เมนู

ติกะทุกกฏ


กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม . . . ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย . . . ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม . . . ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


[51] บอกกล่าวการกสงฆ์ผู้ทำกรรม แล้วเรียกเข้าหมู่ 1 รู้ฉันทะของ
คณะ แล้วเรียกเข้าหมู่ 1 เรียกภิกษุณีผู้ประพฤติชอบแล้วเข้าหมู่ 1 เรียกเข้า
หมู่ในเมื่อการกสงฆ์ผู้ทำกรรมไม่มี 1 วิกลจริต 1 อาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้อง
อาบัติแล.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 4 จบ

อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 4


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 4 พึงทราบดังนี้ :-
ที่วางเท้าที่ล้างแล้ว ชื่อว่า ตั่งรองเท้า. ที่สำหรับรองเท้าที่ยังไม่ได้ล้าง
ชื่อว่า กระเบื้องเช็ดเท้า.
ข้อว่า อนญฺญาย คณสฺส ฉนฺทํ ได้แก่ ไม่รู้ฉันทะของคณะผู้
กระทำนั้นนั่นแล.
สองบทว่า วตฺเต วตฺตนฺตึ ได้แก่ ผู้ประพฤติชอบในเนตถารวัตร
(วัตรเป็นเหตุสลัดออก) 43 ประเภท. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีการทอดธุระเป็นสมุฎฐาน เกิดขึ้นทางกายวาจากับจิต
เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม
อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.
อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 4 จบ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 5


เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา


[52] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
สุนทรีนันทาเป็นผู้ทรงโฉมวิไล น่าพิศพึงชม คนทั้งหลายแลเห็นนางที่ในโรง
ฉันแล้วมีความพึงพอใจ ต่างถวายโภชนาหารที่ดี ๆ แก่นางผู้มีความพึงพอใจ
นางฉันได้พอแก่ความประสงค์ ภิกษุณีรูปอื่น ๆ ไม่ได้ฉันตามต้องการ.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า
ไฉนแม่เข้าสุนทรีนันทาจึงได้มีความยินดีรับของเคี้ยวของฉันด้วยมือของตนเอง
จากมือของบุรุษบุคคลผู้มีความพึงพอใจ แล้วเคี้ยวฉันเล่า . . . แล้วกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีสุนทรีนันทามีความยินดีรับของเคี้ยวของฉันด้วยมือของตนเอง
จากมือของบุรุษบุคคลผู้มีความพึงพอใจ แล้วเคี้ยวฉัน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.