เมนู

กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ 11


เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา


[435] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ถุลลนันทานิมนต์พระเถระทั้งหลายมาประชุมกัน ด้วยกล่าวว่า ดิฉันจักบวช
สิกขมานา ครั้นเห็นอาหารของเคี้ยวของฉันมากมาย จึงส่งพระเถระทั้งหลาย
กลับด้วยกล่าวว่า ดิฉันจักยังไม่บวชสิกขมานาก่อน แล้วนิมนต์พระเทวทัต
พระโกกาลิกะ พระกฏโมรกติสสกะ แสะพระสมุทททัตตะ ผู้โอรสของพระนาง
ขัณฑเทวี มาประชุมกันบวชสิกขมานา.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้บวชสิกขมานาด้วยให้ฉันทะค้างเล่า. . .

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทาบวชสิกขมานาด้วยให้ฉันทะค้าง จริงหรือ,
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้บวชสิกขมานาด้วยให้ฉันทะค้างเล่า การกระทำของนาง
นั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


136. 11. อนึ่ง ภิกษุณี ยังสิกขมานาให้บวช ด้วยให้
ฉันทะค้าง เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์


[436] บทว่า อนึ่ง. . . ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ด้วยให้ฉันทะค้าง คือ เมื่อที่ประชุมเลิกไปแล้ว.
ที่ชื่อว่า สิกขมานา ได้แก่ สตรีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม 6 ประการ
ตลอด 2 ปีแล้ว.
บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.
ตั้งใจว่า จักให้อุปสมบท แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตร
ก็ดี จีวรก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฎ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ 2 ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณี
ผู้อุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


[437] ใหัอุปสมบทในเมื่อที่ประชุมยังไม่เลิก 1 วิกลจริต 1 อาทิ-
กัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ 11 จบ