เมนู

อรรถกถามุจจลินทกลา


หลายบทว่า อถ โข มุจฺจลินฺโท นาคราชา มีความว่า พระยานาค
ผู้มีอานุภาพใหญ่ เกิดขึ้นที่สระโบกรณีใกล้ต้นไม้จิกนั่นเอง.
หลายบทว่า สตฺตกฺขตฺตุํ โภเคหิ ปริกฺขิปิตฺวา มีความว่า
เมื่อพระยานาคนั้นวงรอบพระกาย ด้วยขนด 7 รอบ แผ่พังพานใหญ่ปก
เบื้องบนพระเศียรอยู่อย่างนั้น ร่วมในแห่งวงขนดของพระยานาคนั้น มีประมาณ
เท่าห้องเรือนคลังในโลหปราสาท, เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเป็น
เหมือนประทับนั่งในปราสาทอันอับลม มีประตูหน้าต่างปิด.
คำว่า มา ภควนฺตํ สีตํ เป็นต้น แสดงเหตุที่พระนาคนั้น
ทำอย่างนั้น. จริงอยู่ พระยานาคนั้นได้ทำอย่างนั้น ก็ด้วยตั้งใจว่า หนาวอย่า
ได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาคเจ้า. ร้อนอย่าได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาคเจ้า
และสัมผัสเหลือบเป็นต้น อย่าได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาคเจ้า อันที่จริง
เมื่อมีฝนตกพรำตลอด 7 วัน ในที่นั้น ไม่มีความร้อนเลย. ถึงอย่างนั้น
ก็สมควรที่พระยานาคนั้นจะคิดอย่างนี้ว่า ถ้าเมฆจะหายไประหว่าง ๆ ความ
ร้อนคงจะมี แม้ความร้อนนั้นอย่าได้เบียดเบียนพระองค์เลย.
บทว่า วทฺธํ ได้แก่ หายแล้ว อธิบายว่า เป็นของมีไกลเพราะหมด
เมฆ.
บทว่า วิคตวลาหกํ ได้แก่ ปราศจากเมฆ.
บทว่า เทวํ ได้แก่ อากาศ.
บทว่า สกวณฺณํ ได้แก่ รูปของตน.

สองบทว่า สุโข วิเวโก มีความว่า อุปธิวิเวก กล่าวคือ นิพพาน
เป็นสุข.
บทว่า ตุฏฺฐสฺส มีความว่า ผู้สันโดษด้วยความยินดีในจตุมรรคญาณ.
บทว่า สุต1ธมฺมสฺส ได้แก่ ผู้มีธรรมปรากฏแล้ว.
บทว่า ปสฺสโต มีความว่า ผู้เห็นอยู่ซึ่งวิเวกนั้น หรือธรรม
อย่างใดย่างหนึ่งซึ่งจะพึงเห็นได้ทั้งหมด ด้วยดวงตาคือญาณ ซึ่งได้บรรลุ
ด้วยกำลังความเพียรของตน.
ความไม่เกรี้ยวกราดกัน ชื่อว่าความไม่เบียดเบียนกัน.
ธรรมเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งเมตตา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วย
บทว่า ความไม่เบียนเบียดนั้น.
สองบทว่า ปาณภูเตสุ สญฺญโม มีความว่า และความสำรวม
ในสัตว์ทั้งหลาย อธิบายว่า ความที่ไม่เบียดเบียนกัน เป็นความสุข.
ธรรมเป็นส่วนเบื้องต้น แห่งกรุณา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วย
บทว่า ความสำรวมนั้น.
บาทคาถาว่า สุขา วิราคตา โลเก มีดวามว่า แม้ความปราศจาก
กำหนัด ก็จัดเป็นความสุข.
ถามว่า ความปราศจากกำหนัดเป็นเช่นไร ?
ตอบว่า คือความล่วงกามทั้งหลายเสีย.
อธิบายว่า ความปราศจากกำหนัดอันใด ที่ท่านเรียกว่าความล่วงกาม
ทั้งหลายเสีย แม้ความปราศจากกำหนัดอันนั้น ก็จัดเป็นความสุข. อนาคามิ-
มรรค พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยบทว่า ความปราศจากกำหนัดนั้น.

1. สุต ศัพท์ในที่นี้ ท่านให้แปลว่า ปรากฏ. เช่นอ้างไว้ใน สุมงฺคลวิลาสินี ภาค 1 หน้า 37.

ส่วนพระอรหัต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยคำนี้ว่า ความกำจัด
อัสมิมานะเสีย. จริงอยู่ พระอรหัตท่านกล่าวว่าเป็นความกำจัดด้วยระงับ
อัสมิมานะ. ก็ขึ้นชื่อว่าสุขอื่นจากพระอรหัตนี้ไม่มี เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ข้อนี้แลเป็นสุขอย่างยิ่ง.
อรรถกถามุจจสินทกถา จบ

ราชายตนกถา


เรื่องตปุสสะภัลลิะ 2 พ่อค้า


[6] ครั้นล่วง 7 วัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากสมาธินั้น
แล้วเสด็จจากควงไม้มุจจลินท์ เข้าไปยังต้นไม้ราชายตนะ แล้วประทับนั่งด้วย
บัลลังก์เดียว เสวยวิมุตติสุข ณ ควงไม้ราชายตนะ ตลอด 7 วัน
ก็สมัยนั้น พ่อค้าชื่อตปุสสะ 1 ภัลลิกะ 1 เดินทางไกลจากอุกกลชนบท
ถึงตำบลนั้น ครั้งนั้น เทพดาผู้เป็นญาติสาโลหิตของตปุสสะภัลลิกะ 2 พ่อค้า
ได้กล่าวคำนี้กะ 2 พ่อค้านั้นว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นี้ แรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ ควงไม้ราชายตนะ ท่านทั้งสองจงไป
บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ด้วยสัตตุผง และ สัตตุก้อน การบูชาของท่าน
ทั้งสองนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่ท่านทั้งหลายตลอดกาลนาน.
ครั้งนั้น พ่อค้าชื่อตปุสสะ และภัลลิกะ ถือสัตตุผงและสัตตุก้อนเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วถวายบังคม ได้ยีนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
สองพ่อค้านั้นครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ครั้นแล้วได้ทูลคำนี้แค่