เมนู

อรรถกถาราชภัฏวัตถุ


พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องราชภัฏต่ออไป:-
สองบทว่า ปจฺจนฺตํ ยุจฺจินเถ มีความว่า ท่านทั้งหลายจงยังปัจจันต
ชนบทให้เจริญ มีคำอธิบายว่า ท่านทั้งหลายจงขับไล่พวกโจรเสียแล้ว จัดแจง
บ้านที่พ้นโจรภัยแล้วให้ราบคาบ จัดการรักษาโดยกวดขัน ให้การกสิกรรมเป็น
ต้นเป็นไป. ฝ่ายพระราชาเพราะพระองค์เป็นพระโสดาบัน จึงไม่ทรงบังคับว่า
จงฆ่า จงประหารพวกโจร. พวกอำมาตย์ซึ่งเป็นหมอกฎหมาย คิดว่า ใน
บรรพชา อุปัชฌาย์เป็นใหญ่ รองไปอาจารย์ รองลงไปคณะ จึงพากันกราบ
ทูลคำทั้งปวงมีอาทิ ว่า ขอเดชะ พึงให้ตัดศีรษะอุปัชฌาย์เสีย ด้วยติดเห็นว่า
นี้มาในข้อวินิจฉัยแห่งกฎหมาย.
ในข้อว่า น ภิกฺขเว ราชภโฏ ปพฺพาเชตพฺโพ นี้ มีวินิจฉัยว่า
จะเป็นอำมาตย์ หรือมหาอำมาตย์ หรือเสวกหรือผู้ได้ฐานันดรเล็กน้อย หรือ
ผู้ไม่ได้ก็ตามที บุคคลผู้ผู้หนึ่งซึ่งได้รับเลี้ยงด้วยอาหารหรือเบี้ยเลี้ยงของ
พระราชา ถึงความนับว่า ราชภัฏ ทั้งหมด ราชภัฏนั้นไม่ควรให้บวช. ฝ่าย
บุตรที่น้องชายและหลานชายเป็นต้น ของราชภัฏนั้น ไม่ได้รับอาหาหรือเบี้ย
เลี้ยงจากพระราชา จะให้ชนเหล่านั้นบวช ควรอยู่. ฝ่ายผู้ใดถวายโภคะประจำ
หรือเงินเดือนเบี้ยหวัดรายปี ซึ่งตนได้รับพระราชทาน คืนแด่พระ-
ราชา หรือให้บุตรและพี่น้องชายรับตำแหน่งนั้นแทน แล้วทูลลาพระราชาว่า
บัดนี้ ข้าพเจ้าไม่ใช่ผู้ได้รับเลี้ยงของเทวะแล้ว. หรือว่าอาหารและเบี้ยเลี้ยง ซึ่งผู้
ใดได้รับเพราะเหตุแห่งราชการใด. ราชการนั้นเป็นกิจอันตนทำเสร็จแล้ว หรือ
ผู้ใดเป็นผู้ได้บรมราชานุญาตว่า เจ้าจงบวช จะให้บุคคลแม้นั้นบวช ควรอยู่.

อรรถกถาราชภัฏวัตถุ จบ

ห้ามบวช


โจรที่ขึ้นชื่อโด่งดัง


[103] ก็โดยสมัยนั้นแล โจรองคุลิมาลบวชในสำนักภิกษุ ชาวบ้าน
เห็นแล้วพากันหวาดเสียวบ้าง ตกใจบ้าง หนีไปบ้าง ไปโดยทางอื่นบ้าง เมิน
หน้าไปทางอื่นบ้าง ปิดประตูเสียบ้าง ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพน-
ทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงให้โจรที่ขึ้นชื่อโค่งดังบวช
เล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกนั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โจร
ที่ขึ้นชื่อโค่งดัง ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดไห้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.

อภยูวรภาณวาร


ห้ามบวชโจรหนีเรือนจำ


[104] ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ได้
ทรงมีพระบรมราชานุญาตไว้ว่า กุลบุตรเหล่าใดบวชในสำนักพระสมณะเชื้อสาย
พระศากยบุตร กุลบุตรเหล่านั้น ใคร ๆ จะทำอะไรไม่ได้ เพราะธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดย
ชอบเถิด.
สมัยต่อมา บุรุษคนหนึ่งทำโจรกรรมแล้ว ถูกเจ้าหน้าที่จองจำไว้ใน
เรือนจำเขาหนีเรือนจำหลบไปบวชในสำนักภิกษุ คนทั้งหลายเห็นแล้วกล่าว
อย่างนี้ว่า ภิกษุรูปนี้คือโจรหนีเรือนจำคนนั้น ถ้ากระไร พวกเราจงจับมัน.