เมนู

ภิกษุณีเหล่านั้น อันภิกษุณีทั้งหลายพึงคุมตัวมาสู่ท่ามกลางสงฆ์ แล้ว
ว่ากล่าวว่า พี่น้องหญิงทั้งหลายแล อยู่คลุกคลีกัน มีอาจาระทราม มีเกียรติ-
ศัพท์ไม่งาม มีอาชีวะไม่ชอบ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษของ
พรรคพวกกัน แม่เจ้าทั้งหลายจงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญความสงัด
อย่างเดียวแก่พี่น้องหญิงทั้งหลาย พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่ 2 พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่
3 หากภิกษุณีเหล่านั้นสละได้ การสละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่สละ
ต้องอาบัติทุกกฏ.

วิธีสวดสมนุภาส


[80] ภิกษุณีเหล่านั้น อันภิกษุณีสงฆ์พึงสวดสมนุภาส ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็แลวิธีสวดสมนุภาสนั้นพึงสวดอย่างนี้ อันภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ
พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาสมนุภาส


แม่เจ้า เจ้าข้า ขอจงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีทั้งหลายมีชื่อนี้ด้วย
มีชื่อนี้ด้วย อยู่คลุกคลีกัน มีอาจาระทราม มีเกียรติศัพท์ไม่งาม มี
อาชีวะไม่ชอบ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษของพรรค
พวกกัน เธอเหล่านั้นยังไม่สละวัตถุนั้น ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์
ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวดสมนุภาสภิกษุณีทั้งหลายมีชื่อนี้ด้วย มีชื่อนี้
ด้วย เพื่อให้สละวัตถุนั้น นี่เป็นญัตติ.
แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีทั้งหลายมีชื่อนี้
ด้วย มีชื่อนี้ด้วย อยู่คลุกคลีกัน มีอาจาระทราม มีเกียรติศัพท์ไม่งาม
มีอาชีวะไม่ชอบ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษของ

พรรคพวกกัน เธอเหล่านั้นยังไม่สละวัตถุนั้น สงฆ์สวดสมนุภาส
ภิกษุณีทั้งหลาย มีชื่อนี้ด้วย มีชื่อนี้ด้วย เพื่อให้สละวัตถุนั้น การ
สวดสมนุภาสภิกษุณีทั้งหลายมีชื่อนี้ด้วย มีชื่อนี้ด้วย เพื่อให้สละ
วัตถุนั้น ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่
แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่ 2 . . .
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่ 3 . . .
ภิกษุณีทั้งหลายมีชื่อนี้ด้วย มีชื่อนี้ด้วย อันสงฆ์สวดสมนุภาส
แล้ว เพื่อให้สละวัตถุนั้น ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง
ความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

[81] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา 2 ครั้ง ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อต้องอาบัติสังฆาทิเสส
แล้ว อาบัติทุกกฏเพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัยเพราะกรรมวาจา 2 ครั้ง ย่อม
ระงับ.
พึงสวดสมนุภาสภิกษุณี 2-3 รูป คราวเดียวกันได้ ไม่พึงสวด
สมนุภาสภิกษุณีมากกว่านั้น.
[82] บทว่า ภิกษุณีแม้เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเคียง
ภิกษุณีรูปก่อน.
บทว่า มีอันให้ต้องอาบัติเมื่อสวดสมนุภาสครบสามจบ คือ
ต้องอาบัติเพราะสวดสมนุภาสจบครั้งที่ 3 ไม่ใช่ต้องพร้อมกับการละเมิดวัตถุ.
ที่ชื่อว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ถูกขับออกจากหมู่สงฆ์.
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้มานัต. . . แม้เพราะ
เหตุนั้นจึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.

บทภาชนีย์


ติกสังฆาทิเสส


[83] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ไม่สละ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส.

ติกทุกกฏ


กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


[84] ยังไม่สวดสมนุภาส 1 ยอมสละ 1 วิกลจริต 1 มีจิตฟุ้งซ่าน
1 กระสับกระส่ายเพราะเวทนา 1 อาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 9 จบ

อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 9


วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ 9 พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า สํสฏฺฐา คือ เป็นผู้คลุกคลีปนเปกัน.