เมนู

พวกสญชัยทั้งปวงไปแล้ว บัดนี้ จักทรงนำ
ใครไปอีกเล่า.

ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวโต้ตอบต่อประชาชนพวกนั้น ด้วยคาถานี้ ว่า
ดังนี้:-
พระตถาคตทั่งหลายผู้แกล้วกล้ามาก
ย่อมทรงนำชนทั้งหลายไปด้วยพระสัทธรรม
เมื่อชนทั้งหลายอันพระองค์ทรงนำไปอยู่โดย
ธรรม ผู้เข้าใจอย่างนี้จะริษยาทำไม.

[76] ประชาชนกล่าวอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า พระสมณะเชื้อสายพระ-
ศากยบุตรทรงนำชนทั้งหลายไปโดยธรรม ไม่ทรงนำไปโดยอธรรม.
เสียงนั้นได้มีเพียง 7 วันเท่านั้น พ้น 7 วัน ก็หายไป.
พระสารีบุตรพระโมคคัลลานะบรรพชา จบ
จตุตถภาณวาร จบ


อรรถกถาสารีปุตตโมคคัลลานบรรพชา


บทว่า สาริปุตฺตโมคฺคลฺลานา ได้แก่ พระสารีบุตร 1 พระ-
โมคคัลลานะ 1 ท่านทั้ง 2 ได้ทำกติกากันไว้ว่า ผู้ใดพบอมตธรรมก่อน ผู้
นั้นจงบอกแก่อีกฝ่ายหนึ่ง.
ได้ยินว่าท่านทั้ง 2 นั้น ในเวลาเป็นคฤหัสถ์มีชื่อปรากฏอย่างนี้ว่า
อุปติสสะ โกลิตะ มีมาณพ 250 เป็นบริวารได้ไปดูมหรสพซึ่งมี ณ ยอดเขา.1

1. คิรคฺคสมชฺช มหรสพฉลองประจำปี ณ กรุงราชคฤห์, มหรสพยอดเขา.

สองสหายเห็นมหาชนในที่นั้นแล้ว ไดมีความรำพึงว่า ขึ้นชื่อว่าหมู่มหาชน
อย่างนี้ ๆ ยังไม่ทันถึง 100 ปี ก็จักตกอยู่ในปากแห่งความตาย.
ลำดับนั้น สหายทั้ง 2 เมื่อบริษัทลุกขึ้นแล้ว ได้ไต่ถามกันและกัน
มีอัธยาศัยร่วมกัน มีความสำคัญว่าความตายปรากฏเฉพาะหน้า ปรึกษากันว่า
เพื่อน เมื่อความตายมี ธรรมที่ไม่ตายก็ต้องมีด้วย. เอาเถิด เราค้นหาธรรมที่
ไม่ตายกันเถิดดังนี้.
เพื่อค้นหาธรรมที่ไม่ตาย จึงพร้อมด้วยบริษัทบวชในสำนักสญชัยปริ-
พาชกผู้นุ่งผ้า ไม่กี่วันนักก็ถึงฝั่งในลัทธิสมัยซึ่งเป็นวิสัยแห่งญาณของสญชัยนั้น.
เมื่อมองไม่เห็นอมตธรรม จึงถามว่า ท่านอาจารย์ กระผมขอถาม
แก่นสารแม้อื่นในบรรพชานี้จะยังมีอยู่หรือ ?
ได้ฟังคำตอบของท่านว่า ไม่มี ผู้มีอายุ และว่า ลัทธินี้มีเท่านี้แล.
จึงได้ทำกติกาไว้ว่า ผู้มีอายุ ลัทธินี้เหลวไหลไม่มีแก่นสาร ที่นี้ใน
พวกเรา ผู้ใดพบอมตธรรมก่อน ผู้นั้นจงบอกแก่อีกฝ่ายหนึ่ง.
เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ท่านทั้ง
2 ได้ทำกติกากันไว้.
ตติยาวิภัตติ ในลักษณะแห่งอิตถัมภูต ผู้ศึกษาพึงทราบในบททั้งหลาย
ว่า ปาสาทิเกน อภิกฺกนฺเตน เป็นต้น. คำนี้ว่า อตฺถิเกหิ อุปญาตํ
มคฺคํ
เป็นคำแสดงเหตุแห่งการติดตาม. จริงอยู่ มีคำที่ท่านอธิบายไว้ดังนี้ว่า
อย่ากระนั้นเลย เราพึงตามติดภิกษุนี้ไปช้างหลัง ๆ. เพราะเหตุไร ? เพราะ
เหตุว่าธรรมดาการตามติดไปข้างหลัง ๆ นี้ เป็นทางที่ผู้มีความต้องการทั้งหลาย
รู้จักเข้าหาแล้วอธิบายว่า เป็นมรรคา อันชนทั้งหลายผู้มีความต้องการรู้แล้ว
และดำเนินเข้าหาแล้ว .

อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นความในคำนี้อย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่านิพพาน อัน
เราทั้งหลายผู้มีความต้องการ รู้ชัดแล้วว่า มีอยู่แน่นอนด้วยอนุมานอย่างนี้ว่า
เมื่อความตายมี ธรรมที่ไม่ทายก็ต้องมีด้วย อย่ากระนั้นเลย เราเมื่อแสวงหาคือ
เมื่อค้นหา นิพพานนั้น พึงตามติดภิกษุนี้ไปข้างหลัง ๆ.
หลายบทว่า ปิณฺฑปาตํ อาทาย ปฏิกฺกมิ มีความว่า พระอัสสชิผู้
มีอายุ เข้าไปนั่งชิดเชิงฝาเเห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้วในสุทินน-
กัณฑ์1. แม้สารีบุตรเล่า ยืนคอยเวลาอยู่ว่า ยังไม่ใช่เวลาที่จะถามปัญหาก่อน
เพื่อจะบำเพ็ญวัตตปฏิบัติ จึงถวายน้ำจากคนโทของตน แก่พระเถระผู้เสร็จ
ภัตตกิจแล้ว กระทำปฏิสันถารกับพระเถระผู้ล้างมือและเท้าแล้ว ถามปัญหา.
เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า อถ โข สารี-
ปุตฺโต ปริพฺพาชโก
เป็นต้น.
สองบทว่า น ตฺยาหํ สกฺโกมิ ตัดบทว่า น เต อหํ สกฺโกมิ
แปลว่า สำหรับท่าน เราไม่อาจ.
แต่ว่า พระเถระถึงปฏิสัมภิทาญาณในธรรมวินัยนี้ จะไม่อาจเพื่อแสดง
ธรรมเพียงเท่านี้หามิได้ โดยที่แท้ ท่านคิดว่า เราจักปลูกความเคารพในธรรม
แก่ผู้นี้ ได้ถือเอาข้อที่การแสดงธรรมในพุทธวิสัยโดยอาการทั้งปวงไม่ใช่วิสัย
ของท่าน จึงกล่าวอย่างนั้น.
บาทคาถาว่า เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา มีความว่า เบญจขันธ์ชื่อว่า
ธรรมมีเหตุเป็นแดนเกิด. พระเถระแสดงทุกขสัจ แก่สารีบุตรนั้นด้วยคำนั้น.
บาทคาถาว่า เตสํ เหตุํ ตถาคโต อาห มีความว่า สมุทยสัจ
ชื่อว่าเหตุแห่งเบญจขันธ์นั้น พระเถระแสดงว่า พระตถาคตตรัสสมุทยสัจนั้น
ด้วย.

1. มหาวิภงฺค. ปฐม. 27.

บาทคาถาว่า เตสญฺจ โย นิโรโธ จ มีความว่า พระตถาคตตรัส
ความดับคือความไม่เป็นไปแห่งสัจจะแม้ทั้ง 2 นั้นด้วย พระเถระแสดงนิโรธ-
สัจแก่สารีบุตรนั้นด้วยคำนั้น. ส่วนมรรคสัจ แม้ท่านไม่ได้แสดงรวมไว้ใน
คาถานี้ ก็เป็นอันแสดงแล้วโดยนัย. เพราะว่าเมื่อกล่าวนิโรธ มรรคซึ่งเป็น
เหตุให้ถึงนิโรธนั้น ก็เป็นอันกล่าวด้วย.
อีกอย่างหนึ่ง ในบาทคาถาว่า เตสญฺจ โย นิโรโธ จ นี้ สจจะแม้ 2
เป็นอันพระเถระแสดงแล้ว อย่างนี้ว่า ความคับแห่งสัจจะทั้ง 2 นั้น และ
อุบายแห่งความคับแห่งสัจจะทั้ง 2 นั้น ฉะนี้แล. บัดนี้ พระเถระเมื่อจะยัง
เนื้อความนั้นนั่นแลให้รับกัน จึงกล่าวว่า พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้.
บาทคาถาว่า เอเสว ธมฺโม ยทิ ตาวเทว มีความว่า แม้ถ้าว่า
ธรรมที่ยิ่งกว่านี้ไม่มีไซร้ ธรรมเพียงเท่านี้เท่านั้นคือคุณ มาตรว่าโสดาปัตติ-
ผลนี้เท่านั้น อันข้าพเจ้าจะพึงบรรลุ ถึงอย่างนั้นธรรมนี้นั่นแล อันข้าพเจ้า
ค้นหาแล้ว.
บาทคาถาว่า ปจฺจพฺยถา ปทมโสกํ มีความว่า พวกข้าพเจ้าเที่ยว
ค้นหาทางอันไม่มีความโศกใด ท่านทั้งหลายนั่นแล ย่อมตรัสรู้ทางอันไม่มี
ความโศกนั้น อธิบายว่า ทางนั้น อันท่านทั้งหลายบรรลุแล้ว.
กึ่งคาถาว่า อทิฏฺฐํ อพฺภุติตํ พหุเกหิ กปฺปนหุเตหิ มีความ
ว่า ทางอันไม่มีความโศกนี้ ชื่ออันข้าพเจ้าทั้งหลาย ไม่เห็นแล้วทีเดียว ล่วง
ไปนักหนาตั้งหลายนหุตแห่งกัลป์ สารีบุตรปริพาชกแสดงข้อที่ตนมีความเสื่อม
ใหญ่ตลอดกาลนาน เพราะเหตุ ที่ไม่ได้เห็นทางนั้นด้วยประการดังนี้.

1. ปาฐะโนอรรถกถาว่า ตถาปิ เอโสเอว ธมฺโม. โยชนาหน้า 184 แก้ขยายความว่า ตถาปี
เอโสเอว มยา คเวสิโต นิพฺพานสงฺขาโต ธมฺโมติ อตฺโถ. จึงได้แปลไว้อย่างนี้ หรืออีกนัย
หนึ่งว่า ธรรมที่ข้าพเจ้าค้นหาแล้ว ก็ธรรมนี้นั้นแล.

บาทคาถาว่า คมฺภีเร ญาณวิสเย มีความว่า เป็นธรรมอันลึกซึ่ง
ด้วย เป็นวิสัยแห่งญาณอันลึกซึ้งด้วย.
บาทคาถาว่า อนุตฺตเร อุปธิสงฺขเย ได้แก่ นิพพาน.
บทว่า วมุตฺเต มีความว่า ผู้นั้นพ้นแล้วด้วยวิมุติมีนิพพานนั้นเป็น
อารมณ์.
บทว่า พฺยากาสิ มีความว่า พระศาสดาเมื่อตรัสว่า คู่แห่งสหายนั้น
จักเป็นคู่อัครสาวก เป็นคู่ที่เจริญของเรา ดังนี้ ชื่อว่าทรงพยากรณ์แล้วซึ่งคู่
แห่งสหายในสาวกบารมีญาณ.
ข้อว่า สา ว เตสํ อายสฺมนฺตานํ อุปสมฺปทา อโหสิ มีความ
ว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทานั้นแล ได้เป็นอุปสัมปทาของท่านทั้ง 2 พร้อมทั้ง
บริษัท.
ก็แลในพระเถระทั้ง 2 ซึ่งอุปสมบทแล้วอย่างนั้น พระมหาโมคคัลลาน
เถระ 7 วัน จึงได้สำเร็จพระอรหัต พระสารีบุตรเถระกึ่งเดือนจึงได้สำเร็จ
พระอรหัต.
ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าอโนมทัสสีเสด็จ
อุบติในโลก. ดาบสชื่อสรทะ กระทำมณฑปด้วยดอกไม้ต่าง ๆ ที่อาศรมของ
ตน เพื่อพระพุทธเจ้านั้น อัญเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ประทับบนอาสนะดอก
ไม้นั่นเทียว กระทำมณฑปอย่างนั้นแล ทั้งแต่งอาสนะดอกไม้สำหรับภิกษุสงฆ์
ด้วย แล้วปรารถนาเป็นอัครสาวก ก็แลครั้นปรารถนาแล้ว จึงส่งข่าวไปบอก
แก่เศรษฐีชื่อสิริวัฒน์ว่า ข้าพเจ้าได้ปรารถนาตำแหน่งอัครสาวกแล้ว ถึงท่าน
ก็จงมาปรารถนาตำแหน่งหนึ่ง. เศรษฐีกระทำมณฑปดอกอุบลเขียว นิมนต์
ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขฉันในมณฑปนั้น ครั้นให้ฉันเสร็จแล้ว ได้

ปรารถนาเป็นสาวกที่ 2 ในชนทั้ง 2 นั้น สรทดาบส เกิดเป็นพระสารีบุตร
เถระ สิริวัฒน์เศรษฐีเกิดเป็นพระมหาโมคคัลลานเถระ ฉะนี้แล บุพกรรม
ของพระอัครสาวกทั้ง 2 นั้น เท่านี้ 1.
วินิจฉัยในบทว่า อปุตฺตกตาย เป็นต้น ดังต่อไปนี้:-
พระสมณโคตมปฏิบัติเพื่อความที่ชนทั้งหลาย ผู้มีบุตรบวชต้องเป็นคน
ไร้บุตร เพื่อความที่หญิงทั้งหลายผู้มีผัวบวชต้องเป็นหม้าย คือ ต้องเป็นคน
ร้างผัว. เพื่อเข้าไปตัดสกุลเสีย แม้ด้วยอาการทั้ง 2 อย่าง.
บทว่า สญฺชยานิ คือผู้เป็นอันเตวาสิกของสญชัย.
สองบทว่า มาคธานํ คิริพฺพชํ มีความว่า สู่คิริพฺพชนครของ
ชาวมคธทั้งหลาย.
บทว่า มหาวีรา ได้แก่ ผู้มีความเพียรใหญ่.
บทว่า นียมานานํ มีความว่า ครั้นเมื่อกุลบุตรทั้งหลาย อันพระ-
องค์ทรงแนะนำอยู่.
บทว่า นียมานานํ นี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติใช้ในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ
อีกนัยหนึ่ง ใช้ในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ.
บาทคาถาว่า กา อุสฺสูยา วิชานตํ มีความว่า จะต้องริษยาอะไร
ด้วยเล่า เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ว่า พระตถาคตทั้งหลาย ทรงแนะนำโดยธรรม.

อรรถกถาสารีปุตตโมคคัลลานบรรพชา จบ

1. ชื่อนี้ตรงกับอรรถกถาธรรมบท แต่ในอปทานว่า เดิมพระสารีบุตรชื่อ สุรุจิดาบส พระโมค-
คัลลานะเป็นพระยานาคชื่อ อรุณ.

ต้นเหตุอุปัชฌายวัตร


[77] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายไม่มีอุปัชฌาย์ ไม่มีใคร
ตักเตือนไม่มีใครพร่ำสอน ย่อมนุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีมรรยาทไม่สมควร เที่ยว
บิณฑบาต เมื่อประชาชนกำลังบริโภค ย่อมน้อมบาตรสำหรับเที่ยวบิณฑบาต
เข้าไปข้างบนของควรบริโภคบ้าง ข้างบนของควรเคี้ยวบ้าง ข้างบนของควร
ลิ้มบ้าง ข้างบนขอควรดื่มบ้าง ขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง ด้วยตนเองมาฉัน
ในโรงอาหารก็เป็นผู้มีเสียงอื้ออึง มีเสียงดังอยู่.
คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสาย
พระศากยบุตร จึงได้นุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีมรรยาทไม่สมควร เที่ยวบิณฑบาต
เมื่อประชาชนกำลังบริโภค ได้น้อมบาตรสำหรับเที่ยวบิณฑบาตเข้าไปข้างบนของ
ควรบริโภคบ้าง ข้างบนของควรเคี้ยวบ้าง ข้างบนของควรลิ้มบ้าง ข้างบนของ
ควรดื่มบ้าง ขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง ด้วยตนเองมาฉัน แม้ในโรงอาหารก็ได้
เป็นผู้มีเสียงอื้ออึง มีเสียงดังอยู่ เหมือนพวกพราหมณ์ในสถานที่เลี้ยงพราหมณ์
ฉะนั้น.
[78] ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ
ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลาย จึง
ได้นุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีมรรยาทไม่สมควรเที่ยวบิณฑบาต เมื่อประชาชนกำลัง
บริโภค ได้น้อมบาตรสำหรับเที่ยวบิณฑบาตเข้าไปข้างบนของควรบริโภคบ้าง
ข้างบนของควรเคี้ยวบ้าง ข้างบนของควรลิ้มบ้าง ข้างบนของควรดื่มบ้าง ขอ