เมนู

ของหม่อมฉันลักของมีค่ามาสู่พระนครสาวัตถี ขอพระองค์จงทรงอนุญาตชายา
ของหม่อมฉันผู้นั้นเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระราชารับสั่งว่า พนาย ถ้าเช่นนั้น เชิญท่านค้นหา พบแล้วมา
บอก.
เจ้าลิจฉวีกราบทูลว่า หม่อมฉันเห็นนางบวชอยู่ในสำนักภิกษุณี พระ-
พุทธเจ้าข้า.
พระราชาตรัสว่า ถ้านางบวชอยู่ในสำนักภิกษุณี เราก็ทำอะไรนางไม่
ได้ เพราะพระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ขอนางจงพระพฤติ-
พรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.
จึงเจ้าลิจฉวีนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนเหล่าภิกษุณีจึง
ได้ให้หญิงโจรบวชเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินเจ้าลิจฉวีนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้า
ถุลลนันทาจึงได้ให้หญิงโจรบวชเล่า แล้วแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย. . .

ทรงสอบถาม


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทาให้หญิงโจรบวช จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุณีทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทา จึงได้ให้หญิงโจรบวชเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็น
ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ


10. 2. อนึ่ง ภิกษุณีใด รู้อยู่ว่าหญิงเป็นโจร ผู้ปรากฏ เป็น
นักโทษประหาร ไม่บอกกล่าวพระราชา หมู่ คณะ นายหมวดหรือ
นายกอง รับให้บวช เว้นแต่บวชมาแล้ว ภิกษุณีแม้นี้ก็ต้องธรรมคือ
สังฆาทิเสส ชื่อนิสสารณียะ มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ.

เรื่องชายาเจ้าลิจฉวีกับภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์


[36] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .
นี้ ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า รู้ คือ รู้เองก็ตาม คนอื่นบอกแก่นางก็ตาม เจ้าตัวบอก
ก็ตาม.
ที่ชื่อว่า โจร ความว่า สตรีใดถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้ อัน
เป็นส่วนแห่งขโมย ได้ราคาห้ามาสกก็ดี เกินกว่าห้ามาสกก็ดี สตรีนั้นชื่อว่า
เป็นโจร.
ที่ชื่อว่า ถูกประหาร ได้แก่ ผู้ทำกรรมถึงถูกฆ่า.
ที่ชื่อว่า ผู้ปรากฏ คือ ผู้ที่คนอื่นรู้กันแล้วว่า นางนี้จะต้องถูก
ประหาร.