เมนู

สองบทว่า อากฑฺฒียมานา คจฺฉติ มีความว่า ภิกษุณีถูกพวก
ชาวบ้านผู้ก่อคดีมาด้วยตนเองหรือส่งทูตมา เรียกตัวไปยังสำนักงานของพวก
ตุลาการ. ต่อจากนั้นผู้ก่อคดีจะแถลงถ้อยคำของตนก่อน หรือถ้อยคำของภิกษุณี
ก่อนก็ตามที ในการแถลงครั้งแรก ก็ไม่เป็นทุกกฏเลย ในการแถลงให้การ
ครั้งที่ 2 ก็ไม่เป็นถุลลัจจัย. แม้ในคดีที่พวกอำมาตย์ทำการวินิจฉัยถึงที่สุด
ลงแล้ว ก็ไม่เป็นอาบัติเช่นกัน. ถ้าแม้ว่า ผู้ก่อคดีกล่าวกะภิกษุณีว่า ขอให้
ท่านนั่นแหละจงแถลงถ้อยคำของผมและของท่าน. ถึงแม้เมื่อภิกษุณีแถลง
พวกอำมาตย์ได้พึงถ้อยคำแล้ว ทำคดีให้ถึงที่สุด ก็ไม่เป็นอาบัติเหมือนกัน.

ว่าด้วยการขออารักขาจากทางบ้านเมือง


สองบทว่า อารกฺขํ ยาจติ ได้แก่ ขออารักขาอันเป็นธรรมไม่เป็น
อาบัติ. บัดนี้ เพื่อแสดงวิธีขออารักขาที่เป็นธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า บอกไม่เจาะตัว.
ในคำว่า อนุทฺทิสฺส อาจิกฺขติ นั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ปรารภอดีต
บอกเจาะตัวก็มี บอกไม่เจาะตัวก็มี แม้ปรารภอนาคตบอกเจาะตัวก็มี บอก
ไม่เจาะตัวก็มี.
ปรารภอดีตบอกเจาะตัวเป็นอย่างไร ? คือ ที่สำนักของภิกษุณี พวก
เด็กชาวบ้าน หรือคนอันธพาลมีนักเลงเป็นต้น พวกใดพวกหนึ่งพระพฤติ
อนาจารก็ดี ตัดต้นไม้ก็ดี ขโมยผลไม้น้อยใหญ่ก็ดี แย่งชิงเอาบริขารก็ดี.
ภิกษุณีเข้าไปหาพวกเจ้าหน้าที่รักษากฎหมายบอกว่า ที่สำนักของพวกเราถูกทำ
ประทุษกรรมชื่อนี้ เมื่อเขาถามว่า ใครทำ บอกว่า คนโน้นและคนโน้น.
ด้วยอาการอย่างนี้ จัดเป็นการบอกเจาะตัวปรารภอดีต. การบอกเจาะตัวนั้น
ไม่ควร. ถ้าพวกเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมายเหล่านั้น ฟังคำนั้นแล้วทำการปรับ
ไหมแก่ชนเหล่านั้น ทรัพย์ทั้งหมดที่ถูกปรับไหม เป็นสินใช้แก่ภิกษุณี. แม้