เมนู

บทว่า ไม่บอกกล่าวการกสงฆ์ คือ ไม่บอกเล่าการกสงฆ์ผู้ทำ
กรรมให้ทราบ.
บทว่า ไม่รู้ฉันทะของคณะ คือ ไม่รู้ความพอใจของคณะ.
ภิกษุณีประสงค์จะเรียกเข้าหมู่ แสวงหาคณะก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้อง
อาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
[49] บทว่า ภิกษุณีแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเคียง
ภิกษุณีรูปก่อน ๆ.
บทว่า มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ ความว่า ต้องอาบัติพร้อม
กับการล่วงวัตถุ โดยไม่ต้องสวดสมนุภาส.
ที่ชื่อว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ถูกขับออกจากหมู่สงฆ์.
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้มานัต . . .แม้เพราะ
เหตุนั้นจึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.

บทภาชนีย์


ติกะสังฆาทิเสส


[50] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม เรียกเข้า
หมู่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย เรียกเข้าหมู่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม เรียกเข้าหมู่
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

ติกะทุกกฏ


กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม . . . ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย . . . ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม . . . ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


[51] บอกกล่าวการกสงฆ์ผู้ทำกรรม แล้วเรียกเข้าหมู่ 1 รู้ฉันทะของ
คณะ แล้วเรียกเข้าหมู่ 1 เรียกภิกษุณีผู้ประพฤติชอบแล้วเข้าหมู่ 1 เรียกเข้า
หมู่ในเมื่อการกสงฆ์ผู้ทำกรรมไม่มี 1 วิกลจริต 1 อาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้อง
อาบัติแล.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 4 จบ

อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 4


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 4 พึงทราบดังนี้ :-
ที่วางเท้าที่ล้างแล้ว ชื่อว่า ตั่งรองเท้า. ที่สำหรับรองเท้าที่ยังไม่ได้ล้าง
ชื่อว่า กระเบื้องเช็ดเท้า.
ข้อว่า อนญฺญาย คณสฺส ฉนฺทํ ได้แก่ ไม่รู้ฉันทะของคณะผู้
กระทำนั้นนั่นแล.
สองบทว่า วตฺเต วตฺตนฺตึ ได้แก่ ผู้ประพฤติชอบในเนตถารวัตร
(วัตรเป็นเหตุสลัดออก) 43 ประเภท. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้น.