เมนู

หมอชีวกโกมารภัจจ์ได้เห็นบุรุษนั้นสึกแล้ว จึงได้ไต่ถามบุรุษนั้นว่า
เจ้าบวชในสำนักภิกษุมิใช่หรือ ?
บุรุษ. ใช่แล้วขอรับ ท่านอาจารย์.
ชี. เจ้าได้ทำพฤติการณ์เช่นนั้น เพื่อประสงค์อะไร ?
จึงบุรุษนั้น ได้เรียนเรื่องนั้นให้หมอชีวกโกมารภัจจ์ทราบ.
หมอชีวกโกรมารภัจจ์ จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระคุณ
เจ้าทั้งหลายจึงได้ให้กุลบุตรผู้ถูกโรค 5 ชนิดกระทบเข้าแล้วบวชเล่า ครั้นแล้ว
เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลขอประทานพรต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าพระ-
พุทธเจ้า ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายไม่พึงยังกุลบุตรผู้
ถูกโรค 5 ชนิดกระทบเข้าแล้ว ให้บวช.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้หมอชีวกโกมารภัจจ์ เห็น
แจ้งสมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ครั้นหมอชีวกโกมารภัจจ์อัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริงด้วย
ธรรมีกถาแล้วลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้ว
กลับไป.

ทรงห้ามบวชคนเป็นโรคติดต่อ


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้า
มูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย กุลบุตรผู้ถูกโรค 5 ชนิดกระทบเช้าแล้ว ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใด
ให้บวชต้องอาบัติทุกกฎ.

อรรถกถาปัญจาพาธวัตถุกถา


ข้อว่า มคเธสุ ปญฺจ อาพาธา อุสฺสนฺนา โหนฺติ มีความว่า
โรค 5 ชนิดเป็นโรคดื่นดาด คือ ลุกลาม แพร่หลายแก่หมู่มนุษย์และอมนุษย์
ในชนบทมีชื่อว่ามคธ. เรื่องหมอชีวกโกมารภัจจ์จักมีแจ้งในจีวรขันธกะ.
ข้อว่า น ภิกฺขเว ปญฺจหิ อาพาเธหิ ผุฏฺโฐ ปพฺพาเชตพฺโพ
มีความว่า อาพาธ 5 ชนิดมีโรคเรื้อนเป็นต้น เหล่านั้นได้ดื่นดาดแล้ว, กุลบุตร
ผู้อาพาธเหล่านั้นถูกต้องแล้ว คือครอบงำแล้วไม่ควรให้บวช. บรรดาอาพาธ
5 ชนิดนั้น จะเป็นโรคเรื้อนแดงหรือโรคเรื้อนคำก็ตาม ชื่อว่าโรคเรื้อน.
ในอรรถกถากุรุนทีแก้ว่า โรคชนิดใดชนิดหนึ่งแม้มีประเภทเป็นต้นว่า
เรื้อนผง หิดเปื่อย หิดด้าน คุดทะราด ทุกอย่างท่านเรียกว่า โรคเรื้อน เหมือน
กัน. ก็แลโรคเรื้อนนั้น แม้มีขนาดเท่าหลังเล็บ แต่ตั้งอยู่ในฝ่ายที่จะลามไปได้
กุลบุตรนั้นไม่ควรให้บวช. แต่ถ้าในที่ซึ่งผ้านุ่งผ้าห่อปิดไว้โดยปกติ เป็นของมี
ขนาดเท่าหลังเล็บ คงอยู่ในฝ่ายที่จะไม่ลามไปได้ จะให้บวชก็ควร ส่วนที่หน้า
หรือที่หลังมือหลังเท้า ถ้าแม้คงอยู่ในฝ่ายที่จะไม่ลามไปได้ แม้ย่อมกว่าหลัง
เล็บ ไม่ควรจะให้บวชเหมือนกัน. คนเป็นโรคเรือนนั้น แม้เมื่อให้เยียวยาแล้ว
จะให้บวช ต่อเมื่อแผลหายสนิทแล้วนั้นแล จึงควรให้บวช. แม้ผู้ที่ร่างกาย
พรุนไปด้วยรอยจุด ๆ คล้ายหนังเหี้ยก็ไม่ควรจะให้บวช. โรคฝีมีผีมันข้นเป็น
ต้น ชื่อว่าฝี. ผีมันข้นหรือผีอื่นชนิดใดชนิดหนึ่งก็ตาม จงยกไว้. ถ้าฝีแม้มี
ขนาดเท่าเมล็ดพุทรา ตั้งอยู่ในฝ่ายที่จะลามไปได้ กุลบุตรนั้นไม่ควรให้บวช.
แต่ในที่ปกปิด มีขนาดเท่าเมล็ดพุทรา คงอยู่ในฝ่ายที่จะไม่ลามไปใต้จะให้บวช
ก็ควร. ในที่ซึ่งมิได้ปกปิดมีหน้าเป็นต้น แม้ตั้งอยู่ในฝ่ายที่จะไม่ลุกลามไปได้