เมนู

บทภาชนีย์


ติกะสังฆาทิเสส


[67] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ไม่สละ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

ติกะทุกกฏ


กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย. . . ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


[68] ภิกษุณีผู้ยังไม่ถูกสวดสมนุภาส 1 ภิกษุณีผู้เสียสละได้ 1 วิกล-
จริต 1 อาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 7 จบ

อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 7


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 7 พึงทราบดังนี้ :-
บัณฑิตพึงทราบอรรถแห่งบทว่า ยาวตติยกะ โดยนัยดังที่ข้าพเจ้า
กล่าวไว้ในมหาวิภังค์นั่นแหละ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้นแล.

สิกขาบทนี้มีการสวดสมนุภาสเป็นสมุฏฐาน เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์
สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.
อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 7 จบ.

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 8


เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี


[69] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชต-
วัน อารามของอานาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
จัณฑกาลี ถูกตัดสินให้แพ้ในอธิกรณ์เรื่องหนึ่ง โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้
ว่า พวกภิกษุณีถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ ดังนี้ บรรดา
ภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้า
จัณฑกาลีถูกตัดสินให้แพ้ในอธิกรณ์เรื่องหนึ่งแล้ว โกรธ ขัดใจ จึงได้กล่าว
อย่างนี้ว่า พวกภิกษุณีถึงฉันทาคติ . . . และภยาคติ ดังนี้เล่า แล้วกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีจัณฑกาลีถูกตัดสินให้แพ้ในอธิกรณ์เรื่องหนึ่งแล้ว โกรธ ขัดใจ
กล่าวอย่างนี้ว่า พวกภิกษุณีถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ
ดังนี้ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้า.