เมนู

พระบัญญัติ


226. 5. อนึ่ง ภิกษุณีใด ขอปลามาฉัน ภิกษุณีนั้นพึง
แสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปายะ ควรจะ
แสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่
ภิกษุณีทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องภิกษุณีอาพาธ


ต่อจากสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายอาพาธ เหล่าภิกษุณีผู้พยาบาลไข้
ได้ถามภิกษุณีอาพาธทั้งหลายว่า แม่เจ้ายังพออดทนอยู่หรือ ยังพอให้อัตภาพ
เป็นไปได้หรือ.
ภิกษุณีอาพาธตอบว่า แม่เจ้า เมื่อก่อนพวกดิฉันขอปลาเขามาฉันได้
ด้วยเหตุที่ฉันปลานั้น พวกดิฉันมีความผาสุก แต่บัดนี้ พวกดิฉันรังเกียจอยู่ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามเสียแล้ว จึงไม่กล้าขอ เพราะเหตุที่ไม่ได้ฉันปลา
นั้น ความผาสุกจึงไม่มีแก่พวกดิฉัน.
ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .

ทรงอนุญาตปลา


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ภิกษุณีผู้อาพาธขอปลาเขามาฉันได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้;-

พระอนุบัญญัติ


226. 5. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่เป็นไข้ ขอปลามาฉัน
ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็น
สัปปายะ ควรจะแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.

เรื่องภิกษุณีอาพาธ จบ

สิกขาบทวิภังค์


บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .
นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือ เว้นปลาก็มีความผาสุก.
ที่ชื่อว่า เป็นไข้ คือ เว้นปลาแล้วไม่มีความผาสุก.
ที่ชื่อว่า ปลา ได้แก่ สัตว์ที่เขาเรียกว่าเกิดในน้ำ.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ขอเขามาเพื่อประโยชน์ตน เป็นทุกกฏในประโยค
ได้มารับประเคนไว้ด้วยตั้งใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาฎิ-
เทสนียะทุก ๆ คำกลืน.

บทภาชนีย์


ติกะปาฏิเทสนียะ


ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ขอปลามาฉัน ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ มีความสงสัย ขอปลามาฉัน ต้องอาบัติปาฎิ-
เทสนียะ.