เมนู

คนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความ
ขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารถนาความ
เพียร โดยอเนกปริยาย แล้วทรงทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสม
แก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั่นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่
ภิกษุณีทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการ คือ เพื่อความรับว่าดี
แห่งสงฆ์ 1 เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ 1 เพื่อข่มภิกษุณีผู้เก้อยาก 1 เพื่ออยู่
สำราญแห่งภิกษุณีผู้มีศีลเป็นที่รัก 1 เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
1 เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต 1 เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง
ไม่เลื่อมใส 1 เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว 1 เพื่อความตั้งมั่น
แห่งพระสัทธรรม 1 เพื่อถือตามพระวินัย 1.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกภิกษุณีจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ


5.1. อนึ่ง ภิกษุณีใด มีความกำหนัด ยินดีการลูบก็ดี
คลำก็ดี จับก็ดี ต้องก็ดี บีบเคล้นก็ดี ของบุรุษบุคคลผู้กำหนัด
ใต้รากขวัญลงไป เหนือเข่าขึ้นมา แม้ภิกษุณีนี้ก็เป็นปาราชิก ชื่อ
อุพภชานุมัณฑลิกา หาสังวาลมิได้.

เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์


[2] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด มีการงาน
อย่างใด มีชาติอย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม
เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง. . .ใด.
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ,
ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร, ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะ
อรรถว่าทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว, ชื่อว่า ภิกษุณี โดยสมญา, ชื่อว่า ภิกษุณี
โดยปฏิญญา, ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นเอหิภิกษุณี, ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะ
อรรถว่าเป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์, ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่า
เป็นผู้เจริญ, ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นพระเสขะ, ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะ
อรรถว่าเป็นพระอเสขะ,ชื่อว่าภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้อันสงฆ์สองฝ่ายพร้อม
เพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบควรแก่ฐานะ, บรรดา
ภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีที่สงฆ์สองฝ่ายพร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติ-
จตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์
ในอรรถนี้ .
ที่ชื่อว่า มีความกำหนัด ได้แก่หญิงหรือชายมีความกำหนัดมาก มี
ความเพ่งเล็ง มีจิตปฏิพัทธ์.
ที่ชื่อว่า บุรุษบุคคล ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย ไม่ใช่ยักษ์ผู้ชาย ไม่ใช่
เปรตผู้ชาย ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ เป็นคนรู้ความ เป็นผู้สามารถ เพื่อถึง
ความเคล้าคลึงด้วยกาย.
บทว่า ใต้รากขวัญลงไป คือ เบื้องต่ำแห่งรากขวัญลงไป.
บทว่า เหนือเข่าขึ้นมา คือ เบื้องบนแห่งมณฑลเข่าขึ้นมา.