เมนู

อรรถกถาปัญจาพาธวัตถุกถา


ข้อว่า มคเธสุ ปญฺจ อาพาธา อุสฺสนฺนา โหนฺติ มีความว่า
โรค 5 ชนิดเป็นโรคดื่นดาด คือ ลุกลาม แพร่หลายแก่หมู่มนุษย์และอมนุษย์
ในชนบทมีชื่อว่ามคธ. เรื่องหมอชีวกโกมารภัจจ์จักมีแจ้งในจีวรขันธกะ.
ข้อว่า น ภิกฺขเว ปญฺจหิ อาพาเธหิ ผุฏฺโฐ ปพฺพาเชตพฺโพ
มีความว่า อาพาธ 5 ชนิดมีโรคเรื้อนเป็นต้น เหล่านั้นได้ดื่นดาดแล้ว, กุลบุตร
ผู้อาพาธเหล่านั้นถูกต้องแล้ว คือครอบงำแล้วไม่ควรให้บวช. บรรดาอาพาธ
5 ชนิดนั้น จะเป็นโรคเรื้อนแดงหรือโรคเรื้อนคำก็ตาม ชื่อว่าโรคเรื้อน.
ในอรรถกถากุรุนทีแก้ว่า โรคชนิดใดชนิดหนึ่งแม้มีประเภทเป็นต้นว่า
เรื้อนผง หิดเปื่อย หิดด้าน คุดทะราด ทุกอย่างท่านเรียกว่า โรคเรื้อน เหมือน
กัน. ก็แลโรคเรื้อนนั้น แม้มีขนาดเท่าหลังเล็บ แต่ตั้งอยู่ในฝ่ายที่จะลามไปได้
กุลบุตรนั้นไม่ควรให้บวช. แต่ถ้าในที่ซึ่งผ้านุ่งผ้าห่อปิดไว้โดยปกติ เป็นของมี
ขนาดเท่าหลังเล็บ คงอยู่ในฝ่ายที่จะไม่ลามไปได้ จะให้บวชก็ควร ส่วนที่หน้า
หรือที่หลังมือหลังเท้า ถ้าแม้คงอยู่ในฝ่ายที่จะไม่ลามไปได้ แม้ย่อมกว่าหลัง
เล็บ ไม่ควรจะให้บวชเหมือนกัน. คนเป็นโรคเรือนนั้น แม้เมื่อให้เยียวยาแล้ว
จะให้บวช ต่อเมื่อแผลหายสนิทแล้วนั้นแล จึงควรให้บวช. แม้ผู้ที่ร่างกาย
พรุนไปด้วยรอยจุด ๆ คล้ายหนังเหี้ยก็ไม่ควรจะให้บวช. โรคฝีมีผีมันข้นเป็น
ต้น ชื่อว่าฝี. ผีมันข้นหรือผีอื่นชนิดใดชนิดหนึ่งก็ตาม จงยกไว้. ถ้าฝีแม้มี
ขนาดเท่าเมล็ดพุทรา ตั้งอยู่ในฝ่ายที่จะลามไปได้ กุลบุตรนั้นไม่ควรให้บวช.
แต่ในที่ปกปิด มีขนาดเท่าเมล็ดพุทรา คงอยู่ในฝ่ายที่จะไม่ลามไปใต้จะให้บวช
ก็ควร. ในที่ซึ่งมิได้ปกปิดมีหน้าเป็นต้น แม้ตั้งอยู่ในฝ่ายที่จะไม่ลุกลามไปได้

ก็ไม่ควรจะให้บวช. กุลบุตรผู้นั้นเป็นโรคฝีนั้น แม้เมื่อให้เยียวยาแล้วจะให้บวช
ต่อทำร่างกายให้มีผิวเรียบแล้วจึงควรให้บวช. ที่มีชื่อว่าติ่ง คล้ายนมโคหรือ
คล้ายนิ้วมือ ห้อยอยู่ในที่นั้น ๆ ก็มี แม้ติ่งเหล่านี้ก็จัดเป็นฝีเหมือนกัน เมื่อติ่ง
เหล่านั้นมี ไม่ควรจะให้บวช. หัวหูด มีในเวลาเป็นเด็ก ที่มีหัวสิว มีที่หน้า
ในเวลาเป็นหนุ่ม ในเวลาแก่หายหมดไป หัวหูดและหัวสิวเหล่านั้นไม่นับเป็น
ฝี เมื่อหัวเหล่านั้นมีจะให้บวชก็ควร. ส่วนเม็ดชนิดอื่น ที่ชื่อเม็ดผด มีตาม
ตัว ชนิดอื่นอีกที่ชื่อเกสรบัวก็มี ชนิดอื่นที่ชื่อเมล็ดพันธุ์ผักกาด มีขนาดเท่า
เมล็ดผักกาด ผื่นไปทั่วตัว. เมล็ดเหล่านั้นทั้งหมด เป็นชาติโรคเรื้อนเหมือน
กัน เมื่อเมล็ดเหล่านั้นมี ไม่ควรให้บวช. โรคเรื้อนมีสีคล้ายโบบัวแดงและบัว
ขาว ไม่แตก ไม่เยิ้ม ชื่อโรคกลาก ร่างกายเป็นอวัยวะลายพร้อยเหมือนกระ
แห่งโคด้วยโรคเรื้อนชนิดใด. พึงทราบวินิจฉัยในโรคกลากนั้น โดยนัยที่กล่าว
แล้วในโรคเรื้อนชนิดนั้นแล.
ไข้มองคร่อ ชื่อโสสะ. เมื่อไข้มองคร่อนั้นมี ไม่ควรให้บวช.
โรคบ้าเพราะดี หรือโรคบ้าด้วยถูกผีสิง ชื่อโรคลมบ้าหมู. ในโรค
ลมบ้าหมู 2 ชนิด บุคคลผู้ถูกอมนุษย์ซึ่งเคยเป็นคู่เวรกันสิงแล้ว ย่อมเป็นผู้ที่
เยียวยาได้ยาก. และเมื่อโรคลมบ้าหมูนั้นมีแม้เพียงเล็กน้อย ก็ไม่ควรให้บวช.

อรรถกถาปัญจาพาธวัตถุกถา จบ

เรื่องราชภัฏบวช


[102] ก็โดยสมัยนั้นแล เมืองปลายเขตแดงของพระเจ้าพิมพิสาร
จอมเสนามาคธราชเกิดจลาจล ครั้งนั้น ท้าวเธอจึงมีพระบรมราชโองการสั่ง
พวกมหาอำมาตย์ผู้เป็นแม่ทัพนายกองว่า ดูก่อนพนาย ท่านทั้งหลายจงไปปรับ
ปรุงเมืองปลายเขตแดงให้เรียบร้อย พวกมหาอำมาตย์ผู้เป็นแม่ทัพนายกอง
กราบทูลรับสนองพระบรมราชโองการพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชว่า
ขอเดชะ พระพุทธเจ้าข้า ครั้งนั้น เหล่าทหารบรรดาที่มีชื่อเสียงได้มีความ
ปริวิตกว่า พวกเราพอใจในการรบ พากันไปทำบาปกรรม และประสพกรรมมิ
ใช่บุญมาก ด้วยวิธีอย่างไรหนอ พวกเราพึงงดเว้นจากบาปกรรม แลทำแต่
ความดี ดังนี้ และได้มีความปริวิตกต่อไปว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร
เหล่านี้แล เป็นผู้พระพฤติธรรม ประพฤติสงบ ประพฤติในพรหมจรรย์
กล่าวคำสัตย์ มีศีล มีกัลยาณธรรมถ้าแลพวกเราจะพึงบวชในสำนักพระสมณะ
เชื้อสายพระศากยบุตร ด้วยวิธีอย่างนี้พวกเราก็จะพึงเว้นจากบาปกรรม และทำ
แต่ความดี ดังนี้ จึงพากันเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วขอบรรพชา ภิกษุทั้งหลาย
ให้พวกเขาบรรพชาอุปสมบทแล้ว.
พวกjหาอำมาตย์ผู้เป็นแม่ทัพนายกองถามพวกราชภัฏว่า แน่ะพนาย
ทหารผู้มีชื่อนี้ และมีชื่อนี้ หายไปไหน.
พวกราชภัฏเรียนว่า นาย ทหารผู้มีชื่อนี้และมีชื่อนี้ บวชในสำนัก
ภิกษุแล้ว ขอรับนาย.
พวกมหาอำมาตย์ผู้เป็นแม่ทัพนายกอง จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนเหล่าพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ให้ราชภัฏบวชเล่า แล้ว
กราบบังคมทูลความเรื่องนั้นแด่พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช.