เมนู

อรรถกถาอุรุเวลกัสสปทิวัตถุ


บทว่า ปมุโข ประมุข คือเป็นหัวหน้า.
บทว่า ปาโมกฺโข ปาโมกข์ มีความว่า เป็นผู้สูงสุด คือมีปัญญา
ผ่องแผ้ว.
บทว่า อนุปหจฺจ ไม่ทำลายแล้ว ได้แก่ไม่ให้เสีย.
สองบทว่า เตชสา เตชํ มีความว่า ข่ม เดชแห่งนาคด้วยเดชของคน.
บทว่า ปริยาเทยฺยํ มีความว่า พึงครอบงำเสีย หรือพาให้วอควายไป.
บทว่า มกฺขํ ได้แก่ความโกรธ.
ข้อว่า น เตฺวว จ โข อรหา ยถา อหํ มีความว่า บุคคลผู้เช่น
ดังเราสำคัญตนว่า เราเป็นอรหันต์ อวดอ้างอยู่ฉันใด จะได้เป็นอรหันต์ฉัน
นั้น หาริได้ทีเดียว.
สองบทว่า อชฺชุณฺเห อคฺคิสรณมฺหิ มีความว่า เราพึงอยู่ตลอด
วันหนึ่งในวันนี้.
บทว่า ผาสุกาโม คือมุ่งจะเกื้อกูล.
บทว่า สุมานโส ได้แก่ผู้มีใจประกอบพร้อม ด้วยปีติและ โสมนัส.
บทว่า น วิมโน ได้แก่ผู้มีใจดี อธิบายว่า ใจที่โทสะไม่ครอบงำ.
สองบทว่า อคฺยาคารํ อุทิจฺจเร มีความว่า เรือนไฟลุกโพลง.
บทว่า ชฏิลา เชื่อมกับบทนี้ว่า ภณนฺติ.
หลายบทว่า อหินาคสฺส อจฺจิโย น โหนฺติ มีความว่าเปลวไฟ
แห่งนาคมีแสงไม่รุ่งเรือง มีสีผิดรูป.
บทว่า ผลิกรณฺณาโย คือมีวรรณะเหมือนแก้วผลึก.

บทว่า องฺคิรสสฺส มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
อังคีรส เหตุมีพระองค์เป็นแดนสร้านออกแห่งรัศมี แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้
ทรงพระนามว่า อังคีรสพระองค์นั้น.1
สองบทว่า อภิกฺกนฺตาย รตฺคิยา มีความว่า เมื่อราตรีสิ้นไปมาก
แล้ว อธิบายว่า ยังเหลืออยู่น้อย.
บทว่า อภิกฺกนฺตวณฺณา คือวรรณะงาม ได้แก่มีวรรณะน่าชอบ
ใจนัก.
บทว่า เกวลกปฺปํ ได้แก่ทั้งสิ้น คือสิ้นเชิง.
ชฎิลอุรุเวลกัสสปะ หมายถึงรัศมีแห่งวรรณะของท้าวมหาราชทั้ง 4
กล่าวว่า ปุริมาหิ วณฺณนิภาทิ.
บทว่า ปาณินา คือด้วยมือ.
หลายบทว่า กกุเธ อธิวตฺถา เทวตา ได้แก่เทวดาผู้สิ่งอยู่ที่ต้น
รกฟ้า.
บทว่า วสฺสชฺเชยฺยํ มีความว่า พึงคลี่ผึ่งไว้เพี่อต้องการจะไห้แห้ง.
ต้นรกฟ้านั้น น้อมลงราวกะว่าทะลอย่างนี้ว่า พระเจ้าข้าขอพระองค์ทรงเอื้อม
พระหัตถ์มาเถิด เพราะฉะนั้น ต้นรกฟ้านั้นจึงชื่อว่า อาทรหตฺโถ น้อม
ลงดุจทูลว่า ขอจงทรงเอื้อมพระหัตถ์มา.
บทว่า อุยฺโยเชตฺวา ได้แก่ทิ้ง. ภาชนะสำหรับติดไฟ เรียก
มัณฑามุขี.2

1. ตั้งวิเคราะห์ให้บทปลงเป็นปฐนาวิภัติก่อนแล้ว จึงใช้สรรพนานโยคตามรูปเติมทีหลัง อนึ่ง
ในวิเคราะห์นี้สงสัยว่าจะตกศัพท์ ฉัฏฐีวิภัติไปศัพท์หนึ่ง.
2. พระบาลีเป็น มนฺทามุชิโย โบราณว่า เชิงกราน.

บทว่า จิรปฏิกา มีความว่า จำเติมแต่กาลนาน.
บทว่า เกสมิสฺสํ เป็นต้น มีความว่า ผมทั้งหลายนั่นเองชื่อว่า
เกสมิสฺสํ มวยผม. ทุกบทมีนัยเหมือนกัน. หาบสำหรับใส่บริขารของดาบส
ชื่อว่า ขาริกาชะ.

อรรถกถาอุรุเวลกัสสปาทิวัตถุ จบ

ทรงเทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร


เสด็จพระนครราชคฤห์ครั้งแรก


[56] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับออยู่ ณ ตำบลคยาสีสะตาม
พระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จจาริกไป โดยบรรดาอันจะไปสู่พระนคราชคฤห์
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่จำนวน 1000 รูป ล้วนเป็นปุราณชฎิล เสด็จจาริก
โดยลำดับถึงพระนครราชคฤห์แล้วทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ใต้ต้นไทรชื่อ
สุประดิษฐเจดีย์ในสวนตาลหนุ่ม เขตพระนครราชคฤห์นั้น
[57] พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชได้ทรงสดับข่าวถนัดแน่ว่า
พระสมณโคตมศากยบุตรทรงผนวชจากศากยตระกูล เสด็จถึงพระนครราชคฤห์
โดยลำดับ ประทับอยู่ ใต้ต้นไทรชื่อสุประดิษฐเจดีย์ในสวนตาลหนุ่ม เขต
พระนครราชคฤห์ ก็แลพระกิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้น
ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงเป็น
พระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี
ทรงทราบโลก ทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดา
ของเทพและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม พระองค์
ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัด ด้วยพระ
ปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง แล้วทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์
เทพ และมนุษย์ ให้รู้ ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งาม
ในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริบูรณ์บริสุทธิ์
อนึ่ง การเห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น เป็นความดี.