เมนู

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณี
สุนทรีนันทา จึงได้ยินดีรับของเคี้ยวของฉันด้วยมือของตนเองจากมือของบุรุษ
บุคคลผู้มีความพึงพอใจแล้วเคี้ยวฉันเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไป
เพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ


13. 5. อนึ่ง ภิกษุณีใด มีความพอใจ รับของเคี้ยวก็ดีของ
ฉันก็ดี ด้วยมือของตนเอง จากมือของบุรุษบุคคลผู้มีความพึงพอใจ
แล้วเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ภิกษุณีแม้นี้ก็ต้องธรรมคือสังฆาทิเสส ชื่อ
นิสสารณียะ มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ.

เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์


[53] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า มีความพึงพอใจ คือ มีความยินดียิ่งนัก มีความเพ่งเล็ง
มีจิตปฏิพัทธ์.
ที่ชื่อว่า ผู้มีความพึงพอใจ คือ มีความยินดียิ่งนัก มีความเพ่งเล็ง
มีจิตปฏิพัทธ์.

ที่ชื่อว่า บุรุษบุคคล ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย ไม่ใช่ยักษ์ผู้ชาย ไม่ใช่
เปรตผู้ชาย ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ เป็นผู้รู้ความ สามารถเพื่อจะยินดียิ่งนัก.
ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ 5 อย่าง กับน้ำและไม้สีฟัน
นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว.
ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่โภชนะทั้งห้า คือ ข้าวสุก 1 ขนมสด 1
ขนนแห้ง 1 ปลา 1 เนื้อ 1.
ภิกษุณีรับประเคนด้วยตั้งใจว่า จักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติถุลลัจจัย
กลืนกิน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุก ๆ คำกลืน.
[54] บทว่า ภิกษุณีแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเคียง
ภิกษุณีรูปก่อน ๆ.
บทว่า มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ คือ ต้องอาบัติพร้อมกับ
การล่วงวัตถุ โดยไม่ต้องสวดสมนุภาส.
ที่ชื่อว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ถูกขับออกจากหมู่สงฆ์.
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้มานัต. . .แม้เพราะ
เหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.
รับประเคนน้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

บทภาชนีย์


[55] ฝ่ายหนึ่งมีความพอใจ รับประเคนด้วยตั้งใจว่า จักเคี้ยวจักฉัน
ต้องอาบัติทุกกฏ กลืนกิน ต้องอาบัติถุลลัจจัยทุก ๆ คำกลืน รับประเคนน้ำ
และไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติทุกกฏ.