เมนู

3. หาความละอายอย่างยิ่งมิได้.
4. หาความเคารพอย่างยิ่งมิได้ และ
5. หาความหวังดีต่ออย่างยิ่งมิได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล อุปัชฌายะ
เมื่อไม่ประณาม มีโทษ เมื่อประณาม ไม่มีโทษ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ 5 อุปัชฌายะเมื่อ
ประณาม มีโทษ เมื่อไม่ประณามไม่มีโทษ คือ:-
1. มีความรักใคร่อย่างยิ่งในอุปัชฌายะ.
2. มีความเลื่อมใสอย่างยิ่ง.
3. มีความละอายอย่างยิ่ง.
4. มีความเคารพอย่างยิ่ง และ
5. มีความหวังดีต่ออย่างยิ่ง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล อุปัชฌายะ
เมื่อประณาม มีโทษ เมื่อไม่ประณาม ไม่มีโทษ.

อรรถกถาสัมมาวัตตนาทิกถา


ข้อว่า น สมฺมา วตฺตนฺติ มีความว่า ไม่ทำอุปัชฌายวัตรตามที่
ทรงบัญญัติไว้ให้เต็ม.
ข้อว่า โย น สมฺมา วตฺเตยฺย มีความว่า สัทธิวิหาริกใด ไม่ทำ
วัตรตามที่ทรงบัญญัติไว้ให้เต็ม สัทธิวิหาริกนั้นต้องทุกกฏ.
บทว่า ปณาเมตพฺโพ ได้แก่ พึงรุกราน.

ข้อว่า นาธิมตฺตํ เปมํ โหติ มีความว่า ไม่มีความรักฉันบุตรกับ
ธิดายิ่งนักในอุปัชฌาย์.
ข้อว่า นาธิมตฺตา ภาวนา โหติ มีความว่า ไม่ปลูกไม่ตรียิ่งนัก.
ฝ่ายดีพึงทราบโดยปฏิปักขนัยกับที่กล่าวแล้ว.
ข้อว่า อลํ ปณาเมตุํ มีความว่า สมควรประณาม.
ข้อว่า อปฺปณาเมนฺโต อุปชฺฌาโย สาติสาโร โหติ มีความว่า
เมื่ออุปัชฌาย์ไม่ประณาม ย่อมเป็นผู้มีโทษ คือย่อมต้องอาบัติ. เพราะเหตุ
ฉะนั้น เมื่อสัทธิวิหาริกไม่ประพฤติชอบ ควรต้องประณามแท้. ก็ในการไม่
ประพฤติชอบ มีวินิจฉัยดังนี้:-
เมื่อสัทธิวิหาริกไม่ทำวัตรเพียงย้อมจีวร ความเสื่อมย่อมมีแก่อุปัชฌาย์.
เพราะเหตุนั้น เมื่อสัทธิวิหาริกผู้พ้นนิสัยแล้วก็ดี ยังไม่พ้นก็ดี ไม่ทำวัตรนั้น
เป็นอาบัติเหมือนกัน. ตั้งแต่ให้บาตรแก่คนบางคนไป เป็นอาบัติแก่ผู้ยังไม่พ้น
นิสัยเท่านั้น. เหล่าสัทธิวิหาริกประพฤติชอบ อุปัชฌาย์ไม่พระพฤติชอบ เป็น
อาบัติแก่อุปัชฌาย์. อุปัชฌาย์ประพฤติชอบ พวกสัทธิวิหาริกไม่ประพฤติชอบ
เป็นอาบัติแก่พวกเธอ. เมื่ออุปัชฌาย์ยินดีวัตร พวกสัทธิวิหาริกถึงมีอยู่มาก
เป็นอาบัติทุกรูป. ถ้าอุปัชฌาย์กล่าวว่า อุปัฏฐากของฉันมี พวกเธอจงทำความ
เพียรในสาธยายและมนสิการเป็นต้น ของตนเถิด ไม่เป็นอาบัติแก่พวกสัทธิ-
วิหาริก. ถ้าอุปัชฌาย์ไม่รู้จักความยินดีหรือไม่ยินดี เป็นผู้เขลา สัทธิวิหาริกมี
มากรูป ในพวกเธอถ้าภิกษุถึงพร้อมด้วยวัตรรูปหนึ่ง ปล่อยภิกษุนอกนั้นเสีย
รับ เป็นภาระของตนอย่างนี้ว่า ผมจักทำกิจของอุปัชฌาย์แทน พวกท่านจงเป็น
ผู้มีความขวนขวายน้อยอยู่เถิด ดังนี้ ไม่เป็นอาบัติแก่เธอทั้งหลายจำเดิมแต่ไว้
ภาระแก่ภิกษุนั้นไป.
อรรถกถาสัมมาวัตตนาทิกถา จบ

มูลเหตุอุปสมบทด้วยญัตติจตุตกรรม


เรื่องพราหมณ์คนหนึ่ง


[85] ก็โดยสมัยนั้นแล พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปหาภิกษุทั้งหลาย
แล้วขอบรรพชา ภิกษุทั้งหลายไม่ปรารถนาจะให้เธอบรรพชา เมื่อเธอไม่ได้
บรรพชาในสำนักภิกษุ จึงได้ซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณคล้ำ มีผิว
เหลืองขึ้น ๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็น
พราหมณ์นั้นซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลืองขึ้น ๆ มีเนื้อ
ตัวสะพรั่งด้วยเอ็น ครั้นแล้วรับสั่งถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เหตุไฉนพราหมณ์นั้นจึงได้ซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลือง
ขึ้น ๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็นเล่า ?
ภิกษุทั้งหลายทูลว่า เพราะพราหมณ์นั่นเข้าไปหาภิกษุทั้งหลาย แล้ว
ขอบรรพชา ภิกษุทั้งหลายไม่ปรารถนาจะให้เธอบรรพชา เมื่อเธอไม่ได้
บรรพชาในสำนักภิกษุ จึงได้ซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลือง
ขึ้น ๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น พระพุทธเจ้าข้า.
ทีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย ใครระลึกถึงบุญคุณของพราหมณ์นั้นได้บ้าง ? เมื่อตรัสถามอย่างนี้แล้ว
ท่านพระสารีบุตรได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าพระพุทธเจ้าระลึกถึง
บุญคุณของพราหมณ์นั้นได้อยู่ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนสารีบุตร ก็เธอระลึกถึงบุญคุณของพราหมณ์นั้น ได้อย่างไร
บ้าง ?