เมนู

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ ชื่อว่า
เป็นผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดี กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยิน
ดี เช่นนี้แล มาแล้ว ไม่พึงอุปสมบทให้.

ข้อปฏิบัติที่ให้สงฆ์ยินดี


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ เป็น
ผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี.
1. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ในพระธรรม
วินัยนี้ เข้าบ้านไม่เช้าเกินไป กลับไม่สายเกินไป แม้เช่นนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้
ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี.
2. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญ-
เดียรถีย์ไม่เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็นโคจร ไม่มีหญิงหม้ายเป็นโคจร ไม่มีสาวเทื้อ
เป็นโคจร ไม่มีบัณเฑาะก์เป็นโคจรไม่มีภิกษุณีเป็นโคจร แม้เช่นนี้ ก็ชื่อว่า
เป็นผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี.
3. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญ-
เดียรถีย์ เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในการงานใหญ่น้อยของเพื่อนสพรหมจารีทั้ง
หลาย ประกอบด้วยปัญญาพิจารณาสอดส่องในการนั้น อาจทำได้ อาจจัดการ
ได้ แม้เช่นนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี.
4. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญ-
เดียรถีย์ เป็นผู้สนใจในการเรียนบาลี ในการเรียนอรรถกถา ในอธิศีล อธิจิต
อธิปัญญา แน่เช่นนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี.
5. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญ-
เดียรถีย์ตนหลีกมาจากสำนักเดียรถีย์แห่งครูคนใด เมื่อมีผู้กล่าวที่ครูคนนั้น ติ
ความเห็น ความชอบใจ ความพอใจ และความยึดถือ ของครูคนนั้น ย่อม

พอใจ ร่าเริง ชอบใจ เมื่อเขากล่าวที่พระพุทธเจ้า พระธรรม หรือพระสงฆ์
กลับโกรธ ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ ก็หรือตนหลีกมาจากสำนักเดียรถีย์แห่งครูคน
ใด เมื่อมีผู้กล่าวสรรเสริญครูคนนั้น สรรเสริญความเห็น ความชอบใจ ความ
พอใจ และความยึดถือ ของครูคนนั้น ย่อมโกรธ ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ เมื่อ
เขากล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า พระธรรม หรือพระสงฆ์ กลับพอใจ ร่าเริง
ชอบใจ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นเครื่องสอบสวนในความปฏิบัติที่ชวน
ให้สงฆ์ยินดี แห่งกุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ ชื่อ
ว่า เป็นผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี
เช่นนี้แล้วมาแล้ว พึงอุปสมบทให้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ากุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ เปลือยกายมา
ต้องแสวงหาจีวรซึ่งมีอุปัชฌาย์เป็นเจ้าของ ถ้ายังมิได้ปลงผมมา สงฆ์พึงอปโลกน์
เพื่อปลงผม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชฎิลผู้บูชาไฟเหล่านั้นมาแล้ว พึงอุปสมบทให้
ไม่ต้องให้ปริวาสแก่พวกเธอ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะชฎิลเหล่านั้น เป็นกรรมวาที กิริยวาที
ถ้าศากยะโดยกำเนิดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์มา เธอมาแล้วพึงอุปสมบท
ให้ไม่ต้องให้ปริวาสแก่เธอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราให้บริขารข้อนี้เป็นส่วน
พิเศษเฉพาะหมู่ญาติ.

อัญญติตถิยาปุพพกถา จบ
ภาณวารที่ จบ

อรรถกถาอัญญติตถิยวัตถุกถา


พึงทราบวินิจฉัยในอัญญติตถิปุพพวัตถุต่อไป:-
ปสุรปริพาชกนี้ก่อน ไม่ควรให้อุปสมบท เพราะกลับไปเข้ารัดเดียรถีย์
แล้ว. ส่วนเดียรถีย์แม้อื่นคนใดไม่เคยบวชในศาสนานี้มา กิจใดควรทำสำหรับ
เดียรถีย์คนนั้น เพื่อแสดงกิจนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า โย ภิกฺขเว
อญฺโญปิ
เป็นต้น.
ในคำนั้นมีวินิจฉัยดังนี้ ข้อว่า ตสฺส จตฺตาโร มาเส ปริวาโส
ทาตพฺโพ
มีความว่า ขึ้นชื่อว่าติตถิยปริวาสนี้ ท่านเรียกว่า อัปปฏิจฉันน-
ปริวาสบ้าง. ก็ติตถิยปริวาสนี้ ควรให้แก่อาชีวกหรืออเจลก ผู้เป็นปริพาชก
เปลือยเท่านั้น. ถ้าแม้เขานุ่งผ้าสาฎกหรือบรรดาผ้าวาฬกัมพลเป็นต้นผ้าอันเป็น
ธง1 แห่งเดียรถีย์อย่างใดอย่างหนึ่งมา ไม่ควรให้ปริวาสแก่เขา. อนึ่ง นักบวช
อื่น มีดาบสและปะขาวเป็นต้น ก็ไม่ควรให้เหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงสามเณรบรรพชาสำหรับเขาก่อนเทียว ด้วยคำเป็นต้นว่า ปฐมํ
เกสมสฺสุํ.
อันภิกษุทั้งหลายผู้จะให้บวชอย่างนั้น ไม่พึงสั่งภิกษุทั้งหลายว่า
ท่านจงให้บวช, ท่านจงเป็นอาจารย์, ท่านจงเป็นอุปัชฌาย์ ในเมื่อกุลบุตรผู้
เคยเป็นอัญญเดียรถีย์นั้นนั่งในท่ามกลางสงฆ์เสร็จสรรพแล้ว. เพราะภิกษุทั้ง
หลายผู้ถูกสั่งอย่างนั้น ถ้าเกลียดชังด้วยการเป็นอาจารย์อุปัชฌาย์ของเขาจะไม่
รับ ทีนั้นกุลบุตรนั้นจะโกรธว่า ภิกษุเหล่านี้ไม่เชื่อเรา แล้วพึงไปเสียก็ได้
เพราะเหตุนั้น ภิกษุทั้งหลายพึงนำเข้าไปไว้ส่วนข้างหนึ่ง แล้วจึงค่อยหาอาจารย์
และอุปัชฌาย์สำหรับเขา.

1. ต่อเป็นสัญญลักษณ์.