เมนู

ที่ชื่อว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ขับออกจากหมู่.
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้น ให้มานัตเพื่ออาบัติ
นั้น . . .แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.

บทภาชนีย์


[38] หญิงโจร ภิกษุณีสำคัญว่าหญิงโจร รับให้บวช เว้นแต่บวช
มาแล้วต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
หญิงโจร ภิกษุณีสงสัย รับให้บวช เว้นแต่บวชมาแล้ว ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
หญิงโจร ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่หญิงโจร รับให้บวช เว้นแต่บวช
มาแล้วไม่ต้องอาบัติ.
ไม่ใช่หญิงโจร ภิกษุณีสำคัญว่าโจร รับให้บวช เว้นแต่บวชมาแล้ว
ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ใช่หญิงโจร ภิกษุณีสงสัย รับให้บวช เว้นแต่บวชมาแล้ว ต้อง
อาบัติทุกกฏ.
ไม่ใช่หญิงโจร ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่หญิงโจร รับให้บวช เว้นแต่
บวชมาแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร


[39] ไม่รู้ รับให้บวช 1 ขออนุญาตแล้ว รับให้บวช 1 บวชมา
ในฝ่ายอื่นแล้ว รับให้อยู่ในสำนัก 1 วิกลจริต 1 อาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติ
แล.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 2 จบ

อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 2


ในสิกขาบทที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
แก้อรรถบางปาฐะ เรื่องภิกษุณีให้บวชหญิงโจร
บทว่า วรภณฺฑํ ได้แก่ ภัณฑะที่มีค่ามาก เช่น แก้วมุกดา แก้วมณี
และแก้วไพฑูรย์เป็นต้น.
บทว่า อปโลเกตฺวา แปลว่า ไม่บอกกล่าว.
บทว่า คณํ วา ได้แก่ คณะ มีมัลลคณะและภัททิปุตตคณะ1
เป็นต้น.
บทว่า ปูคํ ได้แก่ ธรรมคณะ2.
บทว่า เสนึ ได้แก่ หมู่ชนผู้เป็นช่างทำของหอมและหมู่ชนผู้เป็น
ช่างหูกเป็นต้น.
จริงอยู่ พระราชาทั้งหลาย ย่อมพระราชทานมอบบ้านและนิคมแก่
หมู่ชนมีคณะเป็นต้น ในสถานที่ใด ๆ ว่า พวกท่านเท่านั้น จงปกครองใน
บ้านและนิคมนี้. ชนพวกนั้นนั่นแหละ ย่อมเป็นใหญ่ในบ้านและนิคมนั้น ๆ.
เพราะเหตุนั้น คำว่า คณํ วา เป็นต้นนี้ตรัสหมายเอาชนพวกนั้น.
ก็บรรดาอิสรชนมีพระราชาเป็นต้น นี้ ภิกษุณีแม้ทูลขอพระบรม-
ราชานุญาต หรือบอกกล่าวพวกชนมีคณะเป็นต้นแล้ว ต้องบอกกล่าวภิกษุณี
สงฆ์ด้วย.

1-2. สารตฺถทีปนี 3/401 ให้อรรถาธิบายว่า คณะผู้บำเพ็ญบุญกรรม มีจัดตั้งน้ำดื่มและขุด
สระน้ำเป็นต้นไว้ในที่นั้น ๆ ซึ่งเป็นผู้มีความภักดี ( นับถือ) พระนารายณ์ ชื่อว่ามัลลคณะ. คณะ
ผู้มีความภักดี (นับถือ) พระกุมาร (พระบุตร) ชื่อว่า ภัททิปุตตคณะ. คณะผู้บำเพ็ญบุญกรรม
มีประการต่าง ๆ ซึ่งมีความภักดีต่อพระศาลนา เรียกว่าธรรมคณะ.