เมนู

สิกขาบทนี้ มีการทอดธุระเป็นสมุฎฐาน เกิดขึ้นทางกายวาจากับจิต
เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม
อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.
อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 4 จบ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 5


เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา


[52] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
สุนทรีนันทาเป็นผู้ทรงโฉมวิไล น่าพิศพึงชม คนทั้งหลายแลเห็นนางที่ในโรง
ฉันแล้วมีความพึงพอใจ ต่างถวายโภชนาหารที่ดี ๆ แก่นางผู้มีความพึงพอใจ
นางฉันได้พอแก่ความประสงค์ ภิกษุณีรูปอื่น ๆ ไม่ได้ฉันตามต้องการ.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า
ไฉนแม่เข้าสุนทรีนันทาจึงได้มีความยินดีรับของเคี้ยวของฉันด้วยมือของตนเอง
จากมือของบุรุษบุคคลผู้มีความพึงพอใจ แล้วเคี้ยวฉันเล่า . . . แล้วกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีสุนทรีนันทามีความยินดีรับของเคี้ยวของฉันด้วยมือของตนเอง
จากมือของบุรุษบุคคลผู้มีความพึงพอใจ แล้วเคี้ยวฉัน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณี
สุนทรีนันทา จึงได้ยินดีรับของเคี้ยวของฉันด้วยมือของตนเองจากมือของบุรุษ
บุคคลผู้มีความพึงพอใจแล้วเคี้ยวฉันเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไป
เพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ


13. 5. อนึ่ง ภิกษุณีใด มีความพอใจ รับของเคี้ยวก็ดีของ
ฉันก็ดี ด้วยมือของตนเอง จากมือของบุรุษบุคคลผู้มีความพึงพอใจ
แล้วเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ภิกษุณีแม้นี้ก็ต้องธรรมคือสังฆาทิเสส ชื่อ
นิสสารณียะ มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ.

เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์


[53] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า มีความพึงพอใจ คือ มีความยินดียิ่งนัก มีความเพ่งเล็ง
มีจิตปฏิพัทธ์.
ที่ชื่อว่า ผู้มีความพึงพอใจ คือ มีความยินดียิ่งนัก มีความเพ่งเล็ง
มีจิตปฏิพัทธ์.