ เมื่อมีการจอง

จำไว้อย่างนี้ ผู้นี้จะหนีไม่ได้ จักทำการของเรา ดังนี้ ก็ดี ผู้นั้นแม้พำลายเครื่อง
จำหนีไป ก็ควรให้บวช.
ฝ่ายผู้ใดรับผูกขาดบ้าน นิคม และท่า เป็นต้น ด้วยส่วย ไม่ส่ง
ส่วยนั้นให้ครบ ถูกส่งไปยังเรือนจำ ผู้นั้นหนีมาแล้ว ไม่ควรให้บวช.
แม้ผู้ใดรวมเก็บทรัพย์ไว้ เลี้ยงชีวิตด้วยกสิกรรมเป็นต้น ถูกใคร ๆ
ส่อเสียดใส่โทษเอาว่า ผู้นี้ได้ขุมทรัพย์ แล้วถูกจองจำจะให้ผู้นั้นบวชในถิ่นนั้น
เอง ไม่ควร. แต่จะให้เขาซึ่งหนีไปแล้วบวชในที่ซึ่งไปแล้วทุกตำบล ควรอยู่.
ในข้อนี้ว่า น ภิกฺขเว ลิขิตโก เป็นต้นนี้ มีวินิจฉัยว่าบุคคลที่
ชื่อว่าผู้ร้ายซึ่งถูกเขียนไว้ จะได้แก่ผู้ร้ายซึ่งถูกเขียนไว้ว่า พบเข้าในที่ใด ให้
ฆ่าเสียในที่นั้น ดังนี้ อย่างเดียวหามิได้ โดยที่แท้ผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งกระทำโจรกรรม
หรือความผิดในพระราชาอย่างหนักชนิดอื่นแล้วหนีไป และพระราชารับสั่งให้
เขียนผู้นั้นลงในหนังสือหรือใบลานว่า ผู้มีชื่อนี้ ใครพบเข้าในที่ใด พึงจับฆ่า
เสียในที่นั้นหรือว่า พึงตัดอวัยวะมีมือและเท้าเป็นต้นของมันเสีย หรือว่า พึง
ให้นำมาซึ่งสินไหมมีประมาณเท่านี้ ผู้นี้ชื่อผู้ร้ายซึ่งถูกเขียนไว้. ผู้นั้นไม่ควร
ให้บวช.
ในคำว่า กสาหโต กตทณฺฑกมฺโม นี้ มีวินิจฉัยว่า ผู้ใดไม่ยอม
ทำการมีให้การและยอมรับใช้เป็นต้น จึงถูกลงอาชญา ผู้นั้นไม่นับว่าผู้ถูกลง
ทัณฑกรรม. ฝ่ายผู้ใดรับเก็บทรัพย์บางอย่าง โดยเป็นส่วน หรือโดยประการ
อื่นแล้วกินเสีย เมื่อไม่สามารถจะใช้คืนให้ จึงถูกเฆี่ยนด้วยหวายว่า นี้แล จง
เป็นส้นไหมของเจ้า ผู้นี้ชื่อ ผู้ถูกเฆี่ยนด้วยหวาย ถูกลงทัณฑกรรม. ก็แล
เขาจะถูกเฆียนด้วยหวายหรือถูกด้วยไม้ค้อนเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม จง
ยกไว้ แผลยังสดอยู่เพียงใด ไม่ควรให้บวชเพียงนั้น. ต่อกระทำแผลทั้งหลาย
ให้กลับเป็นปกติแล้วจึงควรให้บวช.

อนึ่ง ถ้าผู้ใดถูกเขาทำร้ายด้วยเข่าหรือด้วยศอก หรือด้วยผลมะพร้าว
และก้อนหินเป็นต้นแล้วปล่อยไป และบวนโนในร่างกายของผู้นั้นยังปรากฏอยู่
ไม่ควรให้บวช. ผู้นั้นกระทำให้หายแล้ว เมื่อบวมโนอย่างนั้นยุบราบไปแล้ว
ควรให้บวช.
ในคำว่า ลกฺขณาหโต กตทณฺฑกมฺโม นี้ มีวินิจฉัยว่า ข้อที่
เป็นผู้ลงทัณฑกรรม พึงทราบโดยนัยก่อนนั่นเเล. ก็รอยแผลเป็นซึ่งถูกนาบด้วย
เหล็กแดงมีที่หน้าผาก หรือที่อวัยวะ ทั้งหลาย มีอกเป็นต้น ของบุรุษใด ถ้า
บุรุษนั้นเป็นไท แผลยังสดอยู่เพียงใด ไม่ควรให้บวชเพียงนั้น. ถ้าแม้แผลของ
เขาเป็นของงอกขึ้นเรียบเสมอกับผิวหนังแล้ว แต่รอยแผลเป็นยังปรากฏอยู่ เมื่อ
เขานุ่งแล้วห่มผ้าเฉวียงบ่าปกปิดเรียบร้อยครบ 3 ประการ ถ้ารอยแผลเป็นนั้น
อยู่ในโอกาสที่มิได้ปกปิด ไม่สมควรให้บวช.

อรรถกถาโจรวัตถุ จบ

ห้ามบวชคนมีหนี้


[108] ก็โดยสมัยนั้นแล ลูกหนี้คนหนึ่งหนีบวชในสำนักภิกษุ พวก
เจ้าทรัพย์พบแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุรูปนี้คือลูกหนี้ของพวกเราคนนั้น ถ้า
กะไรพวกเราจงจับมัน.
เจ้าทรัพย์บางพวกพูดทัดทานอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้พูดเช่นนี้
เพราะพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช. ได้มีพระบรมราชานุญาตไว้ว่า
กุลบุตรเหล่าใดบวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร กุลบุตรเหล่านั้น
ใคร ๆ จะทำอะไรไม่ได้ เพราะธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว จง
ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.
ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระ-
ศากยบุตรเหล่านี้ มิใช่ผู้หลบหลีกภัย ใคร ๆ จะทำอะไรไม่ได้ แต่ไฉนจึงให้
คนมีหนี้บวชเล่า ภิกษุทั้งหลายกราบทูลความเรื่องนั้นแด่พระผู้พระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับ สั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน
มีหนี้ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวชต้องอาบัติทุกกฏ.

อรรถกถาอิณายิกวัตถุกถา


ในคำว่า น ภิกฺขเว อิณายิโก เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า หนี้ที่
บิดาและปู่ของบุรุษใด กู้เอาไปก็ดี หนี้ที่บุรุษใดกู้เองก็ดี ทรัพย์บางอย่าง ที่
มารดาบิดามอบบุตรใดไว้เป็นประกันแล้ว ลืมเอาไปก็ดี บุรุษนั้นชื่อว่าลูกหนี้
บุรุษนั้นต้องรับหนี้นั้นของชนเหล่าอื่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าลูกหน แต่ญาติ