เมนู

นิสัยแล้ว ก็คงทำวัตรตั้งแต่ต้นจนถึงย้อมจีวร แต่ไม่เป็นอาบัติแก่อันเตวาสิก
เหล่านั้น ในเพราะเหตุมีไม่เรียนถามก่อนแล้วให้บาตรเป็นต้น. และในอัน
เตวาสิกเหล่านี้ ปัพพชันเตวาสิกและอุปสัมปทันเตวาสิก เป็นภาระของอาจารย์
ตลอดชีวิต นิสสยันเตวาสิกและธัมมันเทวาสิก ยังอยู่ในสำนักเพียงใด เป็น
ภาระของอาจารย์เพียงนั้นทีเดียว เพราะเหตุนั้น ฝ่ายอาจารย์จึงต้องประพฤติใน
อันเตวาสิกเหล่านั้นด้วย เพราะว่า ทั้งอาจารย์ ทั้งอันเตวาสิก ฝ่ายใด ๆ ไม่
ประพฤติชอบย่อมเป็นอาบัติแก่ฝ่ายนั้น ๆ.
อรรถกถาว่าด้วยองค์แห่งอุปัชฌาย์จบ

ว่าด้วยองค์เป็นเหตุระงับนิสัย


ในองค์เป็นเหตุระงับนิสัยจากอุปัชฌาย์ เป็นต้นว่า อุปัชฌาย์หลีกไป
เสียก็ดี มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
บทว่า ปกฺกนฺโต มีความว่า อุปัชฌาย์ใคร่จะย้ายไปจากอาวาสนั้น
หลีกไปเสีย คือ ไปสู่ทิศ. ก็แลเมื่อท่านไปแล้วอย่างนั้น. ถ้าในวิหารมีภิกษุ.
ผู้ให้นิสัย. หรือแม้ในกาลอื่น ตนเคยถือนิสัยในสำนักภิกษุใด. หรือภิกษุใด
มีสมโภคและบริโภคเป็นอย่างเดียวกัน พึงถือนิสัยในสำนักภิกษุนั้น. แม้วัน
เดียวก็คุ้มอาบัติไม่ได้. ถ้าภิกษุเช่นนั้นไม่มี ภิกษุอื่นที่เป็นลัชชีมีศีลเป็นที่รักมี
อยู่ เมื่อทราบว่าเธอเป็นลัชชี มีศีลเป็นที่รัก พึงขอนิสัยในวันนั้นทีเดียว. ถ้า
เธอให้ การให้อย่างนั้นนั่นเป็นการดี แต่ถ้าเธอถามว่า อุปัชฌาย์ของท่าน
จักกลับเร็วหรือ และอุปัชฌาย์ได้พูดไว้อย่างนั้น พึงตอบว่า ถูกละขอรับ แล
ถ้าเธอกล่าวว่า ถ้ากระนั้น จงคอยอุปัชฌาย์มาเถิด จะรออุปัชฌาย์กลับก็ควร.

แต่ถ้าโดยปกติ ทราบไม่ได้ว่า เธอเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก พึงสังเกตสัก 4- 5
วันว่า ภิกษุนั้นจะเป็นสภาคกันหรือไม่ แล้ว ให้เธอทำโอกาส ขอนิสัย. แต่
ถ้าในวัดที่อยู่ ไม่มีภิกษุผู้ให้นิสัย ทั้งอุปัชฌาย์ได้สั่งว่า ฉันจักไปสัก 2-3 วัน
พวกคุณอย่าทุรนทุรายใจเลย ดังนี้จึงไป ได้ความคุ้มอาบัติจนกว่าท่านจะกลับ
มา. ถ้าแม้ชาวบ้านในที่นั้น เขานิมนต์ให้ท่านอยู่เกินกว่าเวลาที่กำหนดไว้บ้าง
5 วันหรือ 10 วันไซร้, อุปัชฌาย์นั้นพึงส่งข่าวไปวัดที่อยู่ว่า พวกภิกษุหนุ่ม
อย่าทุรนทุรายใจเลย ฉันจักกลับในวันโน้น. แม้อย่างนี้ ก็ได้ความคุ้มอาบัติ.
ภายหลังเมื่ออุปัชฌาย์กำลังกลับมา มีความติดขัดในระหว่างทาง ด้วยน้ำเต็ม
แม่น้ำ หรือด้วยโจรเป็นต้น พระเถระคอยน้ำลดหรือหาเพื่อน ถ้าพวกภิกษุ
หนุ่มทราบข่าวนั้น ได้ความคุ้มอาบัติจนกว่าท่านจะกลับมา. แต่ถ้าท่านส่งข่าว
มาว่า ฉันจักอยู่ที่นี้แหละ ดังนี้ คุ้มอาบัติไม่ได้. จะได้นิสัยในที่ใด พึงไปใน
ที่นั้น แต่เมื่ออุปัชฌาย์สึกหรือมรณภาพ หรือไปเข้ารีตเดียรถีย์เสีย แม้วัน
เดียว ก็คุ้มอาบัติไม่ได้. จะได้นิสัยในที่ใด พึงไปในที่นั้น.
บทว่า วิพฺภนฺโต ได้แก่ เคลื่อนจากศาสนา. การประณามนิสัย
ท่านเรียกว่า อาณัติ คือ สั่งบังคับ. เพราะเหตุนั้น ภิกษุใดถูกอุปัชฌาย์ผลัก
ออกด้วยประณามนิสัย โดยนัยพระบาลีนี้ว่า ฉันประณามเธอ หรือว่า อย่า
เข้ามา ณ ที่นี้ หรือว่า จงขนบาตรจีวรของเธอออกไปเสีย หรือว่า เธอไม่
ต้องอุปัฏฐากฉันดอกดังนี้ก็ดี โดยนัยพ้นจากบาลีเป็นต้นว่า เธออย่าบอกลาเข้า
บ้านกะฉันเลย ดังนี้ก็ด็ ภิกษุนั้น พึงขอให้อุปัชฌาย์อดโทษ. ถ้าท่านไม่ยอม
อดโทษให้แต่แรก. พึงยอมรับทัณฑกรรมแล้ว ขอให้ท่านอดโทษด้วยตนเอง
3 ครั้งก่อน, ถ้าท่านไม่ยอมอดโทษให้ พึงเชิญพระมหาเถระที่อยู่ในวัดนั้นให้
ช่วยขอโทษแทน. ถ้าท่านไม่ยอมอดโทษพึงวานภิกษุทั้งหลายที่อยู่ในวัดใกล้

เคียงให้ช่วยขอโทษแทน. ถ้าถึงอย่างนั้นแล้ว ท่านก็ยังไม่ยอมอดโทษให้ พึง
ไปในที่อื่นแล้ววอยุ่ในสำนักของภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสภาคแก่อุปัชฌาย์ ด้วยคิดว่า
แม้ไฉนอุปัชฌาย์ได้ทราบว่า อยู่ในสำนักของภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสภาคของเรา
จะพึงอดโทษให้บ้าง. ถ้าถึงอย่างนั้นแล้ว ท่านก็ยังไม่ยอมอดโทษให้, พึงอยู่
ในที่นั้นเสียเถิด, ถ้าไม่อาจอยู่ในที่นั้นได้ด้วยโทษมีข้าวแพงเป็นต้น. จะมายัง
วัดที่อยู่เดิมนั้นแล้ว ถือนิสัยอยู่ในสำนักภิกษุอื่นก็ควร, วินิจฉัยในการสั่งบังคับ
เท่านี้ .

ว่าด้วยองค์เป็นเหตุระงับนิสัยจากอาจารย์


บรรดาองค์ 6 ซึ่งเป็นเหตุให้นิสัยระงับจากอาจารย์ ในองค์นี้ คือ
อาจารย์หลักไปเสียก็ดี มีวินิจฉัยว่า อาจารย์บ่งองค์บอกลาแล้วหลักไป บาง
องค์ไม่บอกลา. ถึงอันเตวาสิกก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน. ในอาจารย์และอันเตวา
สิก 2 ฝ่ายนั้น ถ้าอันเตวาสิกบอกลาอาจารย์ว่า ผมอยากไปที่โน้น ด้ายกรณียกิจ
เฉพาะบางอย่างขอรับ และเธออันอาจารย์ถามว่า จักไปเมื่อไร ? จึงตอบว่า
จักไปในเวลาเย็น หรือจักลุกขึ้นไปในกลางคืน พออาจารย์รับว่า ดีละ นิสัย
ระงับในทันที. แต่ถ้า เมื่อเธอกล่าวว่า ผมอยากไปที่โน้น ขอรับ อาจารย์
ตอบว่า เธอจักเที่ยวบิณฑบาตที่บ้านโน้นก่อน ภายหลังจักรู้ และภิกษุนั้นรับ
ว่า ดีแล้ว ถ้าเธอไปจากบ้านนั้น เป็นอันไปด้วยดี, แต่ถ้าไม่ไป นิสัยไม่
ระงับ. ถ้าแม้ เมื่ออันเตวาสิกกล่าวว่า ผมจะไป แต่อาจารย์สั่งว่า อย่าพึงไป
ก่อน กลางดือหารือกันแล้วจึงค่อยรู้ ดังนี้ ครั้นหารือกันแล้วจึงไป เป็นอัน
ไปด้วยดี ถ้าไม่ไป นิสัยไม่ระงับ. แต่สำหรับอันเตวาสิกผู้ไม่บอกลาอาจารย์
ก่อนหลีกไป นิสัยระงับในเมื่อล่วงอุปจารสีมาไป, เมื่อกลับเสียแต่ภายในอุปจาร