เมนู

สองบทว่า อากฑฺฒียมานา คจฺฉติ มีความว่า ภิกษุณีถูกพวก
ชาวบ้านผู้ก่อคดีมาด้วยตนเองหรือส่งทูตมา เรียกตัวไปยังสำนักงานของพวก
ตุลาการ. ต่อจากนั้นผู้ก่อคดีจะแถลงถ้อยคำของตนก่อน หรือถ้อยคำของภิกษุณี
ก่อนก็ตามที ในการแถลงครั้งแรก ก็ไม่เป็นทุกกฏเลย ในการแถลงให้การ
ครั้งที่ 2 ก็ไม่เป็นถุลลัจจัย. แม้ในคดีที่พวกอำมาตย์ทำการวินิจฉัยถึงที่สุด
ลงแล้ว ก็ไม่เป็นอาบัติเช่นกัน. ถ้าแม้ว่า ผู้ก่อคดีกล่าวกะภิกษุณีว่า ขอให้
ท่านนั่นแหละจงแถลงถ้อยคำของผมและของท่าน. ถึงแม้เมื่อภิกษุณีแถลง
พวกอำมาตย์ได้พึงถ้อยคำแล้ว ทำคดีให้ถึงที่สุด ก็ไม่เป็นอาบัติเหมือนกัน.

ว่าด้วยการขออารักขาจากทางบ้านเมือง


สองบทว่า อารกฺขํ ยาจติ ได้แก่ ขออารักขาอันเป็นธรรมไม่เป็น
อาบัติ. บัดนี้ เพื่อแสดงวิธีขออารักขาที่เป็นธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า บอกไม่เจาะตัว.
ในคำว่า อนุทฺทิสฺส อาจิกฺขติ นั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ปรารภอดีต
บอกเจาะตัวก็มี บอกไม่เจาะตัวก็มี แม้ปรารภอนาคตบอกเจาะตัวก็มี บอก
ไม่เจาะตัวก็มี.
ปรารภอดีตบอกเจาะตัวเป็นอย่างไร ? คือ ที่สำนักของภิกษุณี พวก
เด็กชาวบ้าน หรือคนอันธพาลมีนักเลงเป็นต้น พวกใดพวกหนึ่งพระพฤติ
อนาจารก็ดี ตัดต้นไม้ก็ดี ขโมยผลไม้น้อยใหญ่ก็ดี แย่งชิงเอาบริขารก็ดี.
ภิกษุณีเข้าไปหาพวกเจ้าหน้าที่รักษากฎหมายบอกว่า ที่สำนักของพวกเราถูกทำ
ประทุษกรรมชื่อนี้ เมื่อเขาถามว่า ใครทำ บอกว่า คนโน้นและคนโน้น.
ด้วยอาการอย่างนี้ จัดเป็นการบอกเจาะตัวปรารภอดีต. การบอกเจาะตัวนั้น
ไม่ควร. ถ้าพวกเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมายเหล่านั้น ฟังคำนั้นแล้วทำการปรับ
ไหมแก่ชนเหล่านั้น ทรัพย์ทั้งหมดที่ถูกปรับไหม เป็นสินใช้แก่ภิกษุณี. แม้

เมื่อมีความประสงค์ว่า เราจักรับเอาสินไหม ก็เป็นสินใช้เหมือนกัน. แต่ถ้า
ภิกษุณีกล่าวว่า ขอให้ท่านปรับไหมผู้นั้น เมื่อเจ้าหน้าที่ปรับเอาสินไหมประมาณ
5 มาสก เป็นปาราชิก (แก่ภิกษุณี).
แต่เมื่อเขาถามว่า ใครทำ ภิกษุณีควรกล่าวว่า การที่จะพูดว่า คน
ชื่อโน้น ไม่สมควรแก่เรา ท่านรู้เอาเองเถิด เพราะพวกเราเพียงแต่ขออารักขา
อย่างเดียว ท่านโปรดให้อารักขานั้นแก่พวกเรา และให้นำของที่ถูกลักไปกลับ
คืนมา. การขออารักขาไม่เจาะตัวย่อมเป็นอย่างนี้ . การขออารักขาไม่เจาะตัว
นั้น ควรอยู่.
เมื่อภิกษุณีกล่าวอย่างนั้นแล้ว ถ้าแม้พวกเจ้าหน้าที่รักษากฎหมาย
เหล่านั้น สืบสวนหาตัวผู้ทำแล้ว ทำการปรับไหมแก่คนผู้ทำเหล่านั้น. แม้
สมบัติทุกอย่างที่ถูกเจ้าหน้าที่ปรับไหม ไม่เป็นสินใช้ทั้งไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุณี
เลย. แม้เห็นพวกขโมยลักบริขารไปจะกล่าวว่า ขโมย ๆ เพราะต้องการความ
พินาศแก่ขโมยเหล่านั้นก็ไม่ควร. จริงอยู่ แม้เมื่อภิกษุณีกล่าวอย่างนั้น ทรัพย์
สมบัติที่เจ้าหน้าที่ทำการปรับไหมแก่ขโมยเหล่านั้น แม้ทั้งหมด เป็นสินใช้แก่
ภิกษุณี. แต่จะกล่าวกะผู้เชื่อฟังคำของตนว่า ผู้นี้ลักเอาบริขารของเราไป จง
ให้นำบริขารนั้นกลับคืนมา และอย่าลงโทษเขา ดังนี้ ควรอยู่.
พวกภิกษุณีทำการฟ้องร้องคดี เพื่อประโยชน์แก่ทาสชาย ทาสหญิง
และหนองบึงเป็นต้น. คดีนี้ ชื่อว่า อกัปปิยคดี ไม่สมควร.
การบอกเจาะตัวปรารภอนาคตเป็นอย่างไร ? คือ เมื่อชนเหล่าอื่นทำ
อนาจารเป็นต้น โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ ภิกษุณีพูดกะพวกเจ้าหน้าที่ผู้
รักษากฎหมายอย่างนี้ว่า พวกชาวบ้านทำกรรมนี้และกรรมนี้ ในสำนักของพวก
เรา ขอจงให้อารักขาแก่พวกเราเพื่อต้องการไม่ให้ทำต่อไป เมื่อเขาถามว่า
ใครทำอย่างนี้ บอกว่า คนโน้นและคนโน้น อย่างนี้ จัดเป็นการบอกเจาะตัว

ปรารภอนาคต. แม้การบอกเจาะตัวนั้น ก็ไม่ควร. เพราะเมื่อเจ้าหน้าที่ผู้ที่
รักษากฎหมายทำการปรับไหมแก่ชนเหล่านั้น ทรัพย์ที่ถูกปรับทั้งหมดเป็นสิน
ใช้แก่ภิกษุณี โดยนัยก่อนเหมือนกัน. คำที่เหลือเป็นเช่นกับคำก่อน ๆ นั่นแล.
แต่ถ้าเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมาย ให้ตีกลองป่าวประกาศว่า จะทำโทษ
ชื่อนี้ แก่พวกคนผู้ทำอนาจารเห็นปานนี้ ในสำนักของภิกษุณี แล้วสืบเสาะหา
ผู้ไม่ตั้งอยู่ในข้อบังคับมาลงโทษ ไม่เป็นสินใช้ ทั้งไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุณีเลย.
และแม้พวกภิกษุณี ก็มีแนวดำเนินการ ดังแนวดำเนินการที่กล่าวไว้สำหรับ
พวกภิกษุณีนี้เหมือนกัน.
จริงอยู่ การบอกเจาะตัว ไม่สมควรแม้แก่ภิกษุ. เมื่อภิกษุบอกเจาะ
ตัวอย่างนั้น ทรัพย์ที่ถูกเจ้าหน้าที่ทำการปรับไหม เป็นภาคหลวงทั้งหมด เป็น
สินใช้ (แก่ภิกษุ). เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้ให้เจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมายปรับ
สินไหม โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ฝ่ายภิกษุใด บอกไม่เจาะตัวทั้งที่รู้อยู่ว่า
เจ้าหน้าที่เขาจะทำโทษ. และเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมายเหล่านั้น สืบหาตัวมา
ลงโทษจนได้. ไม่มีโทษแก่ภิกษุนั้น.
การที่ภิกษุจะเอามีดและขวานเป็นต้นของพวกชาวบ้านผู้ลอบตัดต้นไม้
เป็นต้น ในเขตแดนวัดมาแล้ว เอาก้อนหินทุบ ไม่ควร. ถ้าคมบิ่นไป ภิกษุ
พึงให้ซ่อมแล้วคืนให้. พวกภิกษุวิ่งเข้ามายึดเอาบริขารของคนเหล่านั้นไว้. แม้
การยึดเอาบริขารนั้นไว้ ก็ไม่ควรทำ. เพราะจิตเป็นธรรมชาติกลับกลอกเร็ว
เมื่อเกิดไถยจิต จะพึงถึงความเป็นผู้ขาดมูลก็ได้. บทที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์
อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 ดังนี้แล.
สิกขาบทที่ 1 ในสัตตรสกสังฆาทิเสส จบ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 2


เรื่องชายาเจ้าลิจฉวีกับภิกษุณีถุลลนันทา


[35] โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ชายา
ของเจ้าลิจฉวีองค์หนึ่งในพระนครเวสาลีพระพฤตินอกใจ จึงเจ้าลิจฉวีองค์นั้น
รับสั่งกะนางว่า เจ้างดเว้นได้เป็นการดี เราจักทำความพินาศให้แก่เจ้า แม้
นางถูกว่ากล่าวอย่างนี้ ก็ไม่เชื่อฟัง สมัยนั้น คณะเจ้าลิจฉวีแห่งพระนครเวสาลี
กำลังประชุมกันด้วยกรณียะบางอย่าง จึงเจ้าลิจฉวีองค์นั้นได้กล่าวกะเจ้าลิจฉวี
เหล่านั้นว่า ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย ขอจงโปรดอนุญาตสตรีผู้หนึ่งให้แก่ข้าพเจ้า.
คณะถามว่า สตรีผู้นั้นคือใคร.
เจ้าชายสามีของนางตอบว่า คือ ภรรยาของข้าพเจ้า พระพฤตินอกใจ
ข้าพเจ้าจักฆ่านาง.
คณะกล่าวว่า จงเข้าใจเอาเอง รู้เอาเองเถิด.
สตรีผู้นั้นทราบข่าวว่า สามีใคร่จักฆ่าเรา จึงเก็บสิ่งของที่ดี ๆ หนีไป
ยังพระนครสาวัตถี เข้าหาเหล่าเดียรถีย์ขอบวช พวกเดียรถีย์ไม่ปรารถนาจะ
ให้นางบวช นางจึงเข้าไปหาภิกษุณี ขอบวช แม้ภิกษุณีทั้งหลายก็ไม่ปรารถนา
จะให้นางบวช จึงเข้าไปหาภิกษุณีถุลลนันทา แสดงห่อของแล้วขอบวช ภิกษุณี
ถุลลนันทารับห่อของ แล้วให้นางบวช.
ครั้นเจ้าลิจฉวินั้นทรงสืบหาสตรีนั้นไปถึงพระนครสาวัตถี พบนางบวช
อยู่ในสำนักภิกษุณี จึงเข้าเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า ขอเดชะ ชายา