เมนู

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนภิกษุจึงได้บวชในพระธรรมวินัย อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วอย่างนี้
เพราะเหตุแห่งท้องเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุนั้นว่า จริงหรือ ภิกษุ ข่าวว่า
เธอบวชเพราะเหตุแห่งท้อง.
ภิกษุนั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน


พระผู้มีพระภายพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง
ได้บวชในธรรมวินัยที่เรากล่าวดีแล้วอย่างนี้ เพราะเหตุแห่งท้องเล่า ดูก่อน
โมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง
ไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสแล้ว . . . ครั้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถารับสั่ง
กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ให้อุปสมบท
บอกนิสัย 4 ว่าดังนี้:-

นิสสัย 4


1. บรรพชาอาศัยโภชนะคือคำข้าวอันหาได้ด้วยกำลังปลีแข้ง เธอพึง
ทำอุทสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต อดิเรกลาภ คือ ภัคถวายสงฆ์ ภัตเฉพาะสงฆ์
การนิมนต์ ภัตถวายตามสลาก ภัตถวายในปักษ์ ภัตถวายในวันอุโบสถ์ ภัต-
ถวายในวันปาฏิบท.
2. บรรพชาอาศัยบังสุกุลจีวร เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต
อติเรกลาภ คือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าเจือ
กัน เช่นผ้าด้ายแกมไหม.

3. บรรพชาอาศัยโคนไม้เป็นเสนาสนะ เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้น
ตลอดชีวิต อาดิเรกลาภ คือ วิหาร เรือนมุงแถบเดียว เรือนชั้น เรือนโล้น
ถ้า.
4. บรรพชาอาศัยมูตรเน่าเป็นยา เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอด
ชีวิต อดิเรกลาภ คือ เนยใส เนยขึ้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย.

อุปัชฌายวัตรภาณวาร จบ

อรรถกถาญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา


วินิจฉัยในเรื่องราธพราหมณ์ต่อไป. พระสารีบุตรผู้มีอายุย่อมทราบ
บรรพชาและอุปสมบท ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตด้วยไตรสรณคมน์
ที่กรุงพาราณสี แม้โดยแท้ ถึงกระนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์จะ
ห้ามอุปสมบทอันเพลานั้นแล้ว ทรงอนุญาตอุปสมบททำให้กวดขัน ด้วย
ญัตติจตุตถกรรม คราวนั้น พระเถระทราบพระอัธยาศัยของพระองค์ จึงกราบ
ทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จะให้พราหมณ์นั้นบรรพชาอุปสมบทอย่างไร ?
จริงอยู่ บริษัทของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ฉลาดในอัธยาศัย
และพระผู้มีอายุสารีบุตรนี้ เป็นผู้ประเสริฐเป็นยอดของพุทธบริษัท.
ในคำว่า พฺยตฺเตน ภิกฺขุนา ปฏิพเลน นี้ มีวินิจฉัยว่า วินัยปิฎก
พร้อมทั้งอรรถกถาของภิกษุใด ช่ำชองคล่องปาก ภิกษุนั้น จัดว่าผู้ฉลาด เมื่อ
ภิกษุเช่นนั้นไม่มี พุทธวจนะ โดยที่สุด แม้เพียงญัตติจตุตถกัมมวาจานี้ ของ
ภิกษุใด เป็นของที่จำได้ถูกต้องช่ำของคล่องปาก แม้ภิกษุนี้ ก็จัดว่าเป็นผู้ฉลาด
ในอรรถนี้ได้. ฝ่ายภิกษุใดไม่สามารถสวดกัมมวาจาด้วยบทและพยัญชนะอัน