เมนู

อรรถกถาว่าด้วยองค์แห่งอุปัชฌาย์


คำว่า กินฺตายํ ภิกฺขุ โหติ มีความว่า ภิกษุนี้ เป็นอะไร กับท่าน.
ข้อว่า อญฺเญหิ โอวทิโย อนุสาสิโย มีความว่า ท่าน อันภิกษุ
เหล่าอื่นต้องตักเตือนและต้องพร่ำสอน.
ข้อว่า พาหุลฺลาย อาวตฺโต อทิทํ คณพนฺธิกํ มีความ ว่า
ความพัวพันด้วยหมู่ ของความเป็นผู้มักมากนี้มีอยู่ เหตุนั้นความเป็นผู้มักมาก
นี้ ชื่อว่า มีความพัวพันด้วยหมู่ มีคำอธิบายว่า ความเป็นผู้มักมากที่ชื่อว่า
มีความพัวพันด้วยหมู่นี้อันใด ท่านเวียนมาเพื่อประโยชน์แก่ความเป็นผู้มักมาก
อันนั้น เร็วนัก.
บทว่า อพฺยตฺตา ได้แก่ ผู้ปราศจากปัญญาเครื่องเป็นผู้ฉลาด.
สองบทว่า อญฺญตโรปิ อญฺญติตฺถิยปุพฺโพ ได้แก่ปริพาชก ชื่อ
ปสุระ. ได้ยินว่า เขาคิดว่า จักขโมยธรรม จึงบวชในสำนักพระอุทายีเถระ
ผู้อันท่านว่ากล่าวอยู่โดยชอบธรรม ได้ยกวาทะของท่าน.
ภิกษุผู้ฉลาดในคำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว พฺยตฺเตน ภิกฺขุนา
เป็นต้น มีลักษณะดังกล่าวแล้วในอรรถกถาแห่งภิกขุโนวาทกสิกขาบทใน
หนหลังนั้นแล.1 ส่วนภิกษุผู้สามารถทำกิจเป็นต้นว่า พยาบาลอันเตวาสิก หรือ
สัทธิวิหาริกซึ่งอาพาธ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์ว่า ผู้สามารถ ในที่นี้.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส แม้คำนี้ไว้ว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยองค์ 5 ควรให้กุลบุตรอุปสมบท ควรให้นิสัย ควรให้สามเณรอุปัฏฐาก
ด้วยองค์ 5 เหล่าไหน ? เหล่านี้คือ เป็นผู้สามารถพยาบาลเอง หรือให้ผู้อื่น

1. สมนฺต. ทุติย. 350

ช่วยพยาบาลอันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกผู้อาพาธ, เป็นผู้สามารถระงับเองหรือ
ให้ผู้อื่นช่วยระงับความกระสันของอันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริก เป็นผู้สามารถ
บรรเทาเองหรือให้ผู้อื่นช่วยบรรเทาความรังเกียจ ซึ่งเกิดขึ้นแล้วเสียโดยธรรม,
เป็นผู้สมามารถแนะนำในอภิธรรม แนะนำในอภิวินัย.1

ว่าด้วยทรงอนุญาตนิสยาจารย์


บทว่า ปกฺขสงฺกนฺเตสุ ได้แก่ ไปเข้าพวกเดียรถีย์.
ข้อว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว อาจริยํ มีความว่า เราอนุญาตอาจารย์
ผู้ฝึดหัดอาจาระและสมาจาร.
คำทั้งปวงเเป็นต้นว่า อาจริโย ภิกฺขเว อนฺเตวาสิกมฺหิ พึงทราบ
ด้วยอำนาจคำที่ กล่าวแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า อุปชฺฌาโย ภิกฺขเว สทฺธิ-
วิหารริกมฺหิ
นั่นแล. เพราะว่า ในคำว่า อาจริโย เป็นต้น ต่างกันแต่เพียง
ชื่อเท่านั้น.
ส่วนในคำว่า อันเทวาสิกทั้งหลายไม่พระพฤติชอบในอาจารย์ทั้งหลาย
นี้ผู้ศึกษาพึงทราบว่า เป็นอาบัติแก่นิสสยันเตวาสิก โดยลักษณะที่ข้าพเจ้า
กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั้นแลว่า ก็ในการไม่ประพฤติชอบ มีวินิจฉัยดังนี้:-
เมื่อสัทธิวิหาริกไม่ทำวัตรเพียงย้อมจีวร ความเสื่อมย่อมมีแก่อุปัชฌาย์ เพราะ
เหตุนั้น จึงเป็นอาบัติเหมือนกันทั้งผู้พ้นนิสัยแล้ว ทั้งผู้ยังไม่พ้น ซึ่งไม่ทำวัตร
นั้นและว่า ตั้งแต่ให้บาตรแก่คนบางคนไป เป็นอาบัติแก่ผู้ยังไม่พ้น นิสัยเท่านั้น
เพราะว่านิสสยันเตวาสิก ควรทำอาจริยวัตรทั้งปวง เพียงเวลาที่ตนอาศัย
อาจารย์อยู่. ฝ่ายปัพพชันเตวาสิก อุปสัมปทันเตวาสิกและธัมมันเตวาสิกแม้พ้น

1. ดูกำอธิบายหน้า 232.