เมนู

พระบัญญัติ


227. 6. อนึ่ง ภิกษุณีใด ขอเนื้อมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึง
แสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปายะ ควรจะ
แสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุณี
ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องภิกษุณีอาพาธ


ต่อจากสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายอาพาธ เหล่าภิกษุณีผู้พยาบาลไข้
ได้ถามภิกษุณีอาพาธทั้งหลายว่า แม่เจ้ายังพออดทนอยู่หรือ ยังพอให้อัตภาพ
เป็นไปได้หรือ.
ภิกษุณีอาพาธตอบว่า แม่เจ้า เมื่อก่อนพวกดิฉันขอเนื้อเขามาฉันได้
ด้วยเหตุที่ฉันเนื้อได้นั้น พวกดิฉันจึงมีความผาสุก แต่บัดนี้ พวกดิฉันรังเกียจ
อยู่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามเสียแล้ว จึงไม่กล้าขอ เพราะเหตุที่ไม่ได้
ฉันเนื้อนั้น ความผาสุกจึงไม่มีแก่พวกดิฉัน.
ภิกษุทั้งหลายได้ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .

ทรงอนุญาตเนื้อ


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ภิกษุณีผู้อาพาธขอเนื้อเขามาฉันได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีข้างหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ


227. 6. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่เป็นไข้ ขอเนื้อมาฉัน
ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็น
สัปปายะ ควรจะแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์


บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .
นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือ เว้นเนื้อก็มีความผาสุก.
ที่ชื่อว่า เป็นไข้ คือ เว้นเนื้อแล้วไม่มีความผาสุก.
ที่ชื่อว่า เนื้อ ได้แก่ เนื้อสัตว์ที่มีมังสะเป็นกัปปิยะ.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ขอเขามาเพื่อประโยชน์ตน เป็นทุกกฏในประโยค ได้
มา รับประเคนไว้ด้วยตั้งใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาฏิ-
เสนียะทุก ๆ คำกลืน.

บทภาชนีย์


ติกะปาฏิเทสนียะ


ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ขอเนื้อมาฉัน ต้องอาบัติปาฎิ-
เทสนียะ.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ มีความสงสัย ขอเนื้อมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.