เมนู

เคียงให้ช่วยขอโทษแทน. ถ้าถึงอย่างนั้นแล้ว ท่านก็ยังไม่ยอมอดโทษให้ พึง
ไปในที่อื่นแล้ววอยุ่ในสำนักของภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสภาคแก่อุปัชฌาย์ ด้วยคิดว่า
แม้ไฉนอุปัชฌาย์ได้ทราบว่า อยู่ในสำนักของภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสภาคของเรา
จะพึงอดโทษให้บ้าง. ถ้าถึงอย่างนั้นแล้ว ท่านก็ยังไม่ยอมอดโทษให้, พึงอยู่
ในที่นั้นเสียเถิด, ถ้าไม่อาจอยู่ในที่นั้นได้ด้วยโทษมีข้าวแพงเป็นต้น. จะมายัง
วัดที่อยู่เดิมนั้นแล้ว ถือนิสัยอยู่ในสำนักภิกษุอื่นก็ควร, วินิจฉัยในการสั่งบังคับ
เท่านี้ .

ว่าด้วยองค์เป็นเหตุระงับนิสัยจากอาจารย์


บรรดาองค์ 6 ซึ่งเป็นเหตุให้นิสัยระงับจากอาจารย์ ในองค์นี้ คือ
อาจารย์หลักไปเสียก็ดี มีวินิจฉัยว่า อาจารย์บ่งองค์บอกลาแล้วหลักไป บาง
องค์ไม่บอกลา. ถึงอันเตวาสิกก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน. ในอาจารย์และอันเตวา
สิก 2 ฝ่ายนั้น ถ้าอันเตวาสิกบอกลาอาจารย์ว่า ผมอยากไปที่โน้น ด้ายกรณียกิจ
เฉพาะบางอย่างขอรับ และเธออันอาจารย์ถามว่า จักไปเมื่อไร ? จึงตอบว่า
จักไปในเวลาเย็น หรือจักลุกขึ้นไปในกลางคืน พออาจารย์รับว่า ดีละ นิสัย
ระงับในทันที. แต่ถ้า เมื่อเธอกล่าวว่า ผมอยากไปที่โน้น ขอรับ อาจารย์
ตอบว่า เธอจักเที่ยวบิณฑบาตที่บ้านโน้นก่อน ภายหลังจักรู้ และภิกษุนั้นรับ
ว่า ดีแล้ว ถ้าเธอไปจากบ้านนั้น เป็นอันไปด้วยดี, แต่ถ้าไม่ไป นิสัยไม่
ระงับ. ถ้าแม้ เมื่ออันเตวาสิกกล่าวว่า ผมจะไป แต่อาจารย์สั่งว่า อย่าพึงไป
ก่อน กลางดือหารือกันแล้วจึงค่อยรู้ ดังนี้ ครั้นหารือกันแล้วจึงไป เป็นอัน
ไปด้วยดี ถ้าไม่ไป นิสัยไม่ระงับ. แต่สำหรับอันเตวาสิกผู้ไม่บอกลาอาจารย์
ก่อนหลีกไป นิสัยระงับในเมื่อล่วงอุปจารสีมาไป, เมื่อกลับเสียแต่ภายในอุปจาร

สีมา นิสัยยังไม่ระงับ ก็ถ้า อาจารย์บอกลาอันเตวาสิกว่า ฉันจักไปที่โน้นนะ
คุณ, และเมื่ออันเตวาสิกถามว่า จักไปเมื่อไร ? ตอบว่า เวลาเย็น หรือตอน
กลางคืน, พออันเตวาสิกรับว่า ดีแล้ว นิสัยระงับทันที. แต่ถ้าอาจารย์บอกว่า
พรุ่งนี้ฉันจักเที่ยวบิณฑบาตแล้วเลยไป ฝ่ายอันเตวาสิก รับว่า ดีแล้ว นิสัย
ยังไม่ระงับก่อนตลอดวันหนึ่ง ต่อวันรุ่งขึ้นจึงระงับ. อาจารย์บอกว่า ฉันจัก
ไปบิณฑบาตที่บ้านโน้นแล้ว จึงจะรู้ว่า จะไปหรือไม่ไป ถ้าไม่ไป นิสัยไม่
ระงับ. ถ้าแม้เมื่ออาจารย์บากกว่าจะไป แล้วถูกอันเตวาสิกหน่วงไว้ว่า อย่าพึง
ไปก่อน กลางคืนหารือกัน แล้วจึงค่อยทราบ, แม้หารือกันแล้วไม่ไป นิสัยก็ไม่
ระงับ. ถ้าอันเตวาสิกและอาจารย์ทั้ง 2 ต่างออกนอกสีมาไป ด้วยกรณียกิจ
บางอย่าง ลำดับนั้น ถ้าเมื่อจิตคิดจะไปเกิดขึ้น อาจารย์ไม่ทันบอกลา ไปเสีย
แล้วกลับแต่เพียงใน 2 เลฑฑุบาต. นิสัยยังไร่ระงับ ถ้าล่วง 2 เลฑฑุบาต
ออกไปแล้วจึงกลับ, นิสัยย่อมระงับ. อาจารย์และอุปัชฌาย์ อยู่ในวัดที่อยู่อื่น
ล่วง 2 เลฑฑุบาตออกไปนิสัยระงับ. อาจารย์ลาสิกขา มรณภาพ ไปเข้ารีตเสีย
นิสัยระงับทันที.
ส่วนในการสั่งบังคับวินิจฉัยว่า ถ้าแม้อาจารย์เป็นผู้มีปารถนาจะสลัด
จริง ๆ จึงผลักออกเสียด้วยประณามนิสัย. แต่อันเตวาสิกยังเป็นผู้ถืออาลัยอยู่ว่า
อาจารย์ประฌามเราเสียก็จริง แต่ว่าท่านยังเป็นผู้อ่อนโยนด้วยน้ำใจ ดังนี้
นิสัยยังไม่ระงับ. ถ้าแม้อาจารย์มีอาลัย แต่อันเตวาสิกหมดอาลัยทอดธุระว่า
คราวนี้ เราจักไม่อาศัยอาจารย์นี้อยู่ แม้อย่างนั้น นิสัยย่อมยังไม่ระงับ. และ
ด้วยข้อที่ทั้ง 2 ฝ่ายยังมีอาลัย นิสัยย่อมไม่ระงับแท้. ในเมื่อทั้ง 2 ฝ่ายทอด
ธุระ นิสัยจึงระงับ. อันเตวาสิกผู้ประณาม ควรยอมรับทัณฑกรรม. แล้วขอ
ให้อาจารย์อดโทษ 3 ครั้ง ถ้าท่านไม่อดโทษให้ พึงปฏิบัติโดยนัยที่กล่าวแล้ว
ในอุปัชฌาย์.

ในข้อซึ่งว่า หรือถึงความพบปะกับอุปัชฌาย์ นี้ พึงทราบการพบปะกัน
ด้วยอำนาจการได้เห็นและได้ยิน. ก็ถ้าสัทธิวิหาริกอาศัยอาจารย์อยู่ เห็น
อุปัชฌาย์ไหว้พระเจดีย์อยู่ในวัคที่อยู่เดียวกันหรือเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในบ้านเดียว
กัน นิสัยย่อมระงับ. อุปัชฌาย์เห็น แต่สัทธิวิหาริกไม่เห็น นิสัยไม่ระงับ
สัทธิวิหาริกเห็น อุปัชฌาย์เดินทางไป หรือไปทางอากาศ ทราบว่า เป็นภิกษุ
แต่ไกล แต่ไม่ทราบว่า อุปัชฌาย์ นิสัยไม่ระงับ. ถ้าทราบ นิสัยระงับ
อุปัชฌาย์อยู่บนปราสาท สัทธิวิหาริกอยู่ข้างล่างแต่ไม่ทันเห็นท่าน ดื่มยาคูแล้ว
หลีกไป หรือไม่ทันเห็นท่านซึ่งนั่งที่หอฉัน ฉัน ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้วหลีกไป
หรือไม่ทันเห็นท่านแม้นั่งในมณฑปทีฟังธรรม ฟังธรรมแล้วหนีไป, นิสัยไม่
ระงับ พึงทราบการพบปะกันด้วยอำนาจการเห็นก่อนด้วยประการฉะนี้.
ส่วนการพบปะกันด้วยอำนาจการได้ยิน พึงทราบดังนี้:-
ถ้าเมื่ออุปัชฌาย์กล่าวธรรมอยู่ หรือทำอนุโมทนาอยู่ ในวัดที่อยู่ก็ดี
ในละแวกบ้านก็ดี สัทธิวิหาริกได้ยินเสียงแล้ว จะได้ว่า เสียงอุปัชฌาย์ของเรา
นิสัยระงับ เมื่อจำไม่ได้ ไม่ระงับ. วินิจฉัยในการพบปะกันเท่านี้.

โสฬสปัญจกวินิจฉัย


ลักษณะแห่งอุปัชฌาย์อาจารย์ โดยย่ออันใด ที่พระผู้มีพระภาคะเจ้าตรัส
ไว้ในหนหลังว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาดสามารถมีพรรษาครบ
10 หรือเกินกว่า 10 ให้กุลบุตรอุปสมบท ให้นิสัย ดังนี้, บัดนี้ เพื่อแสดงลักษณะ
อันนั้น โดยพิสดาร จึงตรัสดำว่า ปญฺจหื ภิกฺขเว องฺเคหิ สมนฺนาคเตน
เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ปญฺจหิ องฺเคหิ ได้แก่องค์ไม่เป็น
คุณ 5. จริงอยู่ ภิกษุนั้นเป็นผู้ชื่อว่าประกอบด้วยองค์ไม่เป็นคุณก็เพราะไม่ประ
กอบด้วยกองแห่งธรรม 5 มีกองศีลเป็นต้น.