เมนู

เหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา
ก็ยังมี ข้าพเจ้าจะไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักภิกษุณีเหล่านั้น ดังนี้ พึง
กล่าวว่า แม่เจ้าจงยินดียิ่ง พระธรรมอันพระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว จงประพฤติ
พรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่ 2 พึงว่ากล่าว
แม้ครั้งที่ 3 ถ้าภิกษุณีนั้นสละเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่สละ
ต้องอาบัติทุกกฏ.

วิธีสวดสมนุภาส


[64] ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีสงฆ์พึงสวดสมนุภาส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็แลสมนุภาสนั้น พึงสวดอย่างนี้ อันภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ
ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาสมนุภาส


แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีมีชื่อนี้ผู้นี้ โกรธ
ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระพุทธเจ้า ขอบอกคืน
พระธรรม ขอบอกคืนพระสงฆ์ ขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณีที่ชื่อว่า
สมณี จะมีเฉพาะสมณีศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มี
ความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขาก็ยังมี ข้าพเจ้าจักไปประ-
พฤติพรหมจรรย์ในสำนักสมณีเหล่านั้น ดังนี้ นางยังไม่สละวัตถุนั้น
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวดสมนุภาสภิกษุณีผู้
มีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น นี่เป็นญัตติ.
แม่เจ้า เจ้าข้าขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีมีชื่อนี้ผู้นี้โกรธ
ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระพุทธเจ้า ขอบอกคืน

พระธรรม ขอบอกคืนพระสงฆ์ ขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณีชื่อว่าสมณี
จะมีเฉพาะสมณีศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความ
ละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขาก็ยังมี ข้าพเจ้าจักไปประพฤติ
พรหมจรรย์ ในสำนักสมณีเหล่านั้น ดังนี้ นางยังไม่สละวัตถุนั้น
สงฆ์สวดสมนุภาสภิกษุณีมีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น การสวด
สมนุภาสภิกษุณีมีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด
แม่เจ้านั้นพึงนิ่ง ไม่ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่ 2. . .
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่ 3. . .

ภิกษุณีมีชื่อนี้ อันสงฆ์สวดสมนุภาสน์แล้ว เพื่อให้สละวัตถุ
นั้น ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

[65] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา 2 ครั้งต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อต้องอาบัติสังฆาทิเสส
อาบัติทุกกฏเพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัยเพราะกรรมวาจา 2 ครั้ง ย่อมระงับ.
[66] บทว่า แม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูปก่อน
บทว่า มีอันให้ต้องอาบัติในเมื่อสวดสมนุภาสครบสามจบ คือ
ต้องอาบัติเพราะสวดสมนุภาสจบครั้งที่ 3 ไม่ใช่ต้องพร้อมกับการล่วงวัตถุ.
ที่ชื่อว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ถูกขับออกจากหมู่.
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้มานัต. . . แม้เพราะ
เหตุนั้น จึงตรัสว่า สังฆาทิเสส.

บทภาชนีย์


ติกะสังฆาทิเสส


[67] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ไม่สละ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

ติกะทุกกฏ


กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย. . . ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


[68] ภิกษุณีผู้ยังไม่ถูกสวดสมนุภาส 1 ภิกษุณีผู้เสียสละได้ 1 วิกล-
จริต 1 อาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 7 จบ

อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 7


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 7 พึงทราบดังนี้ :-
บัณฑิตพึงทราบอรรถแห่งบทว่า ยาวตติยกะ โดยนัยดังที่ข้าพเจ้า
กล่าวไว้ในมหาวิภังค์นั่นแหละ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้นแล.