เมนู

สิกขาบทวิภังค์


[477] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .
บทว่า ผู้ที่ตนยังมิได้ขอโอกาส คือ ตนยังมิได้บอกกล่าว.
บทว่า ภิกษุ ได้แก่ อุปสัมบันภิกษุ.
คำว่า ถามปัญหา คือ ยังภิกษุให้ทำโอกาสในพระสูตรแล้ว ถาม
พระวินัย หรือพระอภิธรรม ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ยังภิกษุให้ทำโอกาสในพระวินัย แล้วถามพระสูตร หรือพระอภิธรรม
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ยังภิกษุให้ทำโอกาสในพระอภิธรรม แล้วถามพระสูตร หรือพระวินัย
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์


ติกะปาจิตตีย์


[478] ยังมิได้ขอโอกาส ภิกษุณีสำคัญว่า ยังมิได้ขอโอกาส ถาม
ปัญหา ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ยังมิได้ขอโอกาส ภิกษุณีมีความสงสัย ถามปัญหา ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ยังมิได้ขอโอกาส ภิกษุณีสำคัญว่าขอโอกาสแล้ว ถามปัญหา ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ


ขอโอกาสแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่า ยังมิได้ขอโอกาส ต้องอาบัติทุกกฏ.
ขอโอกาสแล้ว ภิกษุณีมีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ


ขอโอกาสแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่าขอโอกาสแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร


[479] ยังภิกษุให้ทำโอกาสแล้วถาม 1 ยังภิกษุให้ทำโอกาสไม่เจาะ-
จงแล้วถามปัญหาในปิฏกหนึ่ง 1 วิกลจริต 1 อาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ 12 จบ

อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ 12


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 12 พึงทราบดังนี้:-
บทว่า อโนกาสกตํ ได้แก่ ผู้ที่ตนยังมิได้ทำการขอโอกาสอย่างนี้ว่า
ดิฉันจักถามในสถานที่โน้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า บทว่า
ผู้ที่ตนยังมิได้ขอโอกาส คือ ตนยังไม่ได้บอกกล่าว.
บทว่า อนุทฺทิสฺส มีความว่า ไม่กำหนดอย่างนี้ว่า ดิฉันจักถามใน
ฐานะชื่อโน้น กล่าวอย่างนี้อย่างเดียวว่า ดิฉันจะถามข้อที่ควรถาม ซึ่งมีอยู่
พระผู้เป็นเจ้า ! คำที่เหลือ ง่ายทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจปทโสธรรมสิกขาบท เกิดขึ้นทางวาจา 1
ทางวาจากับจิต 1 เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณ-
ณัตติวัชชะ วจีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 แล.

อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ 12 จบ