เมนู

ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ 5


เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์


[460] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
เหล่าฉัพพัคคีย์ สนานกายด้วยน้ำเครื่องประทินมีกลิ่นหอม คนทั้งหลายพากัน
เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลาย จึงได้สนานกายด้วยน้ำ
เครื่องประทีนมีกลิ่นหอม เหมือนสตรีคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพวก
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้สนานกายด้วยน้ำเครื่องประทีนที่มีกลิ่นหอมเล่า. . .

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์อาบน้ำด้วยเครื่องประทีนมีกลิ่นหอม จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้อาบน้ำด้วยเครื่องประทีนมีกลิ่นหอมเล่า การกระทำของ
พวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


143. 5. อนึ่ง ภิกษุณีใด อาบน้ำด้วยเครื่องประทิ่นมีกลิ่น
หอม เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์


[461] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น
ผู้ขอ. . .นี้ ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า มีกลิ่นหอม ได้แก่ กลิ่นหอมชนิดใดชนิดหนึ่ง.
ที่ชื่อว่า เครื่องประทิ่น ได้แก่ เครื่องหอมชนิดใดชนิดหนึ่ง.
บทว่า อาบน้ำ คือ ทำให้สะอาด เป็นทุกกฏในประโยค อาบเสร็จ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อนาปัตติวาร


[462] เหตุอาพาธ 1 วิกลจริต 1 อาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ 5 จบ

อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ 5


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 5 พึงทราบดังนี้:-
บทว่า คนฺธวณฺณเกน คือด้วยเครื่องหอมและเครื่องประเทืองผิว.
คำที่เหลือ ง่ายทั้งนั้น. สมุฏฐานเป็นต้นก็เป็นเช่นเดียวกับสิกขาบทที่ 3 ทั้ง
นั้นแล.

อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ 5 จบ