เมนู

ในข้อซึ่งว่า หรือถึงความพบปะกับอุปัชฌาย์ นี้ พึงทราบการพบปะกัน
ด้วยอำนาจการได้เห็นและได้ยิน. ก็ถ้าสัทธิวิหาริกอาศัยอาจารย์อยู่ เห็น
อุปัชฌาย์ไหว้พระเจดีย์อยู่ในวัคที่อยู่เดียวกันหรือเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในบ้านเดียว
กัน นิสัยย่อมระงับ. อุปัชฌาย์เห็น แต่สัทธิวิหาริกไม่เห็น นิสัยไม่ระงับ
สัทธิวิหาริกเห็น อุปัชฌาย์เดินทางไป หรือไปทางอากาศ ทราบว่า เป็นภิกษุ
แต่ไกล แต่ไม่ทราบว่า อุปัชฌาย์ นิสัยไม่ระงับ. ถ้าทราบ นิสัยระงับ
อุปัชฌาย์อยู่บนปราสาท สัทธิวิหาริกอยู่ข้างล่างแต่ไม่ทันเห็นท่าน ดื่มยาคูแล้ว
หลีกไป หรือไม่ทันเห็นท่านซึ่งนั่งที่หอฉัน ฉัน ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้วหลีกไป
หรือไม่ทันเห็นท่านแม้นั่งในมณฑปทีฟังธรรม ฟังธรรมแล้วหนีไป, นิสัยไม่
ระงับ พึงทราบการพบปะกันด้วยอำนาจการเห็นก่อนด้วยประการฉะนี้.
ส่วนการพบปะกันด้วยอำนาจการได้ยิน พึงทราบดังนี้:-
ถ้าเมื่ออุปัชฌาย์กล่าวธรรมอยู่ หรือทำอนุโมทนาอยู่ ในวัดที่อยู่ก็ดี
ในละแวกบ้านก็ดี สัทธิวิหาริกได้ยินเสียงแล้ว จะได้ว่า เสียงอุปัชฌาย์ของเรา
นิสัยระงับ เมื่อจำไม่ได้ ไม่ระงับ. วินิจฉัยในการพบปะกันเท่านี้.

โสฬสปัญจกวินิจฉัย


ลักษณะแห่งอุปัชฌาย์อาจารย์ โดยย่ออันใด ที่พระผู้มีพระภาคะเจ้าตรัส
ไว้ในหนหลังว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาดสามารถมีพรรษาครบ
10 หรือเกินกว่า 10 ให้กุลบุตรอุปสมบท ให้นิสัย ดังนี้, บัดนี้ เพื่อแสดงลักษณะ
อันนั้น โดยพิสดาร จึงตรัสดำว่า ปญฺจหื ภิกฺขเว องฺเคหิ สมนฺนาคเตน
เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ปญฺจหิ องฺเคหิ ได้แก่องค์ไม่เป็น
คุณ 5. จริงอยู่ ภิกษุนั้นเป็นผู้ชื่อว่าประกอบด้วยองค์ไม่เป็นคุณก็เพราะไม่ประ
กอบด้วยกองแห่งธรรม 5 มีกองศีลเป็นต้น.